เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาแฟ วิธีการปลูก สายพันธุ์ ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด


กาแฟ
ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด
ศัตรูพืชกาแฟ
1 การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์
2 การจัดการเพื่อผลิตกาแฟปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
3 การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารออคราทอกซิน เอ
เนื้อหา
1   การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์
    1.1 การเลือกต้นพันธุ์
 - เลือกพันธุ์ที่ปลูกตรงตามความต้องการของตลาด มาจากแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
q       กาแฟอาราบิก้า  เลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม ต้นเตี้ย ข้อสั้น และผลผลิตสูง
สม่ำเสมอ
q       กาแฟโรบัสต้า  เลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี ลำต้น
ตั้งตรง กิ่งยาว ข้อถี่ จำนวนผลต่อข้อมาก น้ำหนักเมล็ดกาแฟแห้งเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 กรัมต่อ 100 เมล็ด
  -  ต้นกล้าที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 8-12 เดือน หลังเพาะเมล็ด หรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 คู่ หรือมีความสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
-  จดบันทึกพันธุ์ แหล่งที่มาและประวัติของต้นกล้าไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
     1.2 การใส่ปุ๋ย
ให้ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 ผสมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 1:1 แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและกลางฤดูฝน ในขณะที่ต้นกาแฟยังไม่ให้ผลผลิต เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนและพัฒนาการของใบอ่อน เมื่อต้นกาแฟเริ่มให้ผลผลิตให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อกระตุ้นการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของผล อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มเป็นเมตร หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม
ควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินด้วย
ควรมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกจากผล/เยื่อกาแฟ เป็นต้น มาทำเป็นปุ๋ย
เพื่อลดต้นทุนการผลิต
-  ควรมีการจดบันทึกชนิด อัตรา และปริมาณการใส่ปุ๋ยในสวนกาแฟ
     1.3 การตัดแต่งกิ่ง
-  เมื่อสังเกตพบว่ากิ่งล่างเริ่มไม่ให้ผลผลิต หรือผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ต่อต้นเริ่มลดลง  ควรตัดแต่งกิ่งให้เหมาะกับสภาพสวนและทรงพุ่ม
-  หากเป็นต้นกาแฟที่ปลูกในสภาพใต้ร่มเงา ตัดต้นให้เหลือความสูงต้นจากพื้นดินประมาณ 50-75
เซนติเมตร ปล่อยให้แตกกิ่งข้างและเลือกกิ่งข้างที่สมบูรณ์ 1 กิ่ง เพื่อเป็นยอดนำ และพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้ในปีถัดไป ซึ่งจะให้ผลผลิตต่อได้อีก 2-3 ปี จากนั้นจะแตกกิ่งข้างและกิ่งแขนงอีกมากมายเป็นทรงพุ่มใหม่ ซึ่งจะให้ผลผลิตต่อเนื่องได้ประมาณ 5-8 ปี และเมื่อต้นมีการเจริญเติบโตจนมีความสูงประมาณ 170-180 เซนติเมตรจากพื้นดิน ก็ตัดต้นให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 120-150 เซนติเมตร แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับการตัดแต่งครั้งแรก
หากเป็นต้นที่ปลูกในสภาพกลางแจ้ง ตัดต้นให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร ปล่อยให้แตกกิ่งใหม่และเลี้ยงเป็นลำต้นใหม่ที่แข็งแรงประมาณ 2-4 กิ่ง จะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี ขณะเดียวกันก็จะมีกิ่งใหม่แตกขึ้นมาจากลำต้นเดิมอีก ซึ่งสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ ตัดให้เหลือ 3 ลำต้น จากนั้นตัดต้นกาแฟที่เจริญเติบโตจากการตัดแต่งครั้งแรกทิ้งไป เลี้ยงต้นใหม่ 3 ต้นแทน ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี จึงตัดต้นทิ้งให้เหลือตอแล้วปล่อยให้แตกต้นใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยไป
2  การจัดการเพื่อผลิตกาแฟปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
     2.1  การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
เช่น วิธีกล วิธีการเขตกรรม วิธีชีวภาพ รวมทั้งวิธีใช้สารเคมี ทั้งนี้ให้พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด (รายละเอียดชนิดศัตรูพืช ลักษณะการทำลาย วิธีการป้องกันกำจัด ตามตารางที่ 1)
     2.2  การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม  ควรปฏิบัติดังนี้
ห้ามใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ..2535 รายชื่อวัตถุอันตรายห้ามใช้ในการเกษตร และต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาต
ให้เลือกใช้ในชนิด อัตรา และระยะเวลาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
                -   ตรวจสอบเครื่องพ่นสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อป้องกันสารพิษเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่น
                -   สวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และรองเท้า
                -   เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ให้หมดในคราวเดียวไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
-   ควรพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
                -  หยุดใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยวตามเวลาที่ระบุตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
                -   ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ และเก็บในสถานที่เก็บสารเคมีที่มิดชิด และปลอดภัย
-   หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
-   ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดและล้างสารเคมีออกหมดตามคำแนะนำ ต้องไม่นำกลับมาใช้อีกและต้องทำให้ชำรุดเพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก แล้วนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีโดยเฉพาะ หรือทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย
-   จดบันทึกการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง



ตารางที่ 1 : สรุปคำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการผลิตกาแฟ

ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย

ชนิดสารเคมี/อัตรา

เพลี้ยหอยสีเขียว

-ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดและใบหงิกงอ ผิดรูปร่าง  ใบร่วง ต้นชะงักการเจริญเติบโต

หนอนเจาะลำต้นกาแฟ

- หนอนจะกัดกินและชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้ อาจกัดกินเนื้อไม้เป็นทางยาวหรือควั่นเปลือกรอบต้น ตั้งแต่บริเวณโคนต้นขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น

หนอนกาแฟสีแดง

- ตัวหนอนสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง มีลายวงแหวนสีเหลือง ขนสีขาวบนท้อง กัดกินเนื้อเยื่อภายในลำต้น ทำให้ยอดแห้งเหี่ยว ต้นตายตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกหนอนทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาว มีจุดสีดำอยู่เต็มบริเวณปีกคู่หน้า วางไข่บนกิ่งและลำต้นประมาณ 300-500 ฟอง

 







 

มอดเจาะผลกาแฟ

- เป็นแมลงปีกแข็งสีดำขนาด 1 มิลลิเมตร วางไข่ ขยายพันธุ์ และกัดกินอยู่ภายในผลกาแฟตั้งแต่ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5
ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย

- เมื่อสำรวจพบการระบาด พ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร

- เมื่อพบการทำลายพ่นด้วยสารเฟนิโตรไธออน 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร



- รักษาบริเวณสวนให้สะอาดและหมั่นตรวจต้น/กิ่งกาแฟอยู่เสมอ
- หากพบรอยที่หนอนเจาะ ตัดกิ่งที่ถูกทำลายไปเผาเพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป
-  ไม่ควรนำมาปลูกชมพู่ ชบา และลิ้นจี่ในสวนกาแฟหรือบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากเป็นพืชอาศัยของหนอนกาแฟสีแดง
- พ่นบริเวณกิ่งลำต้นทุก 15 วัน หรือพ่นเมื่อพบการทำลายด้วยสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน หรือสารเฟนิโตรไธออน 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทาให้ทั่วลำต้น

- ควรเก็บผลกาแฟสุกหรือแห้งที่ติดอยู่บนต้นหรือร่วงหล่นใต้ทรงพุ่ม นำไปเผาทำลายนอกแปลง
- พ่นด้วยสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 35มิลลิลิตร
ชนิดสารเคมี/อัตรา
มิลลิเมตรจนกระทั่งผลสุก






โรคแอนแทรคโนส

-          ใบเป็นจุดสีน้ำตาลแล้วขยายใหญ่
ขึ้น เนื้อเยื่อกลางแผลตายมีสีน้ำตาลไหม้จุดแผลแต่ละจุดขยายเชื่อมต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้ หรือพบกิ่งสีเขียวมีอาการไหม้ กิ่งเหี่ยวแห้ง ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ตาดอกเหี่ยว อาจทำลายทั้งผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาล แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบ ผลกาแฟหยุดการเจริญเติบโตและเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลยังคงแห้งติดอยู่บนกิ่ง



โรคราสนิม

-          มักเกิดในอาราบิก้าทั้งใบอ่อนและ
ใบแก่ ทั้งระยะต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบจุดสีเหลืองขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และขยายขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ มีผงสีส้มบนแผล ใบร่วง และกิ่งแห้ง

ต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 28 วัน  พ่นทุก 15 วันตั้งแต่ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตรจนถึงผลสุก หรือพ่นเมื่อพบการระบาด



- ตัดแต่งกิ่งและเก็บผลที่เป็นโรคเผาทำลาย
- บำรุงต้นให้แข็งแรงโดยการให้น้ำและปุ๋ย เพื่อป้องกันการทำลายของเชื้อ
-พ่นด้วยสารแมนโคเซบ 80% ดับลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน เมื่อพบอาการของโรคในระยะการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขาและระยะติดผล หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% ดับลิวพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-14 วันในระยะ แตกใบอ่อน ก่อนดอกบาน และระยะติดผลอ่อน



ควรใช้พันธุ์อาราบิก้าที่ต้านทานโรค เมื่อพบอาการโรค พ่นด้วยสารบอร์โดมิกซ์เจอร์ 0.5% หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย
ชนิดสารเคมี/อัตรา

โรคเน่าดำ

- ใบจะเน่ามีสีดำ จากนั้นอาการจะลุกลามไปยังกิ่งและผลที่กำลังเจริญเติบโต ใบกาแฟจะแห้งตายและมีเส้นใยของเชื้อรายึดใบให้ติดอยู่กับกิ่งทำให้ใบไม่ร่วง หากเกิดกับผลทำให้ผลเปลี่ยนเป็นสีดำและหลุดร่วง

โรคเน่าแห้ง

- ต้นกาแฟมีใบเหลืองและเหี่ยว ใบหลุดร่วง กิ่งแห้งตาย รากเน่าและแห้งตาย เมื่อปากรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ในดิน จะพบเนื้อเยื่อเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเทา


เมื่อพบอาการของโรค ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% ดับลิวพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน



เมื่อพบอาการของโรค ถอนหรือขุดต้นกาแฟที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อทำลายแหล่งเพาะเชื้อ

3 การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารออคราทอกซิน เอ
     3.1  วิธีการเก็บเกี่ยว
                -   เก็บเกี่ยวผลกาแฟเมื่อผลมีสีแดง หรือสีเหลือง หรือสีส้มแดง(แล้วแต่พันธุ์) มากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของพื้นที่ผิวทั้งผล หรือเมื่อทดลองใช้นิ้วบีบผลกาแฟที่เปลือกเปลี่ยนสีแล้ว ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา เก็บเกี่ยวโดยใช้มือปลิดผลกาแฟที่สุกพอดีด้วยความระมัดระวัง             ในกรณีที่เก็บเกี่ยวทั้งช่อจำนวนผลที่สุกแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของจำนวนผลในช่อ
                -  รวบรวมผลิตผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วใส่ภาชนะที่สะอาด แล้วขนย้ายไปยังโรงเรือนภายในแปลง หรือในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเททันที
     3.2  การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
                - เทผลกาแฟลงในภาชนะที่สะอาดและใส่น้ำสะอาดลงไปเพื่อใช้ในการคัดเลือกผลกาแฟ คัดผลกาแฟที่ลอยน้ำทิ้งไป เนื่องจากเป็นผลที่ฝ่อ หรือผลที่ถูกทำลายด้วยมอดเจาะผลกาแฟ ผลที่จมน้ำจะเป็นผลที่มีเมล็ดสมบูรณ์
                - ในกรณีที่ต้องการผลิตสารกาแฟโดยวิธีแห้ง นำผลกาแฟที่จมน้ำมาตากบนลานตาก ที่สะอาดเกลี่ยกองผลกาแฟให้มีความหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร และพลิกกลับกองผลกาแฟ 2-4 ครั้งต่อวันในช่วง 1-10 วันแรกของการตาก ในตอนเย็นควรเก็บผลมากองรวมกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกันน้ำค้าง ตากจนผลกาแฟแห้ง เมล็ดมีความชื้นไม่เกิน 13% และไม่มีเศษหิน เศษดินและวัสดุอื่นคละปน
                - ในกรณีต้องการผลิตสารกาแฟโดยวิธีเปียก นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวและผ่านการคัดแยกแล้วมาปอกเปลือกนอกทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกับมิให้สารกาแฟเสียรสชาติไป โดยใช้เครื่องปอกเปลือกและใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน จากนั้นนำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกแล้วไปขจัดเมือกออกโดยวิธี
·       หมักตามธรรมชาติ  นำเมล็ดกาแฟในบ่อซีเมนต์ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร ที่มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟลงไปประมาณ 3 ใน 4 ของบ่อ ใส่น้ำให้ท่วมเมล็ดกาแฟ แล้วปิดปากบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติก ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง ล้างเมล็ดกาแฟให้สะอาด นำมาขัดอีกครั้งในตะกร้าตาถี่ที่มีปากกว้างและก้นไม่ลึกมาก เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดกาแฟลื่นไหล จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปตากให้แห้ง
·       การใช้ด่าง  นำเมล็ดกาแฟ 250-300 กิโลกรัม แช่สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10%(โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร) ในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ เกลี่ยเมล็ดให้เสมอกัน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วใช้ไม้พายกวนเมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายทั่วทั้งบ่อนานประมาณ 30-60 นาที ตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมดหรือยัง หากยังไม่หมดกวนต่อไปอีกประมาณ 30 นาที               แล้วตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกำจัดเมือกออกหมดแล้ว นำเมล็ดกาแฟไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ครั้ง             แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง หรือ
·       การใช้แรงเสียดทาน  เป็นการปอกเปลือกนอกและกำจัดเมือกของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกันโดยใช้เครื่องปอกเปลือก Aquapulper ซึ่งสะดวกกว่า 2 วิธีแรกแต่อาจทำให้เกิดแผลบนเมล็ดกาแฟ ดังนั้นควรคัดผลกาแฟที่มีขนาดใกล้เคียงกันก่อนนำมาใช้เครื่องปอกเปลือกนี้
นำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือก กำจัดเมือก และล้างให้สะอาด มาตากบนลานตากที่สะอาด เกลี่ยเมล็ดกาแฟให้กระจายสม่ำเสมอให้มีความหนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร และพลิกกลับกองเมล็ดกาแฟ 2-4 ครั้งต่อวัน ตากนานประมาณ 7-10 วันจนเมล็ดกาแฟแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 13%
ตรวจสอบความชื้นของผลหรือเมล็ดกาแฟ โดยกำผลกาแฟแล้วเขย่าจะเกิดเสียงดัง หรือเมื่อเมล็ดแตกเมื่อใช้ค้อนทุบ
บรรจุผลกาแฟ หรือเมล็ดกาแฟ แห้งในกระสอบป่านที่ใหม่ สะอาด แล้วเก็บรักษาใน โรงเก็บที่สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือขนส่งไปยังแหล่งรวบรวมหรือผู้รับซื้อทันที
-  ผลที่แห้งแล้วมีความไวต่อการดูดกลิ่นได้ดีและเก็บได้ไม่นาน จึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีหลังตากแห้งด้วยเครื่องสีเปลือกกาแฟ จะได้ส่วนของเมล็ดกาแฟแห้ง(สารกาแฟ)
     3.3   การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟแห้ง
- ควรเก็บในกระสอบป่านที่สะอาด ใหม่ ไม่อับชื้น ไม่มีกลิ่นเหม็น
- โรงเก็บควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเก็บไม่ควรเกิน 60 % วางกระสอบกาแฟบนชั้นวางที่มีความสูง 15เซนติเมตรห่างจากฝาผนัง และหลังคาประมาณ 50 และ 100 เซนติเมตร ตามลำดับ
- คุณภาพเมล็ดกาแฟเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และระยะเวลาในการเก็บ
     3 4  สารออคราทอกซิน ชนิดเอ ( Ochratoxin A )
กาแฟจัดเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนของสารพิษสารออคราทอกซิน ชนิดเอ ซึ่งเป็นสารพิษที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus ochraceus  มีความเป็นพิษทำอันตรายต่อระบบประสาท ตับ และไต
หน่วยงานต่างๆ เช่น FAO , WTO , CODEX ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งองค์การค้าโลก (WTO ) ได้กำหนดค่าปริมาณสารออคราทอกซิน ชนิดเอ ที่ยอมให้มีได้ในเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์ไว้ที่ 5 และ 3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
-  สารออคราทอกซิน ชนิดเอ เกิดขึ้นได้ในระหว่างการผลิต โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้น ตั้งแต่ระยะเก็บเกี่ยวผลกาแฟ ระยะการตากแห้งผลกาแฟ และระยะเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ เมื่อนำเมล็ดกาแฟไปผ่านการแปรรูปแล้ว สารพิษเหล่านี้ก็อาจยังปนเปื้อนอยู่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงช่วยป้องกันการเกิดสารออคราทอกซิน
     3.5. การควบคุมการคละปนของผลิตผลด้อยคุณภาพ
                - ตรวจสอบผลิตผลที่เก็บเกี่ยวและที่ผ่านการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวแล้วว่าไม่มีเศษหิน เศษดิน และวัสดุอื่นๆ คละเจือปน
                - เรียงหรือเก็บภาชนะบรรจุที่ผ่านการตรวจสอบการคละปนแล้ว ให้เป็นหมวดหมู่ และเป็นระเบียบ รอการขนส่ง
     3.6  การจดบันทึก
                -  ควรจดบันทึกรายละเอียดการเก็บเกี่ยวผลกาแฟและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในแปลงแต่ละครั้ง ได้แก่ วัน เดือน ปีที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก(ผลกาแฟที่มีผิวเปลี่ยนสีแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของพื้นที่ผิวทั้งหมด และผ่านการคัดเลือกโดยวิธีลอยน้ำสะอาดแล้ว) วัน เดือน ปี ที่ผลิตสารกาแฟโดยวิธีเปียก ปริมาณผลกาแฟหรือเมล็ดกาแฟที่ตาก ขนาดพื้นที่ลานตาก วัสดุ                    ทำพื้นที่ลานตาก วันเวลาที่เริ่มตากและตากเสร็จ วันเวลากลับกองผลหรือเมล็ดกาแฟ รวมทั้งสภาพภูมิอากาศในขณะตากผลหรือเมล็ดกาแฟ




วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 หมายถึงวัตถุอันตรายที่ห้ามนำเข้า ห้ามผลิต ห้ามส่งออก ห้ามใช้และห้ามมีไว้
ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535  มี 94 ชนิด
ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
1
คลอร์ไดมีฟอร์ม
กำจัดแมลง
เมษายน
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง

(chlordimeform)
(Insecticide)
2520

2
เลปโตฟอส
กำจัดแมลง
เมษายน
บริษัทขอถอนผลิตภัณฑ์จากตลาด 

(leptophos)
(Insecticide)
2520
เนื่องจากผลการทดลอง มีแนวโน้มว่า




จะเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
3
บีเอชซี
กำจัดแมลง
มีนาคม
มีฤทธิ์ตกค้างนานมาก  เป็นสารที่อาจ

(BHC)
(Insecticide)
2523
ก่อให้เกิดมะเร็ง
4
โซเดียม อาร์ซีไนต์
กำจัดแมลง
มกราคม
ทำให้เกิดพิษสะสมในดินได้นาน  เป็น

(sodium arsenite)
(Insecticide)
2524
อันตรายต่อมนุษย์  โดยเป็นสารที่ทำให้




ทารกในครรภ์พิการหากได้รับสาร
5
เอ็นดริน
กำจัดแมลง
กรกฎาคม
มีฤทธิ์ตกค้างนาน  เสี่ยงภัยในการใช้

(endrin)
(Insecticide)
2524
และการบริโภค มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ใน




เมล็ดพืชที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ 




ทำให้ถูกห้ามนำเข้าผลิตผลการเกษตร




สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ศัตรูที่ต้องการกำจัด มี




โอกาสได้รับอันตรายมาก เป็นพิษต่อ




ปลาสูงมาก
6
ดีดีที
กำจัดแมลง
มีนาคม
เป็นสารที่มีแนวโน้มทำให้สัตว์ทดลอง

(DDT)
(Insecticide)
2526
เกิดเป็นมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้างนาน
7
ท๊อกซาฟีน
กำจัดแมลง
มีนาคม
เป็นสารที่มีแนวโน้มทำให้สัตว์ทดลอง


(Insecticide)
2526
เกิดเป็นมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้างนาน
8
2,4,5-ที
กำจัดวัชพืช
กันยายน
เป็นสารที่ใช้แล้วมีพิษตกค้างนาน

(2,4,5-T)
(Herbicide)
2526
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และอาจ




ทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติ





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
9
ทีอีพีพี
(TEPP)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน 2527
มีค่าความเป็นพิษต่ำมาก มีความเสี่ยงภัยต่อผู้ใช้สูง
10
อีดีบี
(EDB)
สารใช้รม(Fumigant)
กรกฎาคม2529
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเป็นสารที่อาจทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ
11
โซเดียมคลอเรท(Sodium chlorate)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
ตุลาคม
2529
เป็น strong oxidant ติดไฟง่าย เสี่ยงภัยในการเก็บรักษา และอาจระเบิดได้
12
ไดโนเส็บ
(Dinoseb)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
พฤศจิกายน2529
เป็นสารที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน(teratogenic effect) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสารที่อาจมีผลในการก่อให้เกิดมะเร็ง(carcinogenic effect) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
13
แคปตาโฟล
(Captafol)
สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide)
เมษายน2530
เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
14
ฟลูออโรอะเซทตาไมด์(fluoroacetamide)
สารกำจัดหนู(Rodenticide)
กรกฎาคม2530
มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องมีความเสี่ยงภัยจากการใช้มาก
15
ฟลูออโรอะซีเตทโซเดียม(fluoroacetateSodium)
สารกำจัดหนู(Rodenticide)
กรกฎาคม
2530
มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องมีความเสี่ยงภัยจากการใช้มาก
16
ไซเฮกซาติน(Cyhexatin)
สารกำจัดไร(Acaricide)
พฤษภาคม
2531
เป็นสารที่มีโลหะหนัก (ดีบุก) เป็นองค์ประกอบ สลายตัวได้ยากในสิ่งแวดล้อม
17
พาราไธออน(Parathion)
กำจัดแมลง(Insecticide)
พฤษภาคม
2531
มีพิษเฉียบพลันต่อมนุษย์สูงมาก โดยเฉพาะการซึมเข้าทางผิวหนัง ผู้ใช้เสี่ยงภัยสูง





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
18
ดีลดริน
(Dieldrin)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กำจัดแมลง(Insecticide)
เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมในสิ่งแวดล้อมในร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ ไม่มีการพิสูจน์ในเรื่องพิษเรื้อรังอย่างเด่นชัด เสี่ยงในการใช้มากกว่าสารตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันเนื่องจากมีค่าความเป็นพิษต่ำกว่าสารชนิดอื่น
19
ออลดริน
(aldrin)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2531
เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายมนุษย์และสัตว์
20
เฮปตาคลอร์(heptachlor)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2531
เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายมนุษย์และสัตว์
21
ดามิโนไซด์(daminozide)
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Regulater)
เมษายน
2532
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
22
ไบนาพาคริน(binapacryl)
สารกำจัดไร(Acaricide)
กุมภาพันธ์
2534
เป็นสารที่มีผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์และเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
23
เพนตะคลอร์โรฟีนอล(pentachloro phenol)
สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide)
สิงหาคม
2536
เป็นสารที่มีพิษสูง ทำอันตรายต่อผิวหนังดูดซึมเข้าร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้รวดเร็ว สลายตัวได้ยาก มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
24
เพนตะคลอร์โรฟีนอลโซเดียม
(pentachloro phenol sodium)
สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide)
สิงหาคม
2536
เป็นสารที่มีพิษสูง ทำอันตรายต่อผิวหนังดูดซึมเข้าร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้รวดเร็วสลายตัวได้ยาก มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม




ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
25
สารประกอบเมอร์คิวรี่(ปรอท)
(Mercury  compounds)
กำจัดแมลง(Insecticide)
สิงหาคม
2536
เป็นสารที่มีพิษสูงสลายตัวยากมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมนานเป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำ
26
เอทธีลีน  ไดคลอไรด์(ethylene dichloride)
สารใช้รม(Fumigant)
กันยายน
2537
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
27
อะมิโนคาร์บ(aminocarb)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
28
โบรโมฟอส(bromophos)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
29
โบรโมฟอส เอทธิล(bromophos-ethyl)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
30
ดีมีตอน
(demeton)
กำจัดแมลง(Insecticide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
31
เฟนทิน
(fentin)
สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
32
ไนโทรเฟน
(nitrofen)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
กันยายน
2537
มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้
33
อะราไมท์
(aramite)
สารกำจัดไร
(Acaricide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และปัจจุบันไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย
34
คลอร์เดน
(chlordane)
กำจัดแมลง(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้าง   เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้าง มีหลายประเทศห้ามใช้หรือจำกัดการใช้ และมีสารอื่นใช้ทดแทนได้
35
คลอร์ดีโซน(chlordecone)
กำจัดแมลง(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
36
คลอร์โรฟีนอลส์(chlorophenols)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
37
2,4,5-ทีพี
(2,4,5-TP)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
38
ฟีโนไธออล
(phenothiol)
กำจัดวัชพืช(Herbicide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
39
เอ็มซีพีบี
(MCPB)
กำจัดวัชพืช
(Herbicide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
40
มีโคพรอพ
(mecoprop)
กำจัดวัชพืช
(Herbicide)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
41
ดีบีซีพี
(DBCP)
สารใช้รม
(Fumigant)
พฤษภาคม
2543
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ
42
โมโนโครโตฟอส
(monocrotophos)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง พบพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตรในปริมาณสูงเกินค่าปลอดภัย
43
อะซินฟอส เอทธิล(azinphos ethyl)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง
44
เมวินฟอส
(mevinphos)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง
45
ฟอสฟามิดอน(phosphamidon)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
พฤษภาคม
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง
46
อะซินฟอส เมทธิล(azinphos methyl)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
47
แคลเซี่ยม อาร์ซีเนท(calcium arsenate)
กำจัดแมลง(Insecticide)และกำจัดวัชพืช(Herbicide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
48
คลอร์ไธโอฟอส(chlorthiophos)
กำจัดแมลง,ไร(Insecticide,
Acaricide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
49
ไซโคลเฮ็กซิไมด์(cycloheximide)
สารป้องกันกำจัดโรคพืช
(Fungicide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
50
ดีมีฟิออน
(demephion)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
51
ไดมีฟอกซ์
(dimefox)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
52
ไดโนเธิร์บ
(dinoterb)
สารกำจัด
วัชพืช(Herbicide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
53
ไดซัลโฟตอน
(disulfoton)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
54
ดีเอ็มโอซี
(DNOC)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
55
เฟนซัลโฟไธออน
(fensulfothion)
สารกำจัดไส้เดือนฝอย
(Nematicide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
56
โฟโนฟอส
(fonofos)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
57
มีฟอสโฟแลน(mephosfolan)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
58
พารีส กรีน
(paris green)
กำจัดแมลง(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
59
ฟอเรท
(phorate)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
60
โปรโธเอท
(prothoate)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
61
สะคราแดน
(schradan)
กำจัดแมลง,ไร
(Insecticide,
Acaricide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
62
ซัลโฟเทป
(sulfotep)
กำจัดแมลง,ไร
(Insecticide,
Acaricide)
มิถุนายน
2543
มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้
63
อะมิโทรล
(amitrole)
กำจัดวัชพืช
(Herbicide)
ธันวาคม
2544
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
64
เบต้า-เอชซีเอช
(beta- HCH)
กำจัดแมลง(Insecticide)
ธันวาคม
2544
 มีผลในด้านพิษเรื้อรังต่อตับ ต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนผิดปกติ ทำให้เกิดเนื้องอกมีความคงทนในสภาพแวดล้อม
65
แค็ดเมียมและสารประกอบแค็ดเมียม(cadmium and cadmium compounds)
ป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide)
ธันวาคม
2544
มีผลในการทำลายไตอาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์
66
คาร์บอน เตตระคลอไรด์(carbon tetrachloride)
ใช้รม(Fumigant)
ธันวาคม
2544
มีพิษเฉียบพลันสูงเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ
67
คลอโรเบนซิเลท(chlorobenzilate)
กำจัดไร(Acaricide)
ธันวาคม
2544
เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
68
ค๊อปเปอร์ อาร์ซีเนทไฮดร๊อกไซด์(copper arsenate hydroxide)
กำจัดแมลง(Insecticide)และป้องกันกำจัดโรคพืช(Fugicide)
ธันวาคม
2544
มีพิษเฉียบพลันสูงมีพิษเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
69
เอทธิล เฮกไซลีน
ไกลคอล
(ethyl hexyleneglycol)
กำจัดแมลง(Insecticide)
ธันวาคม
2544
อาจก่อให้เกิดการแท้ง หรือมีผลต่อทารก
70
เอทธิลีน ออกไซด์(ethylene oxide)
ไล่แมลง(Repellent)
ธันวาคม
2544
มีผลในด้านพิษเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ หรืออาจเกิดมะเร็ง
71
เฮ็กซะคลอโรเบนซีน(hexachlorobenzene)
ป้องกันกำจัดโรคพืช(Fugicide)
ธันวาคม
2544
มีความคงทนในสภาพแวดล้อมเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
72
ลีด อาร์ซีเนท
(lead asenate)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
ธันวาคม
2544
มีพิษเฉียบพลันสูง มีพิษเรื้อรัง อาจทำให้เกิดเนื้องอก ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
73
ลินเดน
(lindane)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
ธันวาคม
2544
มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
74
เอ็มจีเค รีเพลเล็นต์-11(MGK  repellent-11)
ไล่แมลง(Repellent)
ธันวาคม
2544
มีผลในด้านพิษเรื้อรัง ทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ อาจก่อให้เกิดเนื้องอก หรือมะเร็ง
75
ไมเร็กซ์
(mirex)
กำจัดแมลง(Insecticide)
ธันวาคม
2544
มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
76
ไพรินูรอน (พิริมินิล) (pyrinuron) (pyrimini)
กำจัดหนู(Rodenticide)
ธันวาคม
2544
มีพิษเฉียบพลันสูงอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน
77
แซฟโรล
(safrole)
ขับไล่สัตว์เลี้ยงในบ้าน
ธันวาคม
2544
เป็นสารอาจก่อมะเร็ง
78
สโตรเบน (โพลีคลอโรเทอร์พีนส์)
(strobane)
(polychloroterpene)
กำจัดแมลง(Insecticide)
ธันวาคม
2544
มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
79
ทีดีอี หรือ ดีดีดี
TDE or DDD
กำจัดแมลง(Insecticide)
ธันวาคม
2544
มีความคงทนในสภาพแวดล้อมเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็งสะสมได้ในไขมันมีผลต่อระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกนกและปลา
80
แธลเลียม ซัลเฟต(thallium sulfate)
กำจัดหนู(Rodenticide)
ธันวาคม
2544
มีพิษเฉียบพลันสูงมีความคงทนในสภาพแวดล้อมมีพิษสะสมมีผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย เป็นอันตรายต่อสัตว์ที่มิใช่เป้าหมาย



ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
81
แอสเบสทอล อะโมไซท์(asbestos-amosite)
_
ธันวาคม
2544
_
82
เบนซิดิน
(benzidine)
_
ธันวาคม
2544
_
83
บิส คลอร์โรเททธิลอีเธอร์(bis(chloromethyl)ether)
_
ธันวาคม
2544
_
84
4-อะมิโนไดฟีนิล
(4-aminodiphenyl)
_
ธันวาคม
2544
_
85
ฟอสฟอรัส  (phosphorus)
_
ธันวาคม
2544
_
86
โพลีบรอมมิเนต ไบเฟนิล(polybrominated
diphenyls,PBBs)
_
ธันวาคม
2544
_
87
โพลีคลอร์ริเนต ไตรเฟนิล(polychlorinated
triphenyls,PCTs)
_
ธันวาคม
2544
_
88
2,4,5-ทีซีพี
(2,4,5-trichlorophenol)
_
ธันวาคม
2544
_
89
ไตร 2-3 ไดโบรโมโปรพิลฟอสเฟต
(tri(2,3-dibromopropyl)
phosphate)
_
ธันวาคม
2544
_
90
ไวนิลคลอร์ไรด์โมโนเมอร์(vinyy chloidemonomer)
_
ธันวาคม
2544
_
91
0- ไดคลอร์โรเบนซิน
(0-dichlorobenzene)
_
ธันวาคม
2544
_
92
แนฟธิลอะมีน
(napphylamine)
_
ธันวาคม
2544
_





ลำดับที่
ชื่อวัตถุอันตราย
ประเภทการใช้
เดือนปีที่ห้าม
เหตุผล
93
4-ไนโตรไดเฟนิล
(4-nitrodiphenyl)
_
ธันวาคม
2544
_
94
เมทธามิโดฟอส(Methamidophos)
กำจัดแมลง
(Insecticide)
เมษายน
2546
มีพิษเฉียบพลันสูง






ที่มา  : กรมวิชาการเกษตร



                      วัตถุอันตราย 94 ชนิดนี้ ที่ใช้ในการเกษตรจริงๆ เพียง 81 ชนิด
                    * ลำดับที่ 81-93 เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม และอื่นๆ(13 ชนิด


Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee