เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาแฟ การผลิต แหล่งเพาะปลูก การกำหนดราคา การตลาด

ชุดความรู้ เรื่อง การส่งเสริมตลาดกาแฟแบบครบวงจร กรณีศึกษาสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด กรณีศึกษาสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด การส่งเสริมตลาดกาแฟแบบครบวงจร
ของสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร


วิวัฒนาการแนวคิดการตลาดของสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด

จังหวัดชุมพรมีการผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก ที่สำคัญของประเทศ ที่มีการส่งออกและบริโภคภายในประเทศหลายชนิด โดยเฉพาะกาแฟ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้หรือประมาณ 216,899 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30,073 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,503 ล้านบาท   ต่อปี มีเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 17,270 ราย โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร กำหนดให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ที่ต้องพัฒนาให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยเกษตรกรต้องได้รับการพัฒนาการผลิตตามแนวทางการเกษตรที่ดี       และเหมาะสม (GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การจำหน่ายผลผลิตกาแฟ   ของจังหวัดชุมพรได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร




สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 จากการรวมตัวกัน    ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟภายในจังหวัดชุมพร สหกรณ์ฯ เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการพัฒนากาแฟแบบครบวงจร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 1,065 ราย พื้นที่ปลูกกาแฟของสมาชิก จำนวน 26,950 ไร่ ผลผลิตประมาณ 9,500 ตัน มูลค่า ประมาณ 475 ล้านบาท    มีทุนจดทะเบียน 127,110 บาท ทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ 11,804,990 บาท ทุนดำเนินการ 44,504,367.82ล้านบาท เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตกาแฟของสมาชิกและสร้างความเชื่อมั่นด้านอาชีพให้ชาวสวนกาแฟ ในปี 2544 สหกรณ์ฯ ได้ดำเนินการผลิตกาแฟสดคั่ว – บด ภายใต้ชื่อ กาแฟชุมพร (Chumphon Coffee) จำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการร้านกาแฟสดทั่วไป ตลอดจนยังได้เป็นผู้จัดจำหน่ายโดยตรง มียอดจำหน่ายต่อปีประมาณ 3,000,000 บาท

ในปี 2547 สหกรณ์ฯ  ได้เพิ่มการผลิตสินค้าชนิดใหม่ คือ กาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ชนิดบรรจุขวด ตราฟิตคัพ จำหน่ายภายในจังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง ในปี 2548 – 2550 สหกรณ์ฯได้เป็นผู้รวบรวมกาแฟสารโรบัสต้าให้แก่โรงคั่วต่างๆ ในประเทศ และเป็นผู้ส่งออกกาแฟเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทโรงคั่วต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ผลิตกาแฟผง ในปี 2552 สหกรณ์ฯ จึงจัดทำโครงการแปรรูปกาแฟผงเป็นกาแฟปรุงสำเร็จ 3 in 1 โดยใช้ชื่อว่า กาแฟชุมพร  (Chumphon Coffee) เพื่อต้องการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้ได้มากยิ่งขึ้นและพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดขยาย

โอกาสทางการตลาดเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยังมีช่องว่างอีกมาก ประกอบกับแนวโน้ม      ของผู้บริโภคนิยมบริโภคกาแฟกันอย่างแพร่หลายและมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้พันธมิตร คือโรงงานผู้ผลิตกาแฟผงเป็นผู้สนับสนุนวัตถุดิบกาแฟ เพื่อทำกาแฟปรุงสำเร็จ 3 in 1 โดยสหกรณ์เป็นผู้รวบรวมวัตถุดิบกาแฟสารจากสมาชิกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟให้กับโรงคั่วเป็นการตอบแทน โดยสหกรณ์ฯได้กำหนดกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจให้ประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยเน้นการทำตลาดกับพันธมิตรทางธุรกิจ สหกรณ์เครือข่ายไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น แข่งขันทางการตลาดด้วย นโยบายประหยัดต้นทุน ราคาขายต่ำกว่าของผู้แข่งขัน สร้างเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สร้างจุดขายความเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่มากที่สุด          

และสำคัญที่สุดในประเทศ ในปี 2550 สหกรณ์ฯ ได้งบสนับสนุนโรงเรือนอาคารผลิตกาแฟ 3 in 1 จากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สหกรณ์ฯ ได้ตั้งพยากรณ์ยอดขายไว้ที่เดือนละ 2,500 ลัง ปีละ 30,000 ลัง ปี 2551 ยอดขายเพิ่มขึ้นจากปีที่ 1 จำนวน 15 % และ ปีที่ 3 ยอดขายเพิ่มขึ้น จากปีที่ 2 จำนวน 20 %  จำหน่ายทั่วประเทศผ่านเครือข่ายชุมนุมสหกรณ์การเกษตร ,เครือข่าย OTOP ทั่วประเทศ,บริษัท C.P. (เซเว่นอีเลฟเว่น) ร้านค้าทั่วไป

เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้สามารถขายผลผลิตที่ได้ในราคาดีนั้น การแปรรูปผลผลิตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในปัจจุบันเกษตรกรต้องถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาผลผลิต               ในเกณฑ์ที่พ่อค้าคนกลางนั้นตั้งไว้ เกษตรกรมีรายจ่ายในการเก็บเกี่ยวรออยู่แล้ว ที่จะนำมาชำระ ดังนั้นการขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางจึงเป็นทางเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ทางสหกรณ์จึงมีนโยบายรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาตั้งแต่ ปี 2540 เพื่อขายกาแฟดิบและในปี 2544 สหกรณ์มีการแปรรูปกาแฟสารเป็นกาแฟคั่ว-บด เพื่อจำหน่ายให้กับร้านกาแฟ          ในประเทศมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20 กิโลกรัมต่อครั้ง ในปัจจุบันกำลังการผลิตดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดที่มียอดสั่งจองถึงวันละ 450 – 500 กิโลกรัม ทางสหกรณ์      มีแนวคิดที่จะก่อสร้างโรงคั่วขนาด 8 X 24 X 3.5 เมตรเพิ่ม และจัดหาเครื่องคั่วที่มีกำลังการผลิต 40 กิโลกรัม 2 เครื่อง รวมทั้งเครื่องบด ความจุ 5 กิโลกรัม เครื่องซีลสายพานแบบอัตโนมัติแนวนอน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร

ปัญหาของสมาชิกในปัจจุบัน ผลผลิตกาแฟต่อไร่ต่ำ เนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรม ต้นกาแฟมีอายุมาก ปัจจัยการผลิตราคาสูงขึ้น กระบวนการผลิต รวมถึงสหกรณ์ฯ ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการสำรองวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อรองรับกำลังการผลิตของโรงงาน เพื่อแก้ไข 3 ปัญหาดังกล่าว ทางสหกรณ์ฯ จึงขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ จำนวน 13,479,524 บาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ

1. แนวความคิดด้านการผลิต
ในช่วงแรกที่จัดตั้งสหกรณ์ฯนั้น สหกรณ์ได้ประกอบกิจการรวมซื้อ รวมขายเพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่ราคาที่ได้ยังไม่เพียงพอ และช่วยเหลือเกษตรกรได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สหกรณ์ฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจใหม่ โดยได้รับการสนับสนุน  จากกระทรวงพาณิชย์ โดยให้โรงงานคั่วและบดเมล็ดกาแฟขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้สมาชิกได้ขายผลผลิตกาแฟได้ราคาดีขึ้น นำผลผลิตกาแฟสารจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในชื่อ กาแฟชุมพร แต่ก็ไม่ทิ้งการรวบรวมกาแฟเพื่อขายต่อซึ่งทำอยู่เดิม โดยสหกรณ์ได้ทำการแปรรูปเมล็ดกาแฟสาร นำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายเป็นกาแฟ คั่ว-บด หลังจากนั้นได้นำกาแฟคั่ว ส่วนหนึ่งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่ม เพื่อสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายขึ้น หลังจากที่ได้ดำเนินการมาซักระยะหนึ่ง ทางสหกรณ์ฯ ได้มีแนวคิดที่ว่า น่าจะทำกาแฟให้ครบวงจร เพื่อให้ทันต่อเวลาและการแข่งขันในปัจจุบัน จึงได้เริ่มดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการทำกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม    3 in 1 ขึ้น และผลิตมาจนถึงปัจจุบัน

2. แนวความคิดด้านตัวผลิตภัณฑ์
ในช่วงแรกสหกรณ์ได้แปรรูปกาแฟและส่งขายในรูปของกาแฟคั่วและกาแฟบดเพียง  อย่างเดียวให้กับกลุ่มลูกค้าทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ต่อมาได้พัฒนาต่อยอด  เป็นกาแฟพร้อมดื่ม และ กาแฟ 3 in 1 ตามลำดับ และกาแฟชุมพรเป็นที่รู้ดีอยู่แล้วว่า เป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกกาแฟมาก ดังนั้นจึงตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ กาแฟชุมพร เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงแหล่งผลิตและแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดูดีน่าเชื่อถือ

3. แนวความคิดด้านการขาย
สหกรณ์นำกาแฟที่รับซื้อจากสมาชิกมาแปรรูปและส่งขายให้กับลูกค้าทั้งในจังหวัด  และต่างจังหวัด ทั่วประเทศ สำหรับกาแฟ 3in 1 ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดชุมพร จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย และจำหน่ายเองตามร้านค้าทั่วไปและร้านของฝาก ซึ่งมีทั้งการขายปลีกและขายส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง การออกงานแสดงสินค้า เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และทดลองซื้อสินค้าซึ่งราคาขายตั้งตามราคาทุนบวกกำไร

4. แนวความคิดด้านการตลาด
ดูแลด้านคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ตามความต้องการของลูกค้า และรักษาลูกค้าเก่าๆ ให้คงอยู่ โดยอาศัยคุณภาพสินค้าที่สม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด และเพิ่มยอดขาย เพื่อต้นทุนที่ต่ำลง

5. แนวความคิดการตลาดเกี่ยวกับสังคม
สหกรณ์ได้จัดให้มีการอบรมสมาชิก เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในด้านต่างๆ ให้สามารถนำมาพัฒนาแนวความคิดในเรื่องต่างๆ อีกทั้งยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับสมาชิก และมีการจัดสรรสาธารณประโยชน์เพื่อใช้เป็นทุนสำรองในการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ตามแต่กรณี หรือตามที่ได้รับการขอความช่วยเหลือมา

ขั้นตอนประกอบด้วย

1. กระบวนการวางแผนและการปฏิบัติตามแนวคิด
ในหนึ่งปีบัญชีสหกรณ์ฯ จะจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อใช้ยึดถือปฏิบัติ เพื่อที่จะทำงานให้เป็นไปตามแผนและแนวคิดที่วางไว้

2. การกำหนดราคา
กำหนดตามต้นทุนบวกกำไร และมีการให้ส่วนลดกับลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำในครั้งต่อไป

3. การส่งเสริมการตลาด
- สารสนเทศการตลาด
    ได้มีการจัดระบบฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาประวัติ
- การซื้อ
สหกรณ์ได้มีการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกในช่วงฤดูกาล ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เพื่อช่วยเหลือสมาชิกโดยมีการรับซื้อจากสมาชิกประมาณ 98% และรับซื้อจากลูกค้าทั่วไปประมาณ 2% และซื้อกาแฟตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีค่าความชื้นไม่เกิน 13% และสิ่งเจือปนไม่เกิน 5%
- การเก็บรักษา
มีการเก็บรักษากาแฟในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บสินค้าในที่ที่สะอาดปลอดภัย เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยมีการผลิตสินค้าตาม oder เท่านั้น เพื่อให้สินค้าสดใหม่เสมอ

- การจัดมาตรฐานและคุณภาพ
มีการจัดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดกาแฟออกเป็น 4 เกรด แยกตามขนาดเมล็ด เพื่อให้ง่ายต่อการคั่วและเพื่อให้ได้สีที่สม่ำเสมอ
- การขาย : กระตุ้นลูกค้าให้ซื้อสินค้าได้มากและเร็วขึ้นโดย
1. โฆษณา
2. การส่งเสริมการขาย
3. การใช้พนักงานขาย
4. การประชาสัมพันธ์
4. การจัดจำหน่าย

- การขนส่ง สหกรณ์มีการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง โดยยึดหลักความสะดวกของลูกค้า โดยถ้าลูกค้าสะดวกแบบไหนก็จะส่งให้ทางนั้น โดยคิดค่าขนส่งตามจริง

- การเงิน ลูกค้าที่เป็นลูกค้าใหม่ ขายสินค้าโดยการชำระเงินทางพัสดุเก็บเงินปลายทางเพื่อลดภาระหนี้สูญ ลูกค้าเก่าและทำธุรกิจนาน ให้เครดิตเดือนต่อเดือน หรืองวดต่องวด พิจารณาเป็นรายๆ ไป สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าเงินสด สามารถโอนเงินเข้าได้ที่ ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาท่าแซะ ชื่อบัญชี สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด

- การรับภาระเสี่ยงภัย

เว็บไซต์ สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร 

-------------------------------------

Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee