เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านกาแฟ ตัวอย่างแผนธุรกิจและการคำนวนต้นทุนต่างๆ








แผนธุรกิจบ้านไร่กาแฟแนวคิดธุรกิจที่ดำเนินการ ในปัจจุบัน ตลาดของคนดื่มกาแฟมีการขยายตัวมากขึ้น  ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก ผลิตภัณฑ์กาแฟในท้องตลาดไม่ว่าจะกาแฟซอง  กาแฟกระป๋อง  กาแฟสดคั่ว หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาแก้วละ 10 บาท จนถึงแก้วละ  100  บาท  ธุรกิจร้านกาแฟเกิดขึ้นมากมายในทุกแห่ง  และแนวโน้มของคนดื่มกาแฟจะหันมานิยมรสชาติของกาแฟคั่วบด  ที่มีรสชาติเข้มข้นหอมมันมากขึ้น ได้มีการขยายตัวจากต่างประเทศเข้ามาเปิดสาขาทำธุรกิจประเภทนี้ในไทยมากขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลง และรสนิยมของผู้บริโภคดังกล่าว  บริษัทฯ จึงเห็นช่องทางที่จะสามารถทำธุรกิจกาแฟได้
จากวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่นิยมการเดินทางท่องเที่ยว        ด้วยการขับรถยนต์ไปเองเป็นหมู่คณะ หรือครอบครัว  ในวันสุดสัปดาห์  หรือเทศกาลวันหยุดต่างๆ โดยนำเสนอแนวคิดว่า  “กาแฟคั่วบด สดเสมอสำหรับผู้เดินทาง”   ซึ่งมีลักษณะหาซื้อได้สะดวก เหมือนเป็นเพื่อนเดินทาง ด้วยการเปิดเป็นร้านกาแฟลักษณะ to go ในปั๊มน้ำมันตามเส้นทางต่างๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้า      ที่ชอบดื่มกาแฟสด ได้มีโอกาสดื่มได้  แม้ขณะเดินทางไปทำธุรกิจหรือท่องเที่ยว แทนการดื่มกาแฟชงสำเร็จ  หรือกระป๋อง ตามร้านมินิมาร์ทต่างๆ ในปั๊มโดยใช้ตัวอาคารเล็กกระทัดรัด เน้นรูปลักษณ์ของความเป็นกาแฟไทยคุณภาพสดจากไร่ ใช้แนวความคิดด้านสถาปัตยกรรมไทยมาพัฒนาออกแบบให้กลมกลืนกับตัวสินค้าของบริษัทคือ กาแฟไทยสดจากไร่

บริษัทฯ  ได้เริ่มดำเนินธุรกิจกาแฟภายใต้ชื่อ  “บ้านไร่กาแฟ”   ตั้งแต่ปี  2541 โดยทดลองดำเนินการ 3  สาขาใน  10  เดือน (ในปี 2541)  และขยายเป็น  25  สาขา  ในปี 2542  จนปัจจุบันในปี  2543  มีสาขารวม 56  สาขา โดยกระจายอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน JET หรือ ปตท ตามเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออก ในปี  2544 บริษัทตั้งเป้าหมายจะขยายสาขาตามเส้นทางให้ถึง 100 สาขา พร้อมกับการศึกษาแนวทางการตลาดที่จะสู่ตลาดในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ เช่น นครสวรรค์, เชียงใหม่,  กรุงเทพฯ  เป็นต้น

โอกาสธุรกิจและปัจจัยความสำเร็จ


บริษัทฯ ได้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จ ด้วยภาพที่ค่อนข้างจัดเจนว่า
ผู้ที่มีรสนิยมในการดื่มกาแฟสด  ที่คั่วแก้วต่อแก้ว จะสามารถหาดื่มได้เฉพาะในเมืองตามห้างสรรพสินค้า เมื่อต้องเดินทางไปทำธุรกิจไกลๆ ระหว่างทางไม่สามารถจะหากาแฟชนิดนี้ดื่มได้ จะหาดื่มได้ก็มีแต่กาแฟกระป๋อง  กาแฟชงสำเร็จรูปรสชาติต่างกันมากกับกาแฟคั่วสด  ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่ายก็อยู่     ในปั๊มที่มีรูปแบบทันสมัย การจัดการดี ไม่มีรถบรรทุกและสะอาด  ซึ่งเป็นจุดที่เกื้อหนุนต่อการคัดสรร    กลุ่มผู้บริโภคที่ตรงเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาถึงคู่แข่งขันเมื่อเทียบชนิดของ
ผลิตภัณฑ์แล้ว  คู่แข่งอย่างสตาร์บัคแบล็คแคนยอน ไม่ได้สนใจที่จะทำตลาดในแนวของบริษัท และการเป็นเจ้าตลาดของบริษัทได้ทำก่อนคู่แข่งขันและยึดพื้นที่ของปั๊มต่างๆ ตามเส้นทางไปมากแล้ว   ทำให้คู่แข่ง        มีความยากลำบากที่จะเข้าตลาดในแนวทางเดียวกันบริษัท

กลุ่มตลาดเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย

ตลาดเป้าหมายของบริษัทฯ  อยู่ที่กลุ่มผู้มีการศึกษาทำงานในออฟฟิศที่นิยมดื่มกาแฟ อัตราเงินเดือนอยู่ประมาณ 8,000 – 10,000 บาทขึ้นไป  โดยการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในระดับ C++  ถึง A  จึงใช้แผนเข้าตลาดถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงให้ได้รับความสะดวกหาซื้อได้ง่าย ตามจุดที่กลุ่มเป้าหมายต้องเข้าไปใช้บริการ  เช่น  ตามสถานีบริการน้ำมัน ที่มีมินิมาร์ท ที่สะอาดใหม่ และใช้กลยุทธ์ราคาเทียบเคียงกับคู่แข่งขันในผลิตภัณฑ์เดียวกัน หรืออาจจะนำหน้าคู่แข่งเล็กน้อย
ข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
ด้วยแนวคิดที่ใหม่ และอาศัยช่องว่างทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่เป็นจุดแข่งขัน และสามารถยึดครองช่องทางจัดจำหน่ายที่อยู่ได้ก่อน พร้อมกับความแข่งขันของสถานีบริการน้ำมัน JET มาเสริมทำให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขัน และยึดครองช่องทางการจัดจำหน่ายดังกล่าวได้ ทำให้คู่แข่งยากที่จะเข้ามาแข่งขันได้

ความคุ้มเชิงธุรกิจ

จากการประเมินผลการประกอบการในปี ที่ 2542
มียอดขายจาก 25 สาขา เป็นเงิน                                    12.97   ล้านบาท
อัตรากำไรขั้นต้น                                                                   50.51   %
อัตรากำไรสุทธิ                                                                      25.22   %
อัตราส่วนตอบแทนต่อเจ้าของ(ROE)                               69.21   %
ระยะเวลาของการคุ้มทุนต่อหนึ่งสาขาประมาณ            6  เดือน

ระยะเวลาของการคุ้มทุนต่อหนึ่งสาขาประมาณ            6  เดือน

กิจการไม่มีปัญหาเรื่องของกระแสเงินสดเพราะกิจการขายเป็นเงินสด และอัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูงกระแสเงินสดจะเป็นบวกตลอด



การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

จุดแข็ง (Strength)


1. บริษัทสามารถปรับปรุงสูตรกาแฟให้เป็นเอกลักษณ์ประจำร้านสร้างสินค้า และบริการเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
2. มี  Brand Image ที่ดี ภาพลักษณ์ชัดเจน
3. มีพันธมิตรที่แข็งแรง คือปั๊ม JET โดยบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้บริหาร
- ในอดีตเคยใช้ Price Strategy
- แต่ได้ทำการวิจัยปรับเปลี่ยนเป็นการเน้น Service, ความสะอาดของสถานที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ
ที่สุดที่ลูกค้าเลือกใช้บริการปั๊มน้ำมันมีมินิมาร์ทซื้อ
- Jiffy :  พื้นที่กว้าง 100 – 200 ตารางเมตร
                :  มีสินค้าหลากหลาย
                :  มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบความคุมอำนาจตัดสินใจจากสำนักงานใหญ่
                :  Dunkin Donut, S&P, Chester’s Grill, KFC
4. เปิดร้านกาแฟเจ้าแรกในการทำตลาดสำหรับคนเดินทาง
5. เป็นร้านกาแฟที่สะดวกซื้อ Stand Atond
6. เป็นกาแฟสดที่ผลิตแก้วต่อแก้ว
7. แสดงให้เห็นกระบวนการผลิตที่มีลีลาอันเป็นศิลปทางพื้นบ้าน

จุดอ่อน(Weakness)


1. เป็นธุรกิจที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
2. เครื่องอุปกรณ์การผลิต และอะไหล่ต้อง Import มาจากต่างประเทศมีผลต่อการผลิตและการขาย
การบำรุงรักษาต้องใช้เวลาในการประสานกับผู้แทนจำหน่ายค่อนข้างช้า
3. การผลิตแก้วต่อแก้วทำให้ช้า เสียโอกาสในการขาย ใช้เวลาประมาณ 3 นาทีต่อ 1 แก้ว
4. ช่องทางการจำหน่ายต้องพึ่งพาผู้อื่น (ปั๊ม JET) ยังไม่มีช่องทางการจำหน่ายเป็นของตนเอง

โอกาส (Opportunity)


1. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปมีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น  จึงมีช่องทางในการจัดจำหน่ายให้กับ    ผู้เดินทางที่ชอบดื่มกาแฟสดแก้วต่อแก้ว
2. มีแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่อยู่ในประเทศ
3. โอกาสในการขยายตัวของพันธมิตร (เพื่อนคู่ค้า) ปัจจุบัน มี 130 สาขา และจะยังขยายตัวไปเรื่อยๆ
4. ตลาดกาแฟในสถานีบริการน้ำมันมีแต่การแข่งขันโดยตรงน้อย โอกาสจะยึดช่องทางการจัดจำหน่าย   เป็นรายเดียวค่อนข้างสูง

อุปสรรค (Threat)


1. การมี Strategic Partner โดยไม่มีสัญญาระยะยาวถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
2. กาแฟสดเป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่ม บริโภคเฉพาะเวลาและโอกาส
3. คุณสมบัติบางอย่างของกาแฟสามารถทดแทนด้วยเครื่องดื่มชนิดอื่นได้
4. กาแฟบรรจุกระป๋อง กาแฟสำเร็จรูปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป
5. กาแฟมีวัฒนธรรมในการดื่ม ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และพัฒนาให้เกิดการยอมรับ การขยายตัวทางการตลาดจึงไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

พัฒนาการกาแฟ และประเทศไทย

มนุษย์รู้จักดื่มกาแฟตั้งแต่ศตวรรษที่ 12  แถบทวีปอาฟริกามีเรื่องเล่าว่าปีประมาณ ค.ศ.1400           คนเลี้ยงแพะในเอธิโอเปีย  ชื่อ คัลได  สังเกตเห็นแพะที่เขาเลี้ยงกระโดดโลดเต้นอย่าง สนุกสนาน เมื่อกินผลไม้สีแดง ๆ  คัลไดลองกินดูก็รู้สึกสดชื่น ภรรยาของเขาจึงไปถวายพระ พระได้นำไปเผาไฟเพื่อหวังลดอำนาจของผลไม้นี้ลง  แต่กลับมีกลิ่นหอมน่าพิสมัย  จึงนำมาทุบและใส่น้ำเพื่อดับไฟ เมื่อลองดื่มน้ำนั้น        ก็รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า  ต่อมาพวกพ่อค้าจึงนำออกไปเผยแพร่

อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของกาแฟว่า มนุษย์คนแรกที่รู้จักและดื่มน้ำกาแฟ คือ มัฟทิ   แห่งเอเดนในสมัยศตวรรษที่ 9 ส่วนอีกดำนานหนึ่งบอกว่า  ผู้ที่รู้จักรสชาติของ กาแฟเป็นคนแรก คือ  นักบวช ในศาสนาอิสลามชาวตะวันออกกลางชื่อ เดลิ ผู้มักง่ายเหงาหาวนอนเป็นนิจ ในขณะสวดมนต์ และนักบวชผู้นี้ได้พิชิตความง่วงด้วยการดื่มน้ำต้มจากกาแฟ ที่มีคนบอกมาอีกต่อหนึ่ง หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปทั่วจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของ ชาวตะวันออกกลาง  สำหรับยุโรปนั้นเริ่มรู้จักกาแฟ             เมื่อศตวรรษที่ 17 โดยนักแสวงโชค  และผู้ที่ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในยุโรปมากยิ่งขึ้น  ก็คือ สุไลมาน อัลการ ราชทูตประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส  หรือราวปี  ค.ศ. 1715   จากนั้นกาแฟ ก็มีราคาสูงขึ้น เพราะขุนนางฝรั่งเศสติดกาแฟกันงอมแงม

ชาวยุโรปได้รู้จักดื่มกาแฟอย่างจริงจังเมื่อศตวรรษ    ที่ 19 แต่อยู่ในกลุ่มนักเขียน และผู้มีฐานะดีเท่านั้น  ชาวฝรั่งเศสกับฮอลแลนด์มีปัญหาเรื่องพรมแดนในกานา  กษัตริย์บราซิลได้ส่งทูตไปไกล่เกลี่ย  และแอบนำกาแฟมาขยายพันธ์ในบราซิล จนกลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาจนถึงทุกวันนี้ปัจจุบันกาแฟที่นิยมปลูกในโลกมี 2 สายพันธ์ใหญ่ได้แก่

1. พันธ์โรบัสต้า (ROBUSTA)
กาแฟโรบัสต้ามีต้นกำเนิดในคองโก ทวีปอาฟริกา เป็นกาแฟที่ปลูกง่าย ตายยากเนื่องจากมีความต้านทานสูงแต่เมล็ดมีคุณภาพต่ำกว่า อาราบิก้า  และไม่ค่อยมีความหอม ราคาจึงไม่สูงมาก  และ มีสารคาเฟอินสูงกว่าพันอาราบิก้า ถึง 1 เท่าตัว

2. พันธ์อาราบิก้า (ARABICA)
กาแฟอาราบิก้า  มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศ เอธิโอเปีย ปลูกมากทาง อินโดเนียเซีย อาฟริกาตะวันออก และอเมริกาใต้ รสชาติกาแฟ  อาราบิก้า  มีรสชาติละมุนละไม ชุ่มคอและมีกลิ่นหอมเย้ายวนใจ  แต่เป็นกาแฟที่ต้องปลูกตามภูเขาหรือที่ราบสูง ในพื้นที่สูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,000 ฟุต  จึงจะมีคุณภาพสูง หากนำไปปลูกในที่ต่ำกว่าระดับหรือได้รับปริมาณน้ำฝนที่ไม่พอเพียงก็จะได้ผลผลิตที่คุณภาพไม่ดี  ดังนั้น กาแฟโรบัสต้า  มีการปลูกมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดสุราษฎร์ และตรัง สายพันธ์อาราบิก้า มีการปลูกมากตามดอยสูงทางภาคเหนือ ในด้านร้านกาแฟมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ในอดีตร้านกาแฟในประเทศอังกฤษ  เป็นที่พบปะของสังคมชั้นสูงเท่านั้น ร้านกาแฟในประเทศอิตาลี ตามเมืองท่าเรือ ใช้เป็นที่พบปะของพ่อค้าวาณิช และศูนย์การแห่งศิลปะ ในสหรัฐ ร้านกาแฟส่วนใหญ่เป็นที่พบปะของคนทำงาน


สำหรับประเทศไทยกาแฟเริ่มเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 6  และร้านกาแฟ  มีวิวัฒนาการมาจากกาแฟหาบเร่  และสามล้อ  และค่อยพัฒนามาเป็นร้านกาแฟขายโดยอาโก ชาวจีนโดยมีการเพิ่มของ
รับประทาน  เช่น ขนมปังปิ้ง  สังขยา  และแยม นอกจากนี้ ร้านกาแฟไทยยังใช้เป็นสถานที่พบปะกันสำหรับสังคมในหมู่บ้าน และชุมชนในภายหลังจากการรับวัฒนธรรมจากตะวันตก และมีนักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่างประเทศจำนวนมาก  จึงเกิดร้านกาแฟทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคร้านกาแฟ  จึงมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยขึ้นมาเป็นร้านกาแฟตามแหล่งธุรกิจและบันเทิง  ร้านกาแฟในศูนย์การค้า และร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อ หรือมินิมาร์ท

ร้านากาแฟดังกล่าว  มีการตบแต่งสร้างบรรยากาศ และความเป็นสมัยนิยมมีการเพิ่มเมนูอาหารหลักและอาหารว่างนอกจากกาแฟ   และจะมีการตั้งราคาขายที่สูงกว่ารวมเรียกในรายงานนี้ว่าร้านกาแฟ พรีเมียม โดยส่วนใหญ่จะใช้กาแฟสด  ได้แก่  กาแฟที่ใช้เมล็ดกาแฟที่คั่วสด มาบดและผ่านเครื่องชงกาแฟ
การบริโภคกาแฟ และประเภทตามขั้นตอนการผลิต

ประเภทสินค้า กาแฟสามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะตามสภาพขั้นตอนก่อนการบริโภค

1. เมล็ดกาแฟคั่ว (Coffee Bean)
ผลกาแฟ (Cherry) เมื่อเก็บจากต้นจะนำมาผ่านวิธีการแห้ง (Dry Method) หรือวิธีการเปียก (Wet Method)  ซึ่งเป็นขั้นตอนการลอกเปลือกและผิวชั้นนอก เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟ หลังจากนั้นเมล็ดจะถูกนำมาคั่วด้วยความร้อน  ผู้บริโภคจะซื้อเมล็ดกาแฟที่คั่วแล้วมาบดเองหรือ ให้ร้านบดให้เป็นผงเพื่อนำไปเข้าเครื่องชงกาแฟ เพื่อดื่มต่อไป  ผู้บริโภคในชั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นร้านกาแฟ หรือ คอกาแฟที่มีความรู้เรื่องคุณภาพ ความละมุน รสชาติกาแฟ

2. ผงกาแฟคั่วบด (Ground Coffee)
ผู้บริโภคซื้อกาแฟที่คั่วและบด  และอาจมีการผสม (Blend) ระหว่างพันธ์หรือระดับการคั่วเพื่อให้ได้รสชาติหรือราคาเหมาะสมไปเข้าเครื่องกาแฟทานเอง  ผู้บริโภคในชั้นนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 1

3. ผงกาแฟสำเร็จรูป (Instant Coffee)
กาแฟได้ผ่านกรรมวิธี ทำให้สำเร็จโดยทำให้เป็นผง และสามารถคืนสภาพ เมื่อผสมกับน้ำร้อนผู้บริโภคซื้อผลกาแฟไปชงดื่มได้ทันที ผู้บริโภคในชั้นนี้เน้น ความสะดวกและราคา

4. กาแฟกระป๋อง (Instant Coffee Canned)
กาแฟพร้อมดื่มเป็นกาแฟที่  ผลิตลักษณะจำนวนมาก  บรรจุในกระป๋องหรือ บรรจุภัณฑ์อื่นๆ ความสะดวกและราคาเป็นปัจจัยในการบริโภคมากกว่าคุณภาพ

สำหรับผู้บริโภคกาแฟในร้านกาแฟพรีเมียม เป็นผู้บริโภคที่นิยมกาแฟสด เน้นที่คุณภาพ รสชาติ คุณภาพของกาแฟคั่วสด และต้องการความสะดวกสบายในการบริโภค ในสถานที่ร้านค้า (Outlet)

พฤติกรรมผู้บริโภค

จากการศึกษาพบว่า ชาวไทยมีการดื่มกาแฟเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีโดยพิจารณาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของกาแฟกระป๋องสำเร็จรูป เหตุผล 3 ประการที่ดื่มกาแฟ คือ
1. แก้ง่วง เพื่อทำงานหรือดูหนังสือ (45%)
2. รสชาติความหอมอร่อย (23%)
3. แก้กระหายน้ำ (15%)
สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการสำหรับกาแฟเรียงลำดับความสำคัญ คือ คุณภาพ ราคา และรสชาติ

อัตราการเพิ่มกาแฟกระป๋อง

               ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

มูลค่าตลาด (Market Size)


  ขนาดของตลาดร้านกาแฟพรีเมียม ยังไม่มีการทำสำรวจได้ แต่อาจพิจารณาจากการขยายตัวของตลาดกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปที่มีการขยายตัวลักษณะก้าวกระโดด  และต่อเนื่องตลาดกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปในปี  2538  มีมูลค่าตลาด  1,500  ล้านบาท  ในปี 2542 กลับมีมูลค่าตลาดเพิ่มเป็น 4,500 ล้านบาท เปรียบเทียบการเจริญเติบโตจากปี  2538-2542  อัตราเจริญเติบโตเฉลี่ยที่ 50% ต่อปี
ภาวะการแข่งขัน ร้านกาแฟ พรีเมียม

จำนวนร้านกาแฟพรีเมียม  มีการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการขยายตัวของมูลค่าตลาดกาแฟ โดยส่วนใหญ่มีอัตราเพิ่มขึ้นตามจำนวนช่องทางจำหน่ายได้แก่

1. ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า
2. อาคาร สถานที่สำคัญ เช่น ศูนย์ประชุม, สนามบิน, โรงแรม
3. โรงภาพยนตร์ ครบวงจรสมัยใหม่
4. ร้านสะดวกซื้อ
5. ปั๊มน้ำมัน

ร้านกาแฟพรีเมียม โดยคนไทยที่มีชื่อ ได้แก่  แบลคแคนยอน (Black Canyon) คอฟฟี่เวิลด์ (Coffee World)  และบ้านไร่กาแฟ  นอกจากนี้ยังมีร้านกาแฟ  Brand Name  ระดับนานาชาติขยายตลาดเข้ามาในประเทศได้แก่  สตาร์บัค (Star Buck)

วิสัยทัศน์ (Vision)

ในปี 2541 คุณสายชล เพยาว์น้อย อดีตภูมิสถาปนิค บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ได้เริ่มมองหาอาชีพเสริมด้วยเป็นผู้ชอบเดินทางและศึกษาวัฒนธรรมแหล่งต่างๆ เมื่อได้เดินทางไปภาคอีสาน
ช่วงหนึ่งอยากดื่มกาแฟคั่วสด  แต่กลับพบกาแฟกระป๋องขาย และในเส้นทางอีสานคุณสายชลกลับพบ
“ภูมิปัญญากาแฟ”  ของชาวบ้านจึงนำมาประยุกต์กับความรู้ความชำนาญ ในอาชีพสภาปนิค เดิมร้านบ้านไร่กาแฟจึงได้ถือกำเนิดสำหรับนักเดินทาง

พันธกิจ (Mission Statement)

พันธกิจของ บ้านไร่กาแฟ  คือ  การสร้างตราชื่อยี่ห้อไทยให้มีชื่อเสียง เชี่ยวชาญ และเป็นผู้นำด้านธุรกิจกาแฟ  และเป็นธุรกิจไทยที่เป็นมืออาชีพด้านกาแฟเทียบมาตรฐานสากล  การพัฒนารูปแบบธุรกิจโดย การ “สร้างวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ” แบบไทยไทย
บ้านไร่กาแฟ มุ่งหวังจะเป็นบริษัทเพื่อสังคม โดยการสร้างงานในท้องถิ่น เพื่อให้คนไทยมีงานทำในบ้านเกิด อันเป็นการสร้างความภูมิใจและรักในชาติไทย อันเป็นแผ่นดินแม่

ตารางแข่งขันในตลาดร้านกาแฟ พรีเมียม



ชื่อ
ช่องทางจำหน่าย
ความหลากหลายของสินค้า
ราคา
กลุ่มเป้าหมาย
แบลคแคนย่อน
ร้านในศูนย์การค้าสถานบันเทิง
มาก/มีอาหาร เครื่องดื่ม/
แอลกอฮอล
ปานกลาง
40 - 60
วัยรุ่น/คนทำงาน
คอฟฟี่ เวิล์ด
ร้านในศูนย์การค้าสถานบันเทิง
มีเฉพาะเครื่องดื่ม เย็น ร้อน และขนมทานเล่น
ปานกลาง
40 – 45
วัยรุ่น/คนทำงาน
สตาร์บัค
ร้านในศูนย์การค้าและร้านเดี่ยว
มีจำกัดเฉพาะเครื่องดื่ม เย็น ร้อน
สูง
60 – 120
คนทำงาน/วัยรุ่นมีรายได้สูง
ออบองแปงค์
ร้านในศูนย์การค้า
มีเฉพาะเครื่องดื่ม เย็น ร้อน และขนมปัง
ปานกลาง
30 – 40
คนทำงาน/วัยรุ่นมีรายได้สูง
กาแฟบ้านไร่
ร้านในปั๊มน้ำมัน
มีเฉพาะเครื่องดื่ม เย็น ร้อน และขนมทานเล่น
ปานกลาง/สูง   60
นักเดินทาง
คอฟฟี่ปิน
ร้านในศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
มีเครื่องดื่ม เย็น ร้อน ขนมเค็ก ขนมปัง อาหาร
ปานกลาง
30 – 40
คนทำงาน/
นักศึกษา


ลูกค้าเป้าหมาย

เป้าหมายหลักของการจำหน่าย


เป็นกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคนิยมกาแฟคั่วใหม่สด ชงแก้วต่อแก้ว และเป็นผู้เดินทางโดยทาง
รถยนต์ ออกต่างจังหวัดเพื่อธุรกิจหรือการพักผ่อน

เป้าหมายรองของการจัดจำหน่าย


เป็นผู้พักอาศัยหรือทำงานในบริเวณที่ตั้งร้าน  “บ้านไร่กาแฟ”  ซึ่งนิยมชมชอบในรสชาติของกาแฟแท้  ที่มีคุณภาพในระยะ 5 ปี (2543 - 2547)

2544 มีสาขาทั้งสิ้น 100 สาขา
2545 มีสาขาทั้งสิ้น 150 สาขา
2547 มีสาขาทั้งสิ้น ทั่วประเทศ

พิจารณาหาช่องทางการเข้าสู่ตลาดในเมืองที่เป็นย้านธุรกิจคนทำงาน เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี อุบลราชธานี เป็นต้น

จากการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หากลวิธีในการสร้างตลาดบ้านไร่กาแฟ ไปสู่ความนิยมของผู้บริโภค โดยได้จากการออกแบบสอบถามบุคคลทั่วไปที่ดื่มกาแฟ จำนวน 300 คน พอสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

1. แนวคิดในการตลาดของบ้านไร่กาแฟสอดคล้องกับหลักของส่วนผสมทางการตลาดมีหลัก
อยู่ 4 อย่าง คือ

1.1 แนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ที่มีแนวคิดว่าจะต้องมีการพิจารณาออกแบบหรือ
พัฒนาขึ้นมาได้ตรงความต้องการของตลาดหรือลูกค้าสอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟ ที่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟเพื่อเน้นความเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ โดยต้องเป็นกาแฟอาราบิกา ที่ปลูกโดยโครงการหลวงเท่านั้น ซึ่งสามารถเทียบได้กับผลิตภัณฑ์กาแฟสดจากต่างประเทศได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากหนังสือพิมพ์และจากการสัมภาษณ์  คุณสายชล เพยาว์น้อย เจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างก็ได้กล่าวถึงบ้านไร่กาแฟในแนวความคิดนี้เหมือนกัน

1.2 แนวคิดด้านสถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ที่ต้องมีการพิจารณาสถานที่ เวลา  และบุคคลที่สินค้าและบริการจะถูกนำไปขายให้ โดยผลิตภัณฑ์ของบ้านไร่กาแฟได้ยึดหลักนี้เช่นเดียวกัน โดยได้ใช้แนวคิดนี้เป็นกลยุทธ์หลักในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ได้กล่าวไว้ในข้อมูลจากหนังสือพิมพ์และจากการสัมภาษณ์คุณสายชล  เพยาว์น้อย เพราะบ้านไร่กาแฟถือเป็นร้านกาแฟสดระดับคุณภาพริมทางรายแรกที่ตั้งอยู่ในปั๊มน้ำมัน และประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ทำให้เริ่มมีร้านกาแฟรายอื่นเริ่มทำการเลียนแบบ

1.3 แนวคิดด้านการส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) คือ การบอกกล่าวและการขยายความคิด ความเข้าใจให้ลูกค้าได้รู้ การส่งเสริมการจำหน่ายจะเกี่ยวข้องกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้สำหรับสื่อความ (Communicate) ให้ถึงตลาดเป้าหมาย ให้ได้ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ต้องการว่าได้จำหน่ายที่ ณ ระดับราคาใด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟที่นำกระบวนการส่งเสริมการขาย หรือ Promotion มาใช้เช่นการนำรถบ้านไร่กาแฟออกไปตามสถานที่หรือตามเทศกาลต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการจำหน่ายมากขึ้น เป็นต้น

1.4 แนวคิดด้านราคา (Price) ที่ต้องมีการกำหนดให้ถูกต้องเหมาะสม โดยราคาจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาให้เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ผลักดันผลิตภัณฑ์ที่ดีอยู่แล้วให้ออกไปสู่ที่ที่มีความต้องการ โดยวิธีการส่งเสริมการจำหน่ายที่ดี เหมาะกับตลาดเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวคิดของบ้านไร่กาแฟ ที่ได้กำหนดราคาเพื่อให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินค้า อีกทั้งต้องการยกระดับสินค้ากาแฟสดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับตั้งแต่ C+ ขึ้นไปด้วย

2. แนวคิดด้านการส่งเสริมการตลาด (Marketing Mix) บ้านไร่กาแฟนำแนวคิดนี้มาใช้ 3 ข้อคือ

2.1 การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เพราะพนักงานของบ้านไร่กาแฟถือเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ชักจูงลูกค้าให้มาซื้อผลิตภัณฑ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวทักทายลูกค้าด้วยคำว่า  “บ้านไร่กาแฟสวัสดีจ๊ะ”   หรือลีลาการชงกาแฟที่น่าดึงดูดใจของพนักงาน  ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์มากขึ้นได้ เป็นต้น

2.2 การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) ที่หมายถึง กิจกรรมทางการตลาด  ซึ่งจัดหาคุณค่าหรือสิ่งจูงใจพิเศษเพื่อซื้อหาสินค้า  และสามารถกระตุ้นให้เกิดการขายในทันทีเช่น การร่วมทำ Sales Promotion  กับปั๊มน้ำมันเจ็ทโดยการแจกคูปองส่วนลดค่ากาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟ เมื่อเติมน้ำมันครบ 300 บาท หรือการให้คูปองส่วนลดค่ากาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟแก่ www.bkk.com เพื่อเป็นรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศในการตอบคำถาม เป็นต้น

2.3 การให้ข่าว และการประชาสัมพันธ์ (Publicity & Public Relation) ซึ่งเป็นการให้ข่าวสารแก่ผู้บริโภคซึ่งสอดคล้องการกระทำของคุณสายชล เพยาว์น้อย ที่ให้ตัวเองเป็นสื่อจากบ้านไร่กาแฟสู่บุคคลทั่วไป โดยการให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ ในเรื่องราวของบ้านไร่กาแฟ ซึ่งวิธีการนี้ก็ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป ค่อนข้างสูงเพราะคุณสายชล  เพยาว์น้อย เป็นผู้ที่มีแนวคิดที่โดดเด่น โดยการนำศิลปะมาประยุกต์กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างลงตัว

3. แนวคิดด้านการติดต่อสื่อสารด้านการตลาด  ที่มีแนวคิดโดยกว้างที่รวมการสื่อสารทุกรูป
แบบที่เกี่ยวข้องกับการตลาด  ซึ่งบ้านไร่กาแฟได้มีการใช้การติดต่อสื่อสารทางการตลาดหลายด้านด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ตราสินค้า (Price)  บ้านไร่กาแฟมีการสื่อสารด้วยตรา สินค้าที่โดดเด่น โดยอาศัยชื่อที่มีเอกลักษณ์ แสดงความเป็นไทย แตกต่างจากร้านอื่นๆ ที่นิยมตั้งชื่อภาษาสากล   รวมถึงการสร้างความจดจำด้วยการสะกดชื่อร้านที่ผิดไวยกรณ์   เป็นต้น หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging)  เอกลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ของบ้านไร่กาแฟ     ทั้งถ้วยดินเผา  และแก้วพลาสติก   สร้างความแตกต่างกับตราสินค้าอื่นๆ เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าได้เร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งภาพพจน์ของสินค้าถึงความมีคุณภาพและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ หรือแม้กระทั่งรูปแบบของร้านที่โดดเด่นที่ผสมรูปแบบอาคารแบบตะวันออกและตะวันตก เป็นต้น


4. แนวคิดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ คือความสามารถในการคาดคะเนเหตุการณ์ เตรียมการหรือวางแผนอนาคต ซึ่งกล่าวได้ว่าคุณสายชล เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะความคิดของสายชล สอดคล้องตามหลักขององค์ประกอบของวิสัยทัศน์ทั้ง 3 ข้อดังนี้

1. ความมีทัศนคติเชิงสร้างสรรค์  คุณสายชล  มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการมีร้านกาแฟที่มีคุณภาพ   และมีเอกลักษณ์ของรูปแบบอาคารรวมถึงการให้บริการของพนักงาน ซึ่งทำให้ร้านบ้านไร่กาแฟมีความแตกต่างที่โดดเด่นกว่าร้านกาแฟสดอื่นๆ

2. ความมีเป้าหมายที่ชัดเจน  และสามารถที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้  คุณสายชลเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างฝันของตัวเอง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ และศึกษาถึงการทำธุรกิจ จนเกิดเป็นบ้านไร่กาแฟในที่สุด

3. ความเฉลียวฉลาด  หลักแหลม  สิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถของคุณสายชล คือการดัดแปลงร้านกาแฟสดริมทาง เป็นร้านกาแฟสดระดับอินเตอร์ได้ อีกทั้งได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับได้โดยทั้งหมดที่กล่าวมา   สามารถกล่าวได้ว่าคุณสายชลเป็นบุคคลหนึ่งที่มีวิสัยทัศน์ทางด้านการตลาดเป็นอย่างยิ่งเพราะมีการแสดงออกถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี

ส่วนพันธกิจ  เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงจุดประสงค์ขั้นพื้นฐานขององค์กร  และสิ่งที่องค์กรใช้ในการ
กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ  ซึ่งคุณสายชล ก็ได้ทำการกำหนดพันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน เช่นกำหนดแนวทางในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟสดระดับอินเตอร์ เป็นร้านกาแฟที่มีสไตล์ และมีคุณภาพที่โดดเด่น โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลระดับกลางขึ้นไป เป็นต้น ซึ่งการที่ทางร้านบ้านไร่กาแฟได้กำหนดพันธกิจไว้เช่น ทางร้านก็ได้มีการอบรมพนักงานทุกคนให้รับรู้ถึงพันธกิจของร้านและถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้

5.  แนวคิดเรื่องการสร้างตราสินค้า (Branding)

บ้านไร่กาแฟมีตราสินค้าที่โดดเด่น ที่สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี  โดยมีการออกแบบที่สามารถสื่อสารกับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้บ้านไร่กาแฟยังมีเอกลักษณ์ของตราสินค้า (Brand Identity) เพราะประกอบด้วยโครงสร้างเด่น ๆ 2 อย่างคือ

1. Brand Positioning หรือการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ดีนั่นเอง เพราะบ้านไร่กาแฟได้วางตำแหน่งให้กับผลิตภัณฑ์ให้เป็น ร้านกาแฟสดของไทยที่มีรสชาติมีคุณภาพ มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน  ทั้งคุณภาพ  บรรจุภัณฑ์ อาคาร จัดจำหน่าย การบริการ ที่เน้นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน แต่มีสไตล์ที่ดูดีมีเอกลักษณ์จึงนับได้ว่า บ้านไร่กาแฟมีความฉลาดในการวางผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น อย่างเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างลงตัว

2. Brand Personality หรือการกำหนดบุคลิกให้กับตราสินค้า บ้านไร่กาแฟเองก็ได้มีการกำหนดบุคลิกให้กับสินค้าได้อย่างชัดเจน โดยเป็นคนที่ทันสมัย รักธรรมชาติชอบสินค้ามีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการกำหนดบุคลิกภาพเพราะหากสินค้าใดที่มีบุคลิกภาพที่ชัดเจน ย่อมสร้างให้เกิดความแตกต่างในใจของผู้บริโภคได้มากเท่านั้น

กลยุทธ์ สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการ


กลยุทธ์มีลักษณะ โดยรวมเป็นการสร้าง บุคลิกของสินค้า (Brand Personality) ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและไม่เหมือนใครโดยมีรายละเอียด ได้แก่ รูปแบบ สถาปัตยกรรม

“บ้านไร่กาแฟ”  เป็นร้านกาแฟไทยประยุกต์ โดยการผสมผสานที่ลงระหว่างสถาปัตยกรรมแห่งครัวเรือนไทย และความทันสมัยของร้านกาแฟสะดวกซื้อ ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสะท้อนความเป็นไทยและโลกตะวันออก (การใช้จั่วไม้ที่ไขว้กัน) โดยมีอาคารที่ได้จดลิขสิทธิ์ไว้แล้วสองอาคาร คือ  อาคารออกแบบไร่นา และ อาคารบ้านไร่เพรียวลม ลักษณะอาคารเป็นอาคารทรงสามเหลี่ยมสูง  ลักษณะจั่วไม้มีไขว้กันคาดทับด้วยชื่อ   มีประตูบานกรอบไม้มองแต่ไกลคล้ายจั่วบ้านซึ่งสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นสถาปัตยกรรมตะวันออก (ไทยโมเดิร์น) กลยุทธ์ รูปแบบร้าน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้สอยและงบการลงทุนสามารถ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. รูปแบบ อาคารสามเหลี่ยม
2. ร้านแบบเคาน์เตอร์

การตกแต่งภายในและภายนอก


ผนักกรุด้วยไม้เนื้ออ่อนสีขาวอมเหลืองประดับด้วยรูปภาพที่สื่อถึงความผูกพันธ์ระหว่าง
ครอบครัว  พี่น้องญาติมิตร  นิทาน  และเรื่องเล่าต่างๆ การใช้แสดงไฟเหลืองออกสีส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นของบ้านสื่อบรรยากาศของบ้านในรูปแบบสังคมไทยพร้อมที่จะต้อนรับลูกค้า  แขกผู้มาเยือนภายนอกได้ใช้ความคิดออกแบบให้มีน้ำไหลเป็นทางผ่านกระจกใสมองได้จากภายใน  ภายนอกมีเฉลียงไม้พร้อมม้านั่งยาว ใต้ร่มประดู่กิ่งอ่อน (ประดู่อัสนา) 10 – 40 ต้น ในบรรยากาศร่มรื่น และพลับพลึงตีนเป็ดดอกสีขาวที่ปลูกอยู่รอบตัวอาคาร ตอบสนองแก่สุนทรียภาพ ของคอกาแฟ

สินค้า ชื่อสินค้า และการนำเสนอสินค้า


สินค้าหลัก ผลิตภัณฑ์ กาแฟหลักมี 6 ระดับ ชนิด แบ่งตามความเข้มข้นมากไปน้อยแตกต่างตามระยะเวลาการคั่ว  ได้แก่ เอเชียเบลนด์ (0), ไทยเบลนด์ (1), บ้านไร่เบลนด์ (3), คอฟฟี่เบลนด์ (5), สยามเบลนด์ (7), บางกอกเบลนด์ (9)

มีป้ายร้าน ระบุชื่อสินค้า พร้อมแจ้งคุณลักษณะของกาแฟ ในด้าน รส กลิ่น สี เพื่อให้ความรู้ และส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย ในชื่อผลิตภัณฑ์ มีการให้ข้อมูล แก่ผู้บริโภค โดยแบ่งลักษณะการคั่วกาแฟ เพื่อจัดระดับความเข้มของ คาเฟอีน เช่น การจัดระดับการคั่ว จาก 0 – 9 (คั่วนาน – คั่วน้อย) หากคั่วนาน จะจัดระดับ 0 กาแฟจะดำสนิท มีรสหอมถึงหอมไหม้ แต่มีคาเฟอีนต่ำหากคั่วน้อยระดับ 9 จะมีสีน้ำตาล แต่มีคาเฟอีนมาก เหมาะสมตามความต้องการของผู้บริโภค  นอกจากสินค้าที่มีการชงสดแล้ว สินค้าที่เตรียมล่วงหน้าเพื่อความรวดเร็วในการขายได้แก่ กาแฟไร่นา และ ชาเพรียวลม

สำหรับขนม เป็นสินค้าเสริม ซึ่งเป็นสินค้าฝากขายโดยใช้กลยุทธ์การเลือกตัวแทนที่มีความอร่อยและสด ในท้องที่แต่ละแห่ง การควบคุมความสดโดยการเปลี่ยนสินค้าบนที่วางขนม ทุกๆ 15 วัน

การนำเสนอสินค้า


ภายใต้ร้านจะมีชื่อ “บ้าน” และมีเจ้าพนักงานที่มีชุดประจำสีส้มขลิบด้วยสีดำที่ปกและรังดุม มีป้ายตรารูปควันกาแฟอยู่ที่กระเป๋า ดูสะอาดตา ทำหน้าที่คล้าย “เจ้าของบ้าน” ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีในด้านมนุษย์สัมพันธ์ต้อนรับลูกค้าด้วยคำทักทายและยิ้ม ว่า “สวัสดี จ๊ะ” กาแฟเมล็ดคั่วสำเร็จจะตั้งในขวดโหลให้เห็นชัด ในแต่ละประเภทหลังการสั่งเครื่องดื่ม พนักงานจะชงกาแฟสด โดยการนำเมล็ดคั่วมา บดในเครื่องบด จากนั้นนำเข้าเครื่องชง ขั้นตอนดังกล่าวเน้นการ “โชว์ ลีลา” และ “ชงสดแก้วต่อแก้ว” เป็นการนำเสนอสินค้า

กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์


บรรจุภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ประเภทตามเครื่องดื่ม คือ

1. ภาชนะดินเผารูปแก้วสำหรับกาแฟร้อน
เป็นกลยุทธ์ที่มีรูปแบบลงตัว ได้แก่

1.1 การจัดหาได้ง่าย และต้นทุนราคาภาชนะดินเผาที่ทำในประเทศจากจังหวัดสระบุรี
1.2 สร้างเอกลักษณ์การชงโดยการอุ่นภาชนะดินเผาขณะการชงกาแฟไปพร้อมกัน
1.3 ภาชนะดินเผาให้พร้อมรวมไปกับกาแฟเพื่อ สะดวกสำหรับผู้เดินทางนำไปเลย ซึ่งมีการออกแบบรูปแบบถ้วยดินเผาหลายรูปแบบเพื่อให้ เป็นที่ระลึก การสะสม และยังเป็นประโยชน์ใช้เป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้อีกด้วย
1.4 ส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้านแบบไทย ไทย

2. ภาชนะพลาสติก (pp) สำหรับกาแฟเย็น
ภาชนะสูงพร้อมฝาปิดขนาด 22 ออนซ์ มีการจัดพิมพ์สาระน่ารู้ นิทานคำกลอนเรื่องราวสะท้อนความเป็นไทยลงบนแก้ว เพื่อการสะสมเป็นที่ระลึก มีการเปลี่ยนแบบทุก 15 วัน

กลยุทธ์การจัดจำหน่าย


ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่

ร้านจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน  ปัจจุบันเป็นช่องทางจัดจำหน่ายหลัก โดยตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และ JET   สถานีบริการน้ำมัน JET  มีมินิมาร์ท (Jiffy)       นับว่าเป็น พันธมิตรธุรกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นสถานีน้ำมันที่มีระบบบริหารและลงทุนจากส่วนกลาง  จากบริษัท Conoco ที่มีระบบการจัดการ ที่มีระบบทันสมัย และที่มีนโยบายขยายธุรกิจมี เงินทุนที่ดี และเน้นความสะอาดเป็นสำคัญ ร้านกาแฟบ้านไร่ มีแนวความคิดสอดคล้องกับ ในการขยายฐานลูกค้าประเภทอาหาร ร้านกาแฟบ้านไร่ยังได้รับ การสนับสนุนด้านข้อมูลการขายเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจขยายสาขาใน 2 ลักษณะ  ได้แก่

1. JET จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายการสร้าง เคาน์เตอร์สำหรับจำหน่ายในมินิมาร์ท (Jiffy)
2. ทางบ้านไร่จะเป็นผู้สร้างร้านค้าลักษณะ stand-alone เพื่อจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะโดยมีรูปแบบตามที่จดลิขสิทธิ์ได้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่

กลยุทธ์การตั้งราคา


การตั้งใช้ราคามาตรฐาน และไม่หลากหลาย กาแฟเย็น จำหน่ายถ้วยละ 60 บาท กาแฟร้อนจำหน่ายถ้วยละ 50 บาท  ขนมใช้ราคาประมาณ 15 – 30 บาท

กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์


เนื่องจากร้านกาแฟบ้านไร่ได้รับรางวัลที่ 2 ในสาขา SMEs         จากการประกวดแผนการตลาดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เมื่อปี 2543  ที่ผ่านมาการประชาสัมพันธ์ใน   สื่อต่าง ๆ ในลักษณะข่าวจึงทำได้ง่าย โดยผ่านสื่อ  สิ่งพิมพ์  โทรทัศน์  และวิทยุ การเน้นบุคคลเป็นสัญลักษณ์เจ้าของร้าน ได้แก่ คุณสายชล เป็นการสร้างภาพตัวแทน ร้านกาแฟบ้านไร่ โดยผ่านทางสื่อในลักษณะข่าวและข้อมูล

กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย


มีการจัดการส่งเสริมการขายร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน (Joint Promotion) ได้แก่

1. การแจกคูปองลดราคาเครื่องดื่มทุกชนิด 20% เมื่อเติมน้ำมันครบ 300 บาท
2. แจกคูปองแก่ลูกค้าร้าน Jiffy เพื่อแลกซื้อแก้วและสินค้าที่ระลึกของร้านในราคาพิเศษ

กลยุทธ์การโฆษณา


เป็นการร่วมมือกับปั๊มน้ำมัน JET ในลักษณะการตั้งป้ายนีออนกล่องไปหน้าสถานีบริการน้ำมันร่วมกับร้านอาหารในร้าน Jiffy เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเห็นขัดเจน

แผนกฉุกเฉินด้านการตลาด


ตามที่ได้วิเคราะห์จุดอ่อนของธุรกิจในบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ถึงปัญหาในช่องทางการจัดจำหน่ายที่ต้องพึ่งพาปั๊ม JET เป็นหลัก อีกทั้งมีระยะเวลาของสัญญาเป็นสัญญาระยะสั้น  จึงถือเป็นจุดวิกฤตของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้  หากคู่สัญญามีปัญหาและยกเลิก  หรือไม่ต่อสัญญา  จึงจำเป็นจะต้องมีแผนการ จัดจำหน่ายใหม่  ซึ่งถือเป็นแผนกฉุกเฉินของธุรกิจ  เพื่อลดหรือป้องกันปัญหาดังกล่าว  อีกทั้งจะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ที่เพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้อีกทางหนึ่ง

ด้วยการแก้ไขปัญหาของช่องทางการจัดจำหน่าย ถือเป็นการแก้ไขปัญหา อันเป็นองค์ประกอบหลักของการตลาดแผนกฉุกเฉินจึงน่าจะเป็นลักษณะของแผนที่ต้องมีการวางแผนเป็นระยะยาว  จึงจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายในอนาคต และสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของธุรกิจได้ คือ

1. หากปัญหาช่องทางการจัดจำหน่าย ที่พึ่งพาปั๊ม JET ไม่เกิด แผนฉุกเฉินนี้ก็จะสามารถเพิ่มยอดขายของธุรกิจ และเป็นการขยายตลาดได้อีกทางหนึ่ง

2. หาช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ โดยลักษณะเป็นซุ้มกาแฟ ในลักษณะ Stand Alone แทนบนถนนธุรกิจ ในเมืองใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่, เชียงราย, ขอนแก่น, หาดใหญ่, ภูเก็ต, กรุงเทพฯ เป็นต้น

ข้อดีข้อเสียของแผนฉุกเฉินในการจัดหาช่องทางจำหน่ายใหม่

ด้วยจุดแข็งของลักษณะเป็น กาแฟเดินทาง เพื่อทดแทนร้านกาแฟที่เป็นลักษณะ STAND ALONE ตามห้างสรรพสินค้า เช่น BLACK CANYON, COFFEE WORLD, STARBUCK ซึ่งแต่ละร้านห่างไกลพอสมควร ผู้ที่ทำงานจะหาซื้อ หรือต้องการดื่มต้องเฉพาะเวลาพักเที่ยง หรือเลิกงานเท่านั้น การหาซื้อไม่สะดวก สำหรับผู้ทำงาน OFFICE ที่เป็นคอกาแฟสด มักจะประสบปัญหาดังกล่าวคือ

1. หากจะซื้อดื่มขณะทำงานค่อนข้างลำบาก  เพราะไม่สะดวกในการจะเดินทางไปซื้อ
2. หากจะดื่มก็สามารถจะดื่มได้เฉพาะช่วงพักเที่ยง  ซึ่งก็จะต้องรีบกลับเข้าทำงานต่อในช่วงบ่าย หรืออาจจะดื่มในช่วงเย็นหลังเลิกงาน ก็ต้องรีบกลับบ้าน  ดังนั้นเวลาในการที่จะนั่งดื่มกาแฟจึงมีน้อย

จากปัญหาดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาสให้ บ้านไร่กาแฟ มองเห็นช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อบริการกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าว  โดยใช้ลักษณะของการตั้งเป็นซุ้ม บ้านไร่กาแฟ ขึ้นตามจุดต่างๆ บนถนนธุรกิจ  เช่น ถนนสีลม  ถนนสุขุมวิท  หรือตั้งอยู่ตามอาคารสำนักงานใหญ่ ๆ ที่มีบริษัทต่าง ๆ ตั้งอยู่

โดยประชาสัมพันธ์ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคที่รู้จัก บ้านไร่กาแฟ  ทราบว่าขณะนี้ บ้านไร่กาแฟ ได้เข้ามาบริการถึงสถานที่ทำงานของท่านแล้ว  ตลอดจนการนำเสนอให้เห็นเป็นกาแฟแท้แบบไทย ๆ โดยวัตถุดิบผลิตในประเทศไทย และเป็นผลิตผลจากโครงการหลวง ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก เป็นการปลุกกระแสให้นิยมไทย เพื่อต่อสู้กับกระแสของ BRAND ต่างชาติ

จุดเด่นของการใช้ ซุ้มกาแฟ


1. เป็นการลงทุนที่ไม่สูงเท่าการเปิดเป็นร้าน STAND ALONE
2. สามารถดำเนินการได้ครั้งละหลายๆ จุด พร้อมๆ กัน
3. สามารถเลือกทำเลที่มีผู้สัญจรไปมามาก โดยไม่มีข้อจำกัดทางพื้นที่
4. ค่าเช่าต่างๆ ก็ถูกกว่า การเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า
5. มีความคล่องตัวสูง การโยกย้ายเปลี่ยนแปลงทำเลก็สะดวก ประหยัด

ข้อจำกัดของ ซุ้มกาแฟ

1. อาจจะมีปัญหาถ้าจะตั้งบนถนนที่เป็นจุดเป้าหมาย เนื่องจากต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดของกรุงเทพมหานครว่าสามารถอนุญาตให้ตั้งซุ้มตามทางเดินเท้าได้หรือไม่

2. การเก็บรักษาร้านที่เป็นซุ้ม ค่อนข้างมีความเสี่ยงในยามวิกาล เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในอาคารที่มียามรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา แต่สำหรับซุ้มที่อยู่ในอาคารที่มีการรักษาความปลอดภัย จะไม่ได้รับประโยชน์ในการทำประชาสัมพันธ์ เพราะผู้สัญจรไปมา อาจจะไม่ทราบว่ามีอยู่ในอาคารใดบ้าง
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าว จำเป็นจะต้องศึกษาและกำหนดถนนสายตัวอย่าง ซึ่งขอนำเสนอ
ถนนสีลม  เนื่องจากเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญ ถือเป็นถนนเศรษฐกิจ ที่มีกลุ่มคนชั้นกลาง คนทำงาน เป็นกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ตลอดเส้นทางของถนนสีลมในระยะทาง 2 กิโลเมตร (โดยประมาณ) มีอาคารสำนักงานมากมายเป็นที่ตั้งของธนาคาร, บริษัท ห้างร้านต่างๆ โดยเฉพาะเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพฯ  อาคารซี พี ทาวเวอร์  และห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ซึ่งรวมบุคลากรต่างชาติ ที่นิยมดื่มกาแฟเป็นประจำด้วย ดังนั้นถนนสีลมจึงเป็นถนนสายที่น่าจะทดลองดำเนินการมากที่สุด

คู่แข่งทางการค้าบนถนนสีลม ตามที่ได้สำรวจมามีอยู่หลายแห่งเช่น

1. กลุ่มร้านอาหาร DELIFRANCE ซึ่งเป็นลักษณะ CAFÉ เล็กๆ หรือ ซุ้มผลิตภัณฑ์ NESTLE ซึ่งมีเครื่องดื่มประเภทกาแฟสำเร็จรูปจำหน่าย  หรือแม้กระทั่งร้าน SEVEN – ELEVEN ก็มีผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำหน่ายซึ่งร้านค้าประเภทนี้     จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้บริโภค   แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นร้านที่จำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป จึงไม่ใช่คู่แข่งที่สำค้ญของ บ้านไร่กาแฟ

2. กลุ่มที่ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงคือ STARBUCK, COFFEE WORLD ซึ่งมีเพียง 2 แห่ง ซึ่งร้าน STARBUCK ตั้งอยู่ในซอยคอนแวนต์ ส่วนร้าน COFFEE WORLD ตั้งอยู่ช่วงหัวถนนสีลม และอีกช่วงคือประมาณ 250 เมตร จึงจะเป็นอีกร้านหนึ่งจะเห็นว่ายังมีช่องว่างและโอกาสที่ บ้านไร่กาแฟ จะสอดแทรกเข้าไปได้อีกมาก บนถนนที่มีความยาว 2,000 เมตร บนสองฝั่งของทางเท้า เราสามารถจัดตั้งซุ้มกาแฟได้ไม่น้อยกว่า 10 ซุ้ม ซึ่งถ้าเปิดพร้อมๆ กัน จะสามารถเรียกความสนใจได้มากในการเปิดตัว บ้านไร่กาแฟ เข้ามาอยู่ตลาดในเมือง ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยแผนการผลิตของบริษัทจะขยายสาขาให้ได้  100  สาขาในปี 2544  ตามเส้นทางหลักของการเดินทางท่องเที่ยวและธุรกิจ  จึงกำหนดแผนการดำเนินการดังนี้

1. ในปี 2544 นับจากเดือน เมษายน – ธันวาคม 2544 อัตราการขยายตัวของสาขาจะเป็นลักษณะเป็นเคาน์เตอร์ในร้านปั๊ม JET 1 สาขาและลักษณะ Stand Alone 4  สาขาต่อเดือน โดยสาขาเป็น Stand Alone  ค่าก่อสร้างสาขาละ 350,000

2. ดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องชงกาแฟครบชุดจำนวน 5 ชุดในทุกๆ เดือนโดยเฉลี่ย
ชุดละ 40,000 บาท

3. จัดเตรียมอบรมบุคลากรประมาณ 10 คนทุก ๆ เดือนเพื่อส่งไปประจำสาขาที่จะเปิดใหม่ และใช้ทดแทนในกรณีเกิดปัญหาการเปลี่ยนงานของพนักงานโดยมีทีมฝึกอบรมของบริษัทเอง

4. พนักงานใหม่ บริษัทฯจ้างในอัตราคนละ 250 ต่อคนต่อวัน

5. บริษัทต้องผลิตกาแฟขวด ซึ่งใช้ลดการเสียโอกาสอันเกิดจากการที่ลูกค้าต้องรอคอยโดยตั้งเป้าหมายให้สามารถขายได้ เดือนละ 150 ขวดต่อสาขา

6. บริษัทต้องสั่งซื้อวัตถุดิบทางตรง และทางอ้อม โดยรับเครดิต ดังนี้
เมล็ดกาแฟ ชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า
ชาโกโก้น้ำหวาน เครดิต  30  วัน
เครื่องปรุง เครดิต    30  วัน
ภาชนะบรรจุภัณฑ์  เครดิต    30  วัน

7. ค่าเช่าพื้นที่ขาย และส่วนแบ่งประมาณ 3% ของยอดขาย

8. อัตราเงินเดือนของพนักงานบริหารเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี

9. การเพิ่มสาขา 1 สาขา จะต้องขายได้วันละ 65 แก้ว หรือ 1,950 แก้ว ต่อเดือน และจุดคุ้มทุนของการขยายสาขาใช้เวลา 6  เดือนจะถึงจุดคุ้มทุนหรือ 11,700 แก้ว

10. วัตถุดิบกาแฟ 250 กรัม ชงได้ 13 แก้ว หรือหนึ่งกิโลกรัม ชงได้ 52 แก้ว เฉลี่ยแก้วละ 55 บาท จะขายได้ประมาณ 2,860 บาท ต่อกิโลกรัมส่วนผสมอื่นๆ 8% ของยอดขาย วัสดุสิ้นเปลือง 8.5% ของยอดขาย วัตถุดิบประมาณ 4.18 ของยอดขาย

11. ค่าโทรศัพท์ประมาณ 3,000 บาท ต่อสาขาต่อเดือน มีค่าบริการเพจเจอร์ 450 บาท  ค่าอุปกรณ์เพจเจอร์เครื่องละ 3,500 ต่อเครื่องต่อสาขา

12. พนักงานประจำสาขาประมาณ 2 คน ต่อสาขา

13. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน 1,500 บาท ต่อคนต่อ 7 วัน (โดยถือว่าพนักงานที่มาฝึกอบรมจะได้ค่าแรงวันละ 200 บาท โดยที่ไม่ได้ไปเป็นพนักงานขายจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (7x 200 + อื่นๆ 100 = 1,500)

14. ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสาขาละประมาณ 1,500 บาทต่อเดือนต่อสาขา

15. ยอดขายจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 5% ทุกเดือน

16. กิจการมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา 3% ของยอดขาย

17. ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 20,000 บาท/เดือน

18. ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย 1% ของยอดขาย

19. บริษัทสำรองวัตถุดิบคงเหลือดังนี้
เมล็ดกาแฟ 50% ของยอดใช้วัตถุดิบแต่ละเดือน
ส่วนผสมอื่นๆ 25% ของยอดใช้วัตถุดิบแต่ละเดือน
ภาชนะบรรจุภัณฑ์ 30% ของยอดใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์แต่ละเดือน


20. วัตถุดิบกาแฟราคาต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3% ในแต่ละปี



6.  แผนการเงิน



ปี 2544

จำนวนสาขา
ยอดขาย
ยอดขายสาขาที่เพิ่มขึ้น
รวมยอดขาย
ยอดขายขนม

..

56
5,939,500
-
5,939,500
330,400

..

56
6,236,400
-
6,236,400
340,300

มี..

56
6,548,200
-
6,548,200
350,500

เม..

61
6,875,610
536,250
7,411,860
393,400

..

66
7,782,390
536,250
8,318,640
436,300

มิ..

71
8,734,500
536,250
9,270,750
479,200

..

76
9,734,280
536,250
10,270,530
522,100

..

81
10,784,050
536,250
11,320,300
565,000

..

86
11,886,300
536,250
12,422,550
607,900

..

91
13,043,670
536,250
13,579,920
650,800

..

96
14,258,900
536,250
14,795,150
636,600

..

101
15,534,900
536,250
16,071,150
736,600

 


รวมยอดขาย

122,184,950
6,106,200



ปริมาณการใช้วัตถุดิบในปี 2544


ปี 2544
จำนวนกาแฟใช้/กก.
@
เป็นเงิน
ส่วนผสมอื่นๆ 8%
รวม

..

2,075
120
249,000
475,100
724,100

..

2,180
120
261,600
498,900
760,500

มี..

2,290
120
274,800
523,800
798,600

เม..

2,590
120
310,800
592,900
903,700

..

2,910
120
349,200
665,400
1,014,600

มิ..

3,240
120
388,800
741,600
1,130,400

..

3,590
120
430,800
821,600
1,252,400

..

3,960
120
475,200
905,600
1,380,800

..

4,340
120
520,800
993,800
1,514,600

..

4,750
120
570,000
1,086,400
1,656,400

..

5,160
120
619,200
1,180,700
1,799,900

..

5,620
120
674,400
1,285,600
1,960,000

 


รวม


14,896,000



ประมาณการลงทุนในอุปกรณ์เครื่องใช้ในปี 2544



ปี 2544

อุปกรณ์เครื่องชงกาแฟ
อาคาร
เครื่องสื่อสาร
วัสดุสิ้นเปลือง
รวม

..

40,000
-
-
504,850
544,850

..

40,000
-
-
530,090
570,090

มี..

40,000
-
-
556,590
596,590

เม..

200,000
1,440,000
17,500
630,000
2,287,500

..

200,000
1,440,000
17,500
707,000
2,364,500

มิ..

200,000
1,440,000
17,500
788,000
2,445,500

..

200,000
1,440,000
17,500
872,990
2,530,490

..

200,000
1,440,000
17,500
962,200
2,619,700

..

200,000
1,440,000
17,500
1,055,900
2,713,400

..

200,000
1,440,000
17,500
1,154,290
2,811,790

..

200,000
1,440,000
17,500
1,254,200
2,911,700

..

200,000
1,440,000
17,500
1,366,040
3,023,540

รวม

19,200,000
12,960,000
157,500
10,382,150
25,419,650




ประมาณการสั่งซื้อ และคงเหลือของวัตถุดิบปี 2544 – 2548



2544
2545
2546
2547
2548

ประมาณวัตถุดิบที่ใช้/kg
42,170
44,460
46,870
49,320
51,630
1
ราคา
120
124
128
132
135
2
มูลค่าที่ใช้วัตถุดิบ
5,125,200
5,535,360
5,999,360
6,510,240
6,970,050
3
สำรองวัตถุดิบปลายงวด 50%
213,550
230,640
249,970
271,260
290,420
4
ปริมาณใช้ส่วนผสมอื่นๆ 8%
9,771,920
10,212,920
10,723,570
11,283,060
11,812,200
5
สำรองส่วนผสมปลายงวด 25%
203,580
212,770
223,410
235,060
246090
6
ปริมาณใช้วัสดุสิ้นเปลือง 8.5%
10,382,660
1,085,1230
11,393,790
11,988,250
12,550,460
7
สำรองวัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด 30%
259,570
271,280
284,850
299,700
313,760
8
ต้นทุนวัตถุดิบไว้ใช้
25,279,780
26,599,510
28116720
29,781,550
31,332,710
9
มูลค่าวัตถุดิบปลายงวด
676,700
714,690
758230
806,020
850,270
10
วัตถุดิบต้นงวด
162,340
676,700
714690
758,230
806,020
11






12
3=1x2  \  4=3/12x50%  \  6=5/12x25%  \  8=7/12x30%  \  9=3+5+7 \ 10=4+6+8




ประมาณการเงินสดรับ – จ่าย ปี 2544



..
..
มี..
เม..
..
มิ..

เงินสดยกมา
11,702,701
13,721,168
16,281,865
1,834,3022
20,091,391
22,439,075
1
เงินสดรับจากรายได้







  ยอดขายสินค้าหลัก
5,939,500
6,236,400
6,548,200
7,411,800
8,318,640
9,270,750
2
  ยอดขายจากฝากขาย 
330,400
340,300
350,500
393,400
436,300
479,200
3
  เงินสดรับจากรายได้
6,269,900
6,576,700
6,898,700
7,805,200
8,754,940
9,749,950
4
รวม
17,972,601
20,297,868
23,180,565
26,148,222
28,846,331
32,189,025
5
เงินสดจ่าย:







  วัตถุดิบกาแฟ
249,000
261,600
274,800
310,800
349,200
388,800
6
  ส่วนผสมอื่นๆ
637,446
475,100
498,900
523,800
592,900
665,400
7
  วัสดุสิ้นเปลือง
622,848
04,850
530,090
556,590
630,000
707,000
9
  อุปกรณ์เครื่องใช้
40,000
40,000
40,000
200,000
200,000
200,000
10
  อุปกรณ์สื่อสาร
-
-
-
17,500
17,500
17,500
11
  สิ่งปลูกสร้างงวด 1
-
-
720,000
720,000
720,000
720,000
12
  สิ่งปลูกสร้างงวด 2
-
-
-
720,000
720,000
720,000
13
  ค่าฝึกอบรมพนักงาน
-
-
15,000
15,000
15,000
15,000
14
  ค่าส่วนแบ่งการขาย 3%
188,097
197,301
204,261
234,156
262,648
292,498
15
  พนักงานขาย
943,580
943,580
943,580
1,018,580
1,093,580
1,168,580
16
  เงินเดือน
669,075
669,075
669,075
669,075
669,075
729,075
17
  ค่าโทรศัพท์
168,000
168,000
168,000
183,000
198,000
213,000
18
  ค่าบริการสื่อสาร
29,250
29,250
29,250
31,500
33,750
36,000
19
  ค่าไฟฟ้า
84,000
84,000
84,000
91,500
99,000
106,500
20
  ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย 1%
62,699
65,757
68,087
78,052
57,549
97,499
21
  ค่าขนส่ง 1.5%
94,048
98,650
102,130
117,078
131,324
101,249
22
  ค่าซ่อมบำรุง 3%
188,000
197,300
204,200
234,100
262,640
292,390
23
  ค่าน้ำ
125,390
131,530
136,170
156,100
175,090
195,000
24
  ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
100,000
100,000
100,000
100,000
100,000
100,000
25
  ค่าวิจัยพัฒนา
20,000
20,000
20,000
20,000
20,000
20,000
26
  ปรึกษาตรวจสอบบัญชี
30,000
30,000
30,000
30,000
30,000
30,000
27
รวมเงินสดจ่าย
4,251,433
4,016,003
4,837,543
6,056,831
6,407,256
6,815,491
28
รวมเงินสดคงเหลือ
13,721,168
16,281,865
18,343,022
20,091,391
22,439,075
25,373,534
29

อธิบาย 4=2+3 / 5=1+4 / 1 คือ 29 ของเดือนก่อนยกมา / 28= 6 ถึง 27 รวมกัน / 29=5-28


ประมาณการเงินสดรับ – จ่าย ปี 2544



..
..
..
..
..
..

เงินสดยกมา
25,373,534
28,897,146
33,059,610
37,926,372
43,508,529
49,844,542
1
เงินสดรับจากรายได้







  ยอดขายสินค้าหลัก
10,270,530
11,320,300
12,422,550
13,579,920
14,759,150
16,071,150
2
  ยอดขายจากฝากขาย 
522,100
565,000
607,900
650,800
693,700
736,600
3
  เงินสดรับจากรายได้
10,792,630
11,885,300
13,030,450
14,230,720
15,452,850
16,807,750
4
รวม
36,166,164
40,782,446
46,090,060
52,157,092
58,961,379
66,652,292
5
เงินสดจ่าย:







  วัตถุดิบกาแฟ
430,800
475,200
520,800
570,000
619,200
674,400
6
  ส่วนผสมอื่นๆ
741,600
821,600
905,600
993,800
1,086,400
1,180,700
7
  วัสดุสิ้นเปลือง
788,000
872,990
962,200
1,055,900
1,154,290
1,254,200
9
  อุปกรณ์เครื่องใช้
200,000
200,000
200,000
200,000
200,000
200,000
10
  อุปกรณ์สื่อสาร
17,500
17,500
17,500
17,500
17,500
17,500
11
  สิ่งปลูกสร้างงวด 1
720,000
720,000
720,000
720,000
720,000
-
12
  สิ่งปลูกสร้างงวด 2
720,000
720,000
720,000
720,000
720,000
720,000
13
  ค่าฝึกอบรมพนักงาน
15,000
15,000
15,000
15,000
15,000
15,000
14
  ค่าส่วนแบ่งการขาย 3%
323,778
356,559
390,913
426,921
463,585
504,232
15
  พนักงานขาย
1,243,580
1,318,580
1,393,580
1,468,580
1,543,580
1,618,580
16
  เงินเดือน
729,075
759,075
759,075
789,075
789,075
819,075
17
  ค่าโทรศัพท์
228,000
243,000
258,000
273,000
288,000
303,000
18
  ค่าบริการสื่อสาร
38,250
40,500
42,750
45,000
47,250
49,500
19
  ค่าไฟฟ้า
114,000
121,500
129,000
136,500
144,000
151,500
20
  ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย 1%
107,926
118,853
130,304
142,307
154,528
168,077
21
  ค่าขนส่ง 1.5%
161,889
178,279
195,456
213,460
231,792
252,116
22
  ค่าซ่อมบำรุง 3%
323,770
356,500
390,910
426,920
463,580
504,230
23
  ค่าน้ำ
215,850
237,700
262,600
284,600
309,057
336,100
24
  ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
100,000
100,000
100,000
100,000
100,000
100,000
25
  ค่าวิจัยพัฒนา
20,000
20,000
20,000
20,000
20,000
20,000
26
  ปรึกษาตรวจสอบบัญชี
30,000
30,000
30,000
30,000
30,000
30,000
27
รวมเงินสดจ่าย
7,269,018
7,722,836
8,163,688
8,648,563
9,116,837
9,638,210
28
รวมเงินสดคงเหลือ
28,897,146
33,059,610
37,926,372
43,508,529
49,844,542
57,734,082
29



อธิบาย 4=2+3 / 5=1+4 / 1 คือ 29 ของเดือนก่อนยกมา / 28= 6 ถึง 27 รวมกัน / 29=5-28

ประมาณการกระแสเงินสดปี 2545 – 2548



2545
2546
2547
2548
เงินสดยกมา
51,820,272.00
94,362,597.07
140,314,499.35
188,313,711.03
เงินสดรับจากรายได้ :




   ยอดขายสินค้าหลัก
127,661,510.00
134,044,590.00
141,038,220.00
147,652,420.00
   ยอดขายจากฝากขาย
6,411,510.00
6,732,080.00
7,068,690.00
7,422,120.00
รวมเงินสดในมือ
185,893,292.00
235,139,267.07
288,421,409.35
343,388,251.03
เงินสดจ่าย :




   ชำระเจ้าหนี้งวดก่อน
2,651,739.75
1,843,504.03
1,935,679.21
2,036,470.02
   ชำระสินค้าในงวด
24,716,005.97
26,181,040.79
27,745,079.98
29,200,435.07
   ค่าใช้จ่ายต่างๆ
31,260,957.10
33,137,470.35
35,202,805.55
37,366,526.70
   ค่าภาษีปีก่อนปัจจุบัน
17,469,132.11
17,458,252.56
18,209,403.58
19,047,632.02
   ค่าจ้างแรงงาน
15,432,860.00
16,204,500.00
17,014,730.00
17,865,460.00
รวมเงินสดจ่าย :
91,530,694.93
94,824,767.72
100,107,698.32
105,516,523.81
เงินสดคงเหลือสุทธิ
94,362,597.07
140,314,499.35
188,313,711.03
237,871,727.22



ประมาณการกำไรสุทธิ 5 ปี



2544
2545
2546
2547
2548
ยอดขาย :





   ยอดขายสินค้าหลัก
122,148,890.00
127,661,510.00
134,044,590.00
141,038,220.00
147,652,420.00
   ยอดจากฝากขาย
6,106,200.00
6,411,510.00
6,732,080.00
7,068,690.00
7,422,120.00
รวมยอดขายทั้งสิ้น
128,255,090.00
134,073,020.00
140,776,670.00
148,106,910.00
155,074,540.00
หัก ต้นทุนสินค้าขาย :





     วัตถุดิบต้นงวด
162,340.00
676,700.00
714,690.00
758,230.00
806,020.00
บวก ซื้อวัตถุดิบ
25,279,780.00
26,559,510.00
28,116,720.00
29,781,550.00
31,332,710.00
  วัตถุดิบมีไว้เพื่อขาย
25,442,120.00
27,236,210.00
28,831,410.00
30,539,780.00
32,138,730.00
หัก วัตถุดิบปลายงวด
676,700.00
714,690.00
758,230.00
806,020.00
850,270.00
   ต้นทุนวัตถุดิบ
24,765,420.00
26,521,520.00
28,073,180.00
29,733,760.00
31,288,460.00
บวก ค่าแรงพนักงานขาย
14,697,960.00
15,432,860.00
16,204,500.00
17,014,730.00
17,865,460.00
ต้นทุนสินค้าขาย
39,463,380.00
41,954,380.00
44,277,680.00
46,748,490.00
49,153,920.00
กำไรขั้นต้น
88,791,710.00
92,118,640.00
96,498,990.00
101,358,420.00
105,920,620.00
หัก  ค่าใช้จ่าย





  เงินเดือนบริหาร
8,778,900.00
9,656,790.00
10,622,470.00
11,684,720.00
12,853,190.00
  ส่วนแบ่งการขาย 3%
3,844,949.00
4,022,190.60
4,223,300.10
4,443,207.30
4,652,236.20
  ค่าฝึกอบรมพนักงาน
150,000.00
45,000.00
45,000.00
45,000.00
45,000.00
  ค่าโทรศัพท์สาขา
2,691,000.00
3,600,000.00
3,600,000.00
3,600,000.00
3,600,000.00
  ค่าบริการสื่อสาร
452,520.00
540,000.00
540,000.00
540,000.00
540,000.00
  ค่าไฟฟ้า
1,345,500.00
1,493,500.00
1,642,850.00
1,807,140.00
1,987,850.00
  ค่าโฆษณาส่งเสริมการขาย 1%
1,251,648.00
1,340,730.20
1,407,766.70
1,481,069.10
1,550,745.40
  ค่าขนส่ง 1.5%
1,877,471.00
2,011,095.30
2,111,650.05
2,221,603.65
2,326,118.10
  ค่าซ่อมบำรุง 3%
3,844,540.00
4,022,190.60
4,223,300.10
4,443,207.30
4,652,236.20
  ค่าน้ำ
2,565,187.00
2,681,460.40
2,815,533.40
2,962,138.20
3,101,490.80
  ค่าวิจัยพัฒนา
240,000.00
288,000.00
345,600.00
414,720.00
497,660.00
  ปรึกษาตรวจสอบบัญชี
360,000.00
360,000.00
360,000.00
360,000.00
360,000.00
  ค่าใช้จ่ายตรวจสอบบัญชี
1,200,000.00
1,200,000.00
1,200,000.00
1,200,000.00
1,200,000.00
  ค่าเสื่อมราคา
1,959,554.64
2,663,507.70
2,663,507.70
2,663,507.70
2,663,507.70
รวมค่าใช้จ่ายบริหาร
30,561,269.64
33,924,464.80
35,800,978.05
37,866,313.25
40,030,034.40
กำไรก่อนภาษี 30%
58,230,440.36
58,194,175.20
60,698,011.95
63,492,106.75
65,890,585.60
กำไรหลังภาษี
40,761,308.25
40,735,922.64
42,488,608.37
44,444,474.73
46,123,409.92




ประมาณการ
งบดุล ปี 2544

สินทรัพย์
                สินทรัพย์หมุนเวียน
                    เงินสด+ธนาคาร                                                       57,734,082.00    
                    วัตถุดิบคงเหลือ                                                             676,700.00                     58,410,782.00             
                สินทรัพย์ถาวร
                                อาคาร                                          21,246,594.04
                                อุปกรณ์เครื่องใช้สาขา                         4,182,968.03
                                อุปกรณ์สำนักงาน                              1,243,673.16
                                อุปกรณ์สื่อสาร                                     239,224.88           26,912,460.11
                                                                                                                                              85,323,242.11

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น        
                หนี้สินระยะสั้น
                                เจ้าหนี้                                           2,651,739.75
                                ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย(ภาษี)                     17,469,132.11
                                ภาษีค้างจ่าย ปี 2543                          5,913,810.00            26,034,681.86
                ส่วนของผู้ถือหุ้น
                                ทุนจดทะเบียน                                 1,000,000.00
                                กำไรสะสม                                     58,288,560.25            59,288,560.25
                                                                                                                                                               85,323,242.11


ประมาณการงบดุลปี 2544 – 2548




2544
2545
2546
2547
2548
สินทรัพย์





สินทรัพย์หมุนเวียน





  เงินสดและเงินฝาก
51,820,272.00
94,362,597.07
140,314,499.34
188,313,711.03
237,871,727.22
  วัตถุดิบคงเหลือ
676,700.00
714,690.00
758,230.00
806,230.00
850,270.00
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
52,496,972.00
95,077,287.07
141,072,729.34
189,119,731.03
238,721,997.22
สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
26,912,460.11
24,248,952.41
21,585,444.71
18,921,937.01
16,258,429.31
สินทรัพย์รวมทั้งสิ้น
79,409,432.11
119,326,239.48
162,658,174.05
208,041,668.04
254,980,426.53
หนี้สินและส่วนผู้ถือหุ้น





หนี้สินระยะสั้น





  เจ้าหนี้การค้า
2,651,739.75
1,843,504.03
1,935,679.21
2,036,470.01
2,132,274.93
  ภาษีนิติบุคคล
17,469,132.11
17,458,252.56
18,209,403.58
19,047,632.02
19,767,175.68
รวมหนี้สินระยะสั้น
20,120,871.86
19,301,756.59
20,145,082.79
21,084,102.03
21,899,450.61
ส่วนของผู้ถือหุ้น





  ทุนจดทะเบียน
1,000,000.00
1,000,000.00
1,000,000.00
1,000,000.00
1,000,000.00
  กำไรสะสม
58,288,560.25
99,024,482.89
141,513,091.26
185,957,566.01
232,080,975.92
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น
59,288,560.25
100,024,482.89
142,513,091.26
186,957,566.01
233,080,975.92
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
79,409,432.11
119,326,239.48
162,658,174.05
208,041,668.04
254,980,426.53



การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน



2544
2545
2546
2547
2548
1. การวิเคราะห์สภาพคล่อง





    (LIQUIDITY RATIO)





1.1 CURRENT RATIO / เท่า
2.60
4.90
7.00
8.96
10.90
1.2 QUICK RATIO / เท่า
2.57
4.88
6.90
8.93
10.86
2. ความสามารถทำกำไร





    (PROFITABILITY RATIO)





2.1 กำไรต่อยอดขาย (ROS)
31.78%
30.38%
30.18%
30.01%
29.74%
2.2 กำไรต่อสินทรัพย์ (ROA)
51.33%
34.14%
26.12%
21.36%
18.09%
2.3 กำไรต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE)
68.75%
40.73%
29.81%
23.77%
19.79%
2.4 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (GPM)
69.23%
68.71%
68.55%
68.44%
68.30%
2.5 อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS)฿
4,076.31
4,073.59
4,248.86
4,444.45
4,612.34


จากการวิเคราะห์งบการเงิน  จะเห็นได้ว่าสภาพคล่องของกิจการมีค่อนข้างสูง และเพิ่มขึ้นตลอดทุกๆ ปี อันเนื่องมาจากมีสภาพของเงินสดในมือค่อนข้างมาก การถือเงินสดมากเกินไป ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูก  กิจการจึงควรหาโครงการอื่นเพื่อลงทุนและขยายขีดความสามารถในการทำกำไรให้สูงขึ้น  เพราะจากอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร จะเห็นว่าทั้ง ROS, ROA, ROE มีอัตราส่วนที่ลดลงค่อนข้างมากทุกปี ทำให้เห็นว่ากิจการถือครองสินทรัพย์หมุนเวียนโดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ค่อนข้างมาก ซึ่งถือว่ากิจการไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ทำให้อัตราความสามารถในการทำกำไรลดลงเรื่อยๆ แม้ว่ากำไรต่อหุ้นอยู่ในระดับสูงเป็นที่น่าพอในก็ตาม

ความต้องการของแหล่งเงินทุน


จากการวิเคราะห์แผนการเงิน ทั้งงบกระแสเงินสด งบดุล งบกำไรขาดทุน และให้วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ในปี 2544 ถึง 2548 กิจการมีสภาพคล่องสูงมาก ในการดำเนินธุรกิจตลอดปี 2544-2548 จะมีเงินสดและเงินฝากธนาคารในระดับ 200 ล้าน จึงยังไม่มีความจำเป็นในการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกเข้ามาเสริม ความต้องการแหล่งเงินทุน จึงไม่มีในช่วงของปี 2544-2548

7.การบริหาร


การบริหารงาน

1. มีหลักการบริหารแบบพี่น้องและมีการให้กำลังใจแก่พนักงานทุกคนด้วยค่าคอมมิชชั่นที่
พอเพียง
2. ให้นโยบายสำหรับผู้จัดการเขต 3 อย่างคือ
1. จัดการและบริหารร้าน
2. ให้ความอบอุ่น และดูแลเอาใจใส่พนักงาน
3. สร้างให้พนักงานเกิดความรักตัวเองก่อนรักองค์กร เพื่อส่งผลให้ตัวพนักงานเกิดความรักในตัวองค์กรอยางแท้จริงต่อไป

การจัดระบบในองค์กร (Organization Chart)



โครงสร้างองค์กรร้านกาแฟสด บ้านไร่กาแฟ

ปัญหาและอุปสรรค

1. ด้านบุคลากร
เนื่องจากนโยบายหลักของร้าน คือ การสร้างทรัพยากรด้านบุคลากรขึ้นมาเอง โดยมิได้ตั้ง
เงื่อนไขทางด้านวุฒิการศึกษา  อายุ  เพศ  สำหรับทุกตำแหน่งในร้าน ดังนั้นพนักงานจึงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ โดยทางบริษัทก็ได้มีการรับรองการพัฒนาฝีมือบุคลากรด้วยการจัดโปรแกรมฝึกอบรมเสริมทักษะความรู้ด้านการทำงานโดยเฉพาะ

2. ปัญหาด้านระบบการจัดการ
เนื่องด้วยเป็นการเริ่มทำธุรกิจเป็นครั้งแรก เรื่องระบบการจัดการต่างๆ ภายในจึงยังไม่ค่อย
ลงตัว เช่น ระบบการบัญชี ที่ไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง  เช่น  ภาษีต่างๆ หรืองานด้านสวัสดิการของพนักงานด้านประกันสังคม

3. ปัญหาของระบบแฟรนด์ไชส์
1. ความไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์ของผู้มาซื้อ เพราะเขาต้องการแตก Line ร้านกาแฟไปสู่เบียร์การ์เดนท์

2. ผู้บริการของแฟรนไชส์ไม่ต้องการทำตามกฎทุกข้อของบ้านไร่กาแฟ อาทิ เครื่องแต่งกายของพนักงาน การจัดรูปแบบร้าน เป็นต้น

แผนการตลาดของบ้านไร่กาแฟ


โฆษณา

ยังไม่เคยทำโฆษณาของตัวเองออกมา เพียงแต่ทำป้ายโฆษณาชื่อร้านที่ปั๊มน้ำมันเจ็ทที่มีร้านบ้านไร่อยู่ในปั๊มเท่านั้นแต่ในอนาคตคาดว่าจะทำขึ้นมาเพื่อสร้าง Brand Awareness ให้มากขึ้น
ประชาสัมพันธ์

ได้ทำการประชาสัมพันธ์ร้านบ้านไร่กาแฟผ่านทางอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ www.bkk.com เพียงช่องทางเดียว แต่คาดว่าจะพัฒนาสู่ช่องทางอื่นต่อไปในอนาคต
สำหรับการให้สัมภาษณ์ของ คุณสายชล เพยาว์น้อย ทางสื่อต่างๆ นั้นก็ได้ทำอย่างต่อเนื่องโดยการให้สัมภาษณ์มาแล้วหลายสื่อ  ทั้งหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  รายการโทรทัศน์  และวิทยุ ซึ่งวิธีการนี้ก็ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านอีกทางหนึ่งเช่นกัน

การจัดการส่งเสริมการขาย

ยังไม่เคยจัดเป็นรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการขายของบ้านไร่เอง  แต่ได้เคยจัดการส่งเสริมการขายร่วมกับปั๊มน้ำมัน JET  โดยการมอบคูปองส่วนลดให้กับผู้ที่เติมน้ำมันที่ปั๊ม JET รวมทั้งยังได้มอบบัตรลดราคากาแฟในร้านบ้านไร่กาแฟเพื่อเป็นรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามใน www.bkk.com ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดกิจกรรมนอกสถานที่

มีแนวคิดที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ให้คนทั่วไปรู้จักร้านบ้านไร่กาแฟมากขึ้น จึงได้จัดทำรถบ้านไร่กาแฟเคลื่อนที่    เพื่อนำกาแฟของบ้านไร่กาแฟขายตามงานเทศกาลต่างๆ   เช่น  งานเทศกาลของชมทุ่งดอกทานตะวันที่ จังหวัดลพบุรี, งานแสดงสีเสียง ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นต้น

แผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

มีโครงการจัดตั้งส่วนกาแฟขนาดใหญ่  เพื่อสร้างเป็นที่ชุมนุมของคนนิยมดื่มกาแฟขึ้น และสร้างเป็นสวนสนทนาในการทำกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งได้เปิดสวนกาแฟไปแล้ว 1 แห่ง คือ ส่วนกาแฟโรงโป๊ะ แต่ต่อไปจะสร้างให้เป็นสวนกาแฟขนาดใหญ่ ขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 สนามฟุตบอล

ทีมผู้บริหาร

นายสายชล  เพยาว์น้อย
อายุ : 34  ปี    คนจังหวัดสระบุรี
การศึกษา :  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ :    สถาปนิก บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  จำกัด
นางสาวรัชนิดา  ตะนะสอน
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 6 ตุลาคม 2519
อายุ :  25  ปี
การศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพ คณะบัญชี
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท แคนนอนเอ็นจิเนียริ่ง ประเทศไทย จำกัด ตำแหน่ง Chiff Operator
                                           ระยะเวลา 8 เดือน
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 ตุลาคม 2542
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้จัดการภาค 1  ฝ่ายอบรมและจิตวิทยา
รายละเอียดงาน : ดูแลเรื่องงานฝึกอบรม และด้านจิตวิทยา

นายวีรยุทธ  บุตรพรหม
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 22 กรกฎาคม 2519
อายุ : 25 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เอกบริหารธุรกิจ แขนง การเงินการธนาคาร
ประสบการณ์การทำงาน :   1.  อู่ซ่อมรถ ระยะเวลา 6 เดือน
                              2.  เซเว่นอีเลฟเว่น ระยะเวลา 2ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 26 มกราคม 2543
อายุการทำงาน : 1 ปี 2 เดือน
ตำแหน่ง : ปฏิบัติการพื้นที่เขต 7
รายละเอียดงาน : ดูแลให้คำปรึกษา กับบุคลากรประจำสาขาบ้าน

นางสาวนงลักษณ์  จันทร์ประภาส
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 24 มีนาคม 2516
อายุ : 25 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต เอกบริหารธุรกิจ (การบริหารงานทั่วไป)
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 2 กุมภาพันธ์ 2542
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้จัดการเขต 8
รายละเอียดงาน : ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต
นายก้อง  พรรคเจริญ
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 11 กันยายน 2519
อายุ : 25 ปี
การศึกษา : อนุปริญญาศาสตร์ โปรแกรมวิชาก่อสร้าง
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด
ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่เขียนแบบ ระยะเวลา 4 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 ตุลาคม 2542
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยสำนักงานกลาง 2
รายละเอียดงาน : ดูแลด้านงานก่อสร้าง

นางสาวจัณฑ์จุฑา  สุนทรเกียรติวงส์
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 1 กันยายน 2508
อายุ : 36 ปี
การศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชา พณิชยกรรม สาขาการขาย
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท สยามพัฒนา จำกัด
ตำแหน่ง : หัวหน้าแผนก ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 6 กันยายน 2542
อายุงาน : 1 ปี 7 เดือน
ตำแหน่ง : ผู้จัดการเขต 4
รายละเอียดงาน : ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต

นางนิภา  คงเจริญ
สถานภาพ : สมรส มีบุตร 2 คน
เกิดวันที่ : 8 กุมภาพันธ์ 2504
อายุ : 40 ปี
การศึกษา :  ปริญญาตรี คณะครุศาสตร์บัณฑิต เอกคหกรรมศาสตร์
ประสบการณ์การทำงาน : 1. โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร   ตำแหน่งอาจารย์      ระยะเวลา 1 ปี
                                          2. บริษัท ชินวุฒิก่อสร้าง จำกัด  ตำแหน่งการเงิน    ระยะเวลา 4 ปี
                                          3. โรงแรมแซนด์รีสอร์ท         ตำแหน่งหัวหน้าแคชเชียร์  ระยะเวลา 5 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 15 มีนาคม 2542
อายุการทำงาน : 2 ปี
ตำแหน่ง : ผู้จัดการเขต 2
รายละเอียดงาน : ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต

นางสาวอมรรัตน์  หอมจันทร์
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 1 พฤศจิกายน 2510
อายุ : 34 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เอกการจัดการทั่วไป (บัญชี)
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท ซีเกท จำกัด
ตำแหน่ง : Leadek ระยะเวลา 12 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 กุมภาพันธ์ 2542
อายุ :  2 ปี 1 เดือน
ตำแหน่ง : ผู้จัดการเขต 1, 7
รายละเอียดงาน : ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต

นางสาวอัจจิมา  พูนทวีป
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 1 มกราคม 2515
อายุ :  29 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เอก การจัดการ (ทรัพยากรมนุษย์)
ประสบการณ์การทำงาน : 1. บริษัท UCC จำกัด       ตำแหน่ง พนักงานขาย   ระยะเวลา 1 ปี
                                          2. บริษัทฟิวชั่นไฟร์เซฟตี้   ตำแหน่ง พนักงานธุรการ-บัญชี ระยะเวลา 1 ปี
                                          3. บริษัท MMC จำกัด       ตำแหน่ง พนักงานฝ่ายการเงิน   ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 กันยายน 2542
อายุการทำงาน : 1 ปี 7 เดือน
ตำแหน่ง : รักษาการผู้จัดการภาค 2
รายละเอียดงาน : ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต

นางสาวพัชวดี คงตะแบก
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ :  25 เมษายน 2516
อายุ : 27 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ เอกการประชาสัมพันธ์
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด
ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่บริหารงานขาย ระยะเวลา 3 ปี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 พฤษภาคม 2541
อายุงาน :  2 ปี 9 เดือน
ตำแหน่ง :  ผู้จัดการภาค 1, ผู้จัดการสำนักงานกลาง
รายละเอียดงาน :  ดูแลนโยบาย ให้คำปรึกษา บริหารงาน ในระดับเขต

นางสาวสิริลักษณ์  เพยาว์น้อย
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ : 18 มิถุนายน 2522
อายุ : 22 ปี
การศึกษา :  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ คณะบัญชี
ประสบการณ์การทำงาน : 1. บริษัท แฟชั่นไอส์แลนด์ จำกัด ตำแหน่ง พนักงานบัญชี ระยะเวลา 8 เดือน
                                          2. บริษัท บ้านไร่กาแฟสด จำกัด ตำแหน่งพนักงานขาย, ผู้ช่วยผู้จัดการ
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 21 ธันวาคม 2540
อายุการทำงาน : 3 ปี  3 เดือน
ตำแหน่ง : ฝ่ายบุคคล, เลขานุการ
รายละเอียดงาน : ดูแลเรื่องสวัสดิการ ประกันสังคม และประสานงาน

นางณัฐพร  จั๋วรักษา
สถานภาพ : สมรส
เกิดวันที่ : 11 เมษายน 2512
อายุ :  32 ปี
การศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คณะบัญชี
ประสบการณ์การทำงาน : บริษัท วาราเดียร์ จำกัด
ตำแหน่ง : พนักงานบัญชี
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน :  21 กรกฎาคม 2541
อายุงาน : 2 ปี 8 เดือน
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้จัดการ
รายละเอียดงาน : ดูแลด้านบัญชี

นายอัสวิน  ไขรัศมี
สถานภาพ : โสด
เกิดวันที่ :  9 พฤศจิกายน 2519
อายุ : 25 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะศิปลศาสตร์บัณฑิต เอกการตลาด
ประสบการณ์การทำงาน : ประชาร่วมยนต์ (ฝึกงาน 15 วัน)
สถานที่ทำงาน : บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มงาน : 1 เมษายน 2542
อายุการทำงาน : 2 ปี
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยผู้จัดการภาค 2
รายละเอียดงาน : ดูแลเรื่องงานฝึกอบรม และผลิตภัณฑ์ของบริษัท
แผนการควบคุมและดำเนินการ

จากการจัดระบบในองค์กร ทำให้มองเห็นถึงจุดสำคัญอยู่ 2 จุด คือ แผนการฝึกอบรมพนักงาน และการควบคุมการรั่วไหลของระบบเงิน

แผนการฝึกอบรม

กิจการมีการจัดระบบการฝึกอบรมให้กับพนักงานให้มีมาตรฐานของการให้บริการที่มีรูปแบบและระดับมาตรฐานโดยจัดเชิญ วิทยากร จากภายนอกมาให้การอบรมพนักงาน เป็นประจำ

แผนการควบคุมระบบรั่วไหล

ควบคุมด้วย

1. การตรวจสต็อกของสินค้าและวัตถุดิบ
กิจการมีระบบการตรวจเช็ค ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุกาแฟ เช่น ถ้วยกาแฟ ควบคู่ไปกับปริมาณของวัตถุดิบกาแฟที่ใช้  ซึ่งทางฝ่ายจัดการได้มีสูตร  และอัตราส่วนการผสมชงกาแฟต่อแก้วไว้แล้วการลดลงของกาแฟกับถ้วยกาแฟจะต้องสอดคล้องกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

2. การบริหาร
ด้วยการจัดระบบการบริหารเป็นเขตๆ  แต่ละเขตดูแลร้านค้าที่เรียกว่า บ้าน ในสัดส่วน 1   เขตต่อ 6 บ้าน และหัวหน้าเขตจะต้องเป็นผู้ดูแลระบบบัญชีของแต่ละเขต  ตรวจสอบการโอนเงินประสานงานกับของสำนักงานใหญ่ทุกวัน  โดยมีระบบการสื่อสารแจ้งข่าวคราวผ่านทาง วิทยุตามตัว  ซึ่งแต่ละสาขาจะ    มีเครื่องข้อมูลการติดต่อประสานงานส่งถึงทุกสาขาพร้อมๆกัน

3. การควบคุมคุณภาพ
คุณภาพรสกาแฟมีความสำคัญจึงมีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ประจำเขต คอยดูแลคุณภาพของกาแฟ  โดยไปเยี่ยมเยือนตามสาขาต่างๆ  นอกจากฝ่ายตรวจสอบคุณภาพประจำเขตแล้ว  ยังมีจากส่วนกลางจะออกสำรวจโดย ใช้แบบสอบถามเป็นระยะ ๆ

4. การควบคุมด้านการเงิน
ควบคุมโดยหัวหน้าเขตเนื่องจากมีหลายสาขาและกระจัดกระจายระบบการเงิน  จึงได้วางระเบียบให้แต่ละสาขาโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทโดยตรง  แล้วแจ้งให้หัวหน้าเขตของตนเองทราบ พร้อมสั่งสำเนาการโอนเงินให้หัวหน้าเขตเป็นหลักฐาน  ส่วนของหัวหน้าเขต จะต้อง E-mail แจ้งให้สำนักงานกรุงเทพฯ ทราบยอดการโอนก่อน 11.00 น. เพื่อการตรวจสอบยอดการโอนเงินประจำวัน

ควบคุมโดยเครื่องบันทึกเงินสด
เครื่องบันทึกเงินสด  จะเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งในการควบคุมระบบเงินสดเข้า  และการทอนเงิน  เพราะจะมีระบบการพิมพ์สลิปเงินสดทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ตลอดจนจะมีป้ายแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า “ให้ขอใบเสร็จจากเครื่องทุกครั้ง”

5. ควบคุมโดยลูกค้า
ให้ลูกค้าสามารถกรอกแบบแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น  การบริการ  คุณภาพของรสกาแฟ หรือความผิดสังเกตต่างๆ  ที่พบเห็นในขณะนั้น โดยส่งตรงต่อสำนักงานกรุงเทพฯ โดยไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์  พร้อมกับจะมีรางวัล เล็กๆน้อยๆ  สำหรับข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของบริษัทโดยจะเชิญให้มาเป็นเกียรติในการเลี้ยงฉลองประจำปีของบริษัท

ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์

คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์


คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์
จำนวนผู้ตอบแบบ
สอบถามในปั๊ม JET
จำนวนผู้ตอบแบบ
สอบถามนอกปั๊ม JET
รวมทั้งสิ้น
คน
%
คน
%
คน
%
เพศ






ชาย
78
52.00
67
44.67
145
48.33
หญิง
72
48.00
83
55.53
155
51.67
รวม
150
100.00
150
100.00
300
100.00
อายุ






ต่ำกว่า 20 ปี
3
2.00
0
0.00
3
1.00
21 – 30 ปี
56
37.33
63
42.00
119
39.67
31 – 40 ปี
58
38.67
69
46.00
127
42.33
41 – 50 ปี
24
16.00
15
10.00
39
13.00
51 ปีขึ้นไป
9
6.00
3
2.00
12
4.00
รวม
150
100.00
150
100.00
300
100.00
ระดับการศึกษา






มัธยมศึกษา/ปวช. หรือต่ำกว่า
18
12.00
7
4.67
25
8.33
อนุปริญญา/ปวส.
12
8.00
14
9.33
26
8.67
ปริญญาตรี
81
54.00
88
58.67
169
56.33
สูงกว่าปริญญาตรี
39
26.00
41
27.33
80
26.67
รวม
150
100.00
150
100.00
300
100.00
อาชีพ






นักเรียน/นักศึกษา
7
4.67
3
2.00
10
3.33
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
14
9.33
20
13.33
34
11.33
ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
73
48.67
116
77.33
189
63.00
เจ้าของกิจการ
46
30.67
5
3.33
51
17.00
อื่นๆ
10
6.67
6
4.00
16
5.33
รวม
150
100.00
150
100.00
300
100.00
คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์






ต่ำกว่า 10,000 บาท
14
9.52
15
10.07
29
9.8
10,000 – 20,000 บาท
35
23.81
65
43.62
100
33.78
20,001 – 30,000 บาท
26
17.69
38
25.50
64
21.62
30,001 – 40,000 บาท
30
20.41
15
10.50
45
15.20
40,001 บาทขึ้นไป
42
28.57
16
10.74
58
19.59
รวม
147
100.00
149
100.00
296
100.00




สามารถสรุปได้ดังนี้


ผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้บริการในปั๊มน้ำมัน JET ทั้งหมด 150  คน แบ่งเป็นชาย 78 คน  คิดเป็นร้อยละ 52 และหญิง 72 คน คิดเป็นร้อยละ 48 และสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการนอกปั๊มน้ำมัน JET ทั้งหมด 150 คน แบ่งเป็นชาย 67 คน คิดเป็นร้อยละ 44.67 และหญิง 83 คน คิดเป็นร้อยละ 55.33

ช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี ทั้งในปั๊มน้ำมัน JET และนอกปั๊มน้ำมัน JET โดยมีถึงร้อยละ 38.7 และร้อยละ 46 ตามลำดับ

ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  มีระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่   ถึงร้อยละ 54 รองลงมา คือ ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 26 ส่วนผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET มีการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 58.67 รองลงมา คือระดับสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 27.33

อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 48.67 รองลงมา คือ เจ้าของกิจการ้อยละ 30.67  ต่างกับผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  ที่ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ถึงร้อยละ 77.33 รองลงมา คือ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.33

รายได้ของบุคคลต่อเดือน ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET จะอยู่ที่ระดับ 40,001 บาท ขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละคือร้อยละ 28.57 รองลงมาอยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท หรือร้อยละ 23.81 ส่วนผู้ที่ตอบแบบสอบถาม นอกปั๊มน้ำมัน JET โดยส่วนใหญ่จะมีระดับรายได้อยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 43.62 รองลงมาอยู่ที่ระดับ 20,001 – 30,000 บาท หรือร้อยละ 25.50

พฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มกาแฟ และความรู้เกี่ยวกับร้านกาแฟ

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งผู้ที่ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET และผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  มีพฤติกรรมในการดื่มกาแฟเหมือนกัน คือ ดื่มกาแฟวันละ 1 แก้ว มากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 42.67 และ ร้อยละ 40 ตามลำดับ รองลงมา คือ ดื่มวันละ 2 แก้ว คิดเป็นร้อยละ 31.33 และร้อยละ 26.67 ตามลำดับ

ชนิดกาแฟที่ชื่นชอบ

ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET จะนิยมดื่มกาแฟสดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.33 รองลงมา คือ กาแฟชนิดชง คิดเป็นร้อยละ 26.67

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  นิยมดื่มกาแฟชนิดชงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.67 รองลงมา คือ กาแฟสด คิดเป็นร้อยละ 22

ร้านกาแฟที่รู้จัก

ร้านกาแฟที่ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 150 คน ในปั๊มน้ำมัน JET รู้จักมากที่สุด ได้แก่ ร้านบ้านกาแฟโดยคิดเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด รองลงมา คือ ร้านแบล็คเคนยอน คิดเป็นร้อยละ 85.33

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 150 คน นอกปั๊มน้ำมัน JET จะรู้จักร้านแบล็คแคนยอนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.33 รองลงมา คือ ร้านสตาร์บัคส์ และร้านบ้านไร่กาแฟคิดเป็นร้อยละ 86.00 ร้อยละ 74.00 ตามลำดับ

การรับรู้/ทัศนคติต่อร้านบ้านไร่กาแฟ


ประวัติการดื่มกาแฟร้าน “บ้านไร่กาแฟ”

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่เคยดื่มกาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟมีจำนวนทั้งหมด 248 คน คิดเป็นร้อยละ 82.67 ส่วนผู้ที่ไม่เคยดื่มกาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟมีจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 17.33  ซึ่งทางผู้วิจัยได้ยุติการถามสำหรับผู้ที่ไม่เคยดื่มกาแฟของร้านบ้านไร่กาแฟที่คำถามข้อนี้
คุณนึกถึงอะไรมากที่สุด เมื่อพูดถึงร้านบ้านไร่กาแฟ

ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET เมื่อพูดถึงร้านบ้านไร่กาแฟ จะนึกถึงร้านกาแฟที่อยู่ในปั๊ม JET มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.33 รองลงมาจะนึกถึงร้านกาแฟที่ใช้แก้วดินเผา คิดเป็นร้อยละ 42.67

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET เมื่อพูดถึงร้านบ้านไร่กาแฟ จะนึกถึงร้านบ้านไร่กาแฟที่อยู่ในปั๊ม JET เป็นอันดับ 1 เช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 81.63 และรองลงมา คือ นึกถึงร้านกาแฟที่ใช้แก้วดินเผา คิดเป็นร้อยละ 63.27

ท่านรู้จักร้าน “บ้านไร่กาแฟ” ได้อย่างไร

ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET ร้อยละ 78.00 รู้จักบ้านไร่กาแฟด้วยตนเอง รองลงมา คือเพื่อนแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 16.67

ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET ร้อยละ 70.41 รู้จักร้านบ้านไร่กาแฟด้วยตนเอง รองลงมาคือเพื่อนแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 16.33

คุณสมบัติที่ดึงดูดให้เข้าร้านบ้านไร่กาแฟ

ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  คิดว่ากลิ่นหอมของกาแฟของบ้านไร่กาแฟ เป็นสิ่ง
ดึงดูดให้ร้านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.33 รองลงมาคือ การตกแต่งร้านคิดเป็นร้อยละ 50

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET คิดว่า การตกแต่งร้านของบ้านไร่กาแฟ เป็นสิ่งดึงดูดให้เข้าร้านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.06 รองลงมาคือกลิ่นหอมของกาแฟ คิดเป็นร้อยละ 52.04

ความประทับใจต่อร้านบ้านไร่กาแฟ


ร้านกาแฟที่ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET ประทับใจในกลิ่นหอมกาแฟมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.67 รองลงมา คือ รสชาติเฉพาะตัว คิดเป็นร้อยละ 23.33

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET ประทับใจในกลิ่นหอมของกาแฟมากที่สุด เช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 26.53 รองลงมา คือ ประทับใจในบรรยากาศของร้าน คิดเป็นร้อยละ 22.45

รสชาติกาแฟที่ผู้ตอบแบบสอบถามชอบดื่มมากที่สุด


พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งในปั๊มน้ำมัน JET และนอกปั๊มน้ำมัน JET มีความชื่นชอบกาแฟ รสบ้านไร่เบรนด์ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.08 และ 25.56 ตามลำดับ รองลงมาคือรสลงมาคือรสสยามเบรนด์โดยคิดเป็นร้อยละ 19.23 และ 24.32 ตามลำดับ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศในร้าน “บ้านไร่กาแฟ”

ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET ผู้ที่ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET มีความคิดเห็นตรงกัน คือ คำว่าบรรยากาศของร้านบ้านไร่กาแฟ เป็นแบบสบายๆ ทำให้นั่งได้นาน มากที่สุด ถึงร้อยละ 57.33 และร้อยละ 54.44 ตามลำดับ รองลงมา คือ คิดว่ามีบรรยากาศแบบเงียบสงบร้อยละ 14.67 และร้อยละ 17.35 ตามลำดับ

การบริการของร้าน “บ้านไร่กาแฟ”


ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งในปั๊มน้ำมัน JET และนอกปั๊มน้ำมัน JET มีความคิดเห็นตรงกันว่า คือ คิดว่าการบริการของร้านบ้านไร่กาแฟมีความเป็นกันเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43.33 และร้อยละ 51.02 ตามลำดับ และอันดับรองลงมา คือ บริการด้วยความสุภาพอ่อนน้อม คิดเป็นร้อยละ 37.33 และร้อยละ 25.51 ตามลำดับ

บุคลิกภาพของร้านบ้านไร่กาแฟ


ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET คิดว่า ร้านบ้านไร่กาแฟมีบคลิกเท่ห์อย่างมีสไตส์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.33 รองลงมาคือมีบุคลิกที่อบอุ่น คิดเป็นร้อยละ 22.67

ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET คิดว่าร้านบ้านไร่กาแฟมีบุคลิกเท่ห์อย่างมีสไตส์มากที่สุดเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 48.98 รองลงมา คือ มีความอบอุ่น คิดเป็นร้อยละ 28.57

ภาพลักษณ์ของบ้านไร่กาแฟ ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีความคิดเห็นกับภาพลักษณ์ที่ทีมผู้วิจัยนำเสนอดังนี้

สะท้อนความเป็นไทยคลาสสิค

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นคลาสสิคมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 39.04 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดเป็นร้อยละ 30.82 และ 19.86 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นคลาสสิคมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 53.06 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 37

สะท้อนความเป็นไทยแบบทันสมัย

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นไทยแบบทันสมัยมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 57.34 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง  คิดเป็นร้อยละ 23.08 และ 13.29 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นไทยแบบทันสมัยมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 51.10 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และไม่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 34 และ 8.16 ตามลำดับ

สะท้อนถึงวัฒนธรรมตะวันตก
- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมตะวันตกมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 40.44 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และไม่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 36.76 และ 12.50 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมตะวันตกมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา คือ ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 27.08 และ 25 ตามลำดับ

ประสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตก

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่ประสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตกมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 55.94 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดเป็นร้อยละ 18.88 และ 17.48 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่ประสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตกมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 53.61 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 32

สำหรับแวะระหว่างเดินทาง

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่ง ในภาพลักษณ์สำหรับแวะระหว่างเดินทางมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 55.86 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 40 และ 2.07 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์สำหรับแวะระหว่างเดินทางมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 58.61 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่งและเฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 38.78 และ 3 ตามลำดับ

ร้านเหมือนบ้านที่อบอุ่น

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่ร้านเหมือนบ้านที่อบอุ่นมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 36.43 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดเป็นร้อยละ 35 และ 22.14 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย ในภาพลักษณ์ที่ร้านเหมือนบ้านที่อบอุ่นมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 42.27 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดเป็นร้อยละ 38 และ 12.37 ตามลำดับ

ร้านที่ใช้แต่ผลผลิตในประเทศ

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET รู้สึกเฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านที่ใช้แต่ผลผลิตในประเทศมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 48.25 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่งและเฉยๆคิดเป็นร้อยละ 27.27 และ 20.28 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านที่ใช้แต่ผลผลิตในประเทศมากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 56.64 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยด้วยอย่างยิ่งคิดเป็นร้อยละ 31 และ 13.40 ตามลำดับ

สถานที่พักผ่อนของคนทำงาน

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่เป็นสถานที่พักผ่อนของคนทำงานมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 42.62 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วย และรู้สึกไม่เห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 30.80 และ 17.30 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่เป็นสถานที่พักผ่อนของคนทำงานมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 55.67 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วย และรู้สึกไม่เห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 30 และ 10.31 ตามลำดับ

ร้านกาแฟที่มีรสชาติอร่อยที่สุด

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึกเห็นด้วย  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านกาแฟที่มีรสชาติอร่อยที่สุดมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 48.25 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเฉยๆ เป็นจำนวนเท่ากันโดยคิดเป็นร้อยละ 25.87

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึก เฉยๆ  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านกาแฟที่มีรสชาติอร่อยที่สุดมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 55 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 40.63 และ 3.13 ตามลำดับ

ร้านกาแฟที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์

- ผู้ตอบแบบสอบถามในปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึก เห็นด้วย  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านกาแฟที่มี
รสชาติเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 42.76 รองลงมา คือ รู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 37.93 และ 17.93 ตามลำดับ

- ผู้ตอบแบบสอบถามนอกปั๊มน้ำมัน JET  รู้สึก เห็นด้วย  ในภาพลักษณ์ที่เป็นร้านกาแฟที่มี
รสชาติเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 55.67 รองลงมา คือ รู้สึกเฉยๆ และเห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดเป็นร้อยละ 30 และ 10.31 ตามลำดับ

แผนธุรกิจร้านกาแฟสดบ้านไร่กาแฟ

เว็บไซต์ บ้านไร่กาแฟ http://www.banriecoffee.com/

--------------------------------------------------------


Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee