เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาแฟ ใครคือผู้คุมชะตาการผลิตกาแฟของโลก

เมื่อพูดถึงประเทศผู้ผลิตกาแฟคนไทยส่วนใหญ่มักจะคิดถึงประเทศบราซิล หรืออินโดนีเซีย น้อยคนที่จะคิดถึงประเทศเวียดนามเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา ทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันกาแฟจัดเป็นสินค้าอันดับสองที่ทำรายได้สูงสุดในโลกรองมาจากอุตสาหกรรมปิโตรเลี่ยม

ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่ผลิตกาแฟทุกชนิดส่งออกในตลาดโลกเป็นอันดับสองรองจากประเทศ บราซิล กาแฟถูกนำมาปลูกในเวียดนามกว่า 100 ปีมาแล้ว และเป็นพืชหลักที่ส่งออกมาตั้งแต่ก่อนสงครามเวียดนาม โดยชาวฝรั่งเศสได้นำเข้ามาปลูกแถบบริเวณที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1857 จนปี ค.ศ.1910-1911  จึงได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น จนถึง ปี ค.ศ.1975 หรือ พ.ศ. 2518 เวียดนามมี  พื้นที่เพาะปลูกกาแฟทั้งประเทศรวมประมาณ 20,000 เฮ็กตาร์ หรือ 125,000 ไร่ ผลผลิตที่ได้เป็นเมล็ดกาแฟสด ประมาณ 5,000 - 7,000 ตัน จวบจนปัจจุบันประเทศเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟรวมทั้งสิ้นประมาณ 500,000 เฮ็กตาร์ หรือ 3,125,000 ไร่ โดยพันธุ์หลักที่ปลูกคือพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งให้ผลผลิตรวมทั้งสิ้นมากกว่า 700,000 ตัน ต่อปี จนทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเป็นอันดับหนึ่งของโลก อาจกล่าวได้ว่าในระยะเวลาเพียงแค่ 30 ปี พื้นที่เพาะปลูกกาแฟของเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 25 เท่า

เวียดนามผู้กุมชะตากาแฟโลก


ศักดา  ศรีนิเวศน์
sakdasi@doae.go.th

และผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 100 เท่า กาแฟจึงเป็นพืชทองที่สร้างฐานะให้เกษตรกรเวียดนามร่ำรวยอย่างรวดเร็ว กาแฟพันธุ์โรบัสต้าเป็นกาแฟพันธุ์ที่ปลูกดูแลรักษาง่ายและให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อะราบิก้า มีคาเฟอีนสูงกว่าพันธุ์อะราบิก้าถึงสองเท่า รสชาดเข้มนิยมทำเป็นกาแฟเอสเปสโซ่ กาแฟผงสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และขนมหวานต่าง ๆ ส่วนกาแฟพันธุ์อะราบิก้าจะมีรสชาดนุ่มดี
กว่า นิยมดื่มในรูปของกาแฟสด กาแฟที่บริโภคในโลกมาจากกาแฟสองพันธุ์เท่านั้น คือร้อยละ 65 เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และร้อยละ 35 เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามพยายามที่จะส่งเสริมให้ปลูกกาแฟพันธุ์อะราบีก้าให้มากขึ้นตามความเหมาะสมของพื้นที่ ทั้งนี้เพราะราคาสูงกว่าพันธุ์โรบัสต้า

ต้นกาแฟเวียดนาม 1



ทำไมประเทศเวียดนามจึงประสบผลสำเร็จในการปลูกกาแฟ 

เหตุผลสนับสนุนมีด้วยกันหลายประการ คือ
1. มีภูมิอากาศที่เหมาะสม และดินที่ปลูกอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 กาแฟได้รับการ    ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกอย่างจริงจังในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันตก ตอนกลางของประเทศ บริเวณจังหวัด ดัคลัค (Dak Lak)ไคไล (Gia Lai) คอนตุม (KonTum) และลามดอง (Lam Dong) และบางจังหวัดในภาคใต้เช่น จังหวัดดองไน (Dong Nai) บาเรีย หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tau) เบิ่นเฟื๊อก (Binh Phuoc) และจังหวัดอื่น ๆ รวมถึงจังหวัดชายฝั่งทะเลตอนกลางของประเทศด้วย ซึ่งดินมีลักษณะเป็นดินลูกรังสีแดง (basaltic red soil) ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงและดินชั้นบนมีความหนามาก กาแฟพันธุ์โรบัสต้าจึงเจริญงอกงามได้ดี

ต้นกาแฟเวียดนาม 2

และภูมิอากาศเป็นลักษณะอากาศร้อนมีความชื้นสูง โดยพื้นที่จะตรงกับประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดหวัดราชบุรีลงไปทางภาคใต้ และมีฤดูเพียง 2 ฤดู เช่นภาคใต้ของประเทศไทย คือฤดูแล้งกับฤดูฝน ฤดูแล้งมีระยะเวลานาน 4-5 เดือน หรือบางปีอาจยาวนานถึง 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งตรงกับช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลกาแฟพอดีไปจนถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่กาแฟเริ่มออกดอกใหม่ การเก็บเกี่ยวผลกาแฟในช่วงฤดูร้อนนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกร เพราะมีแสงแดดดีเหมาะแก่การตากเมล็ดกาแฟ ทำให้เมล็ดกาแฟแห้งเร็ว มีความเสียหายจากการเน่าหรือถูกเชื้อราทำลายน้อย เกษตรกรจึงได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบเมล็ดกาแฟ แต่ในขณะเดียวกันการแล้งที่ยาวนานนี้ก็มีผลกระทบต่อกการออกดอกและการติดผลของเมล็ดกาแฟเช่นกัน ซึ่งเป็นผลที่ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณไม่ค่อยสูงนัก แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเกษตรกรเวียดนามสามารถนำเอาระบบการให้น้ำมาใช้กับสวนกาแฟเพื่อแก้ปัญหาน้ำไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้งได้ และก็สามารถที่จะควบคุมการออกดอกและติดผลของกาแฟให้ได้ตามที่เกษตรกรต้องการอีกด้วย

ปัจจุบันด้วยการดูแลที่ดีและให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอทำให้เกษตรกรเวียดนามได้ผลผลิตเมล็ดกาแฟ 3,000 – 4,000 กิโลกรัม หรืออาจถึง 5,000 กิโลกรัมต่อเฮ็กตาร์(480-800 กิโลกรัม/ไร่) ในบางพื้นที่ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าภูมิอากาศบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันตกของประเทศเวียดนาม ที่ปลูกกาแฟมีลักษณะเป็นเนินหุบเขา อยู่เขตร้อนชื้น ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-700 เมตร ความแตกต่างของอุณภูมิระหว่างช่วงเวลากลางวันและกลางคืนมาก ซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตของเมล็ดกาแฟที่ได้มีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ จนได้รับการเรียกขานกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่มีคุณภาพดีว่า “Buon Me Thuot” ซึ่งหมายถึงชื่อเมืองที่ผลิตกาแฟที่มีรสชาดดีที่สุดในที่ราบสูงภาคตะวันตกของประเทศเช่นเดียวกับกาแฟม๊อกคา ซึ่งมาจากชื่อเมืองท่า Mocca Port ของ Pink Sea

นอกเหนือไปจากการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าในภาคใต้ รัฐบาลเวียดนามได้ส่งเสริมอย่างเต็มที่ให้เกษตรกรปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิก้าในตอนเหนือของประเทศด้วย ต้องยอมรับว่าประเทศเวียดนามมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกกาแฟมาก โดยในภาคใต้มีสองฤดูคือ ฤดูแล้ง และฝน เหมาะสำหรับการเพาะปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ส่วนในภาคเหนือมีภูมิอากาศ 3 แบบคือ เย็น หนาวเย็น และฝน ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิก้า



ต้นกาแฟเวียดนาม 3

2. นโยบายการส่งเสริมการปลูกกาแฟของรัฐบาลเวียดนามซึ่งดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการตลาด การให้เกษตรกรมีสิทธิในพื้นที่ที่เพาะปลูกกาแฟ การสนับสนุนเงินทุนกู้ยืมเพื่อการเพาะปลูกได้ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างชัดเจน มีการจัดการการใช้ที่ดิน (Zoning)ให้ถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูกของพืชแต่ละชนิด การส่งเสริมอนุรักษ์ป่าไม้อย่างจริงจัง การส่งเสริมการมีที่อยู่อาศัย มีที่ทำกิน ลดปัญหาความยากจนและความอดอยากของคนในประเทศ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ผลิตและค้าขายในเวียดนาม ตัวอย่างเช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ของประเทศไทยที่ไปลงทุนในเวียดนาม และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในขณะนี้

ปัจจุบันมีกลุ่มธุรกิจกาแฟใหญ่ ๆ ในเวียดนามอยู่ 3 กลุ่ม คือ ED&FMan, Newman Group และ O Lam ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการด้วยทุนของกลุ่มเอง โดยที่รัฐบาลเวียดนามเพียงแต่อำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้เท่านั้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจกาแฟของประเทศเวียดนามพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้แปรรูปกาแฟที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่นบริษัทคาร์ฟ (Kraft Foods Company) มาลงทุนและแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเมล็ดกาแฟส่งออกขายทั่วโลก

3. การเติบโตของตลาดกาแฟโลก ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2537 - พ.ศ.2541 กาแฟมีราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกกันมาก พื้นที่การเพาะปลูกกาแฟของเวียดนามขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 125,000 - 187,500 ไร่ ภาพฉายที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ในฤดูการเพาะหลูก 2538/2539 มีผลผลิตกาแฟรวมทั้งสิ้นประมาณ 400,000 ตัน และฤดูการเพาะปลูก 2542/2543 ผลผลิตกาแฟเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า คือประมาณ 700,000 ตัน ซึ่งการที่ราคาของกาแฟสูงขึ้นมีผลทำให้เกษตรกรหันมานิยมปลูกกาแฟกันมากจนเกินแผนพัฒนาการผลิตกาแฟที่รัฐบาลวางไว้อย่างไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ราคากาแฟในตลาดโลกตกต่ำและรัฐบาลเวียดนามได้รับการตำหนิจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตกาแฟว่า เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์นี้ทั่วโลก

ปัญหาที่รัฐบาลเวียดนามต้องดำเนินการแก้ไข

ด้วยปัญหาการผลิตที่มีมากเกินไปจนก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น

1. การไม่มีความสมดุลย์ระหว่างปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้กับการแปรรูป ผลอันเนื่องมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกกาแฟอย่างรวดเร็ว ผลผลิตที่ได้ออกมาพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้ประสบปัญหาในเรื่องมีพื้นที่ลานตากเมล็ดกาแฟไม่เพียงพอ การแปรรูป เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักร ไม่สามารถสนองต่อความต้องการของขบวนการผลิตได้ดี ทำให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพไม่ดีพอ หรือไม่ตรงตามความต้องการของตลาด

2. ขบวนการผลิตที่ยังไม่สมดุลย์ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว พื้นที่ทางภาคเหนือของเวียดนามยังสามารถที่จะขยายการเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อะราปิก้าที่มีคุณภาพดี และราคาสูงเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าพันธุ์โรบัสต้าได้อีกเป็นอันมาก ซึ่งการที่เวียดนามผลิตกาแฟโรบัสต้าในปี พ.ศ.2543 ได้ถึง 700,000 ตัน เป็นผลกระทบทำให้ราคาของกาแฟโรบัสต้าในตลาดโลกมีความตกต่ำมากเนื่องจากกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเป็นพันธุ์ที่ปลูกมากในสองประเทศคือบราซิล และเวียดนาม ราคาจึงอ่อนไหวง่ายกว่ากาแฟพันธุ์อะราปีก้า ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะส่งเสริมการเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อะราบิก้าให้มากขึ้น เพื่อยกระดับให้อยู่ในตลาดที่สูงขึ้น

3. ความไม่สมดุลย์ของการผลิตและการกระจายสินค้าในตลาด ผลผลิตกาแฟของประเทศเวียดนามส่งออกขายไปยังประเทศต่าง ๆ กว่า 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดใหญ่ของโลกคือสหรัฐอเมริกา เยอรมันนี และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดีผลผลิตกาแฟในแต่ละปีที่ผลิตได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 60 กิโลกรัม) จำเป็นต้องกระจายหรือส่งให้ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้าได้บริโภคกาแฟที่ใหม่สดมีคุณภาพ และรสชาดดีที่สุด

ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมกาแฟ

แม้ว่ากลไกการตลาดจะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งในการควบคุมการเพาะปลูกกาแฟ รัฐบาลเวียดนามเองก็พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในขบวนการผลิตเพื่อให้เกษตรกรและผู้แปรรูปผลผลิตสามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะตกต่ำ สิ่งที่จะต้องดำเนินการคือ

ผลกาแฟเวียดนาม

1. การปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำคือ คุณภาพของผลผลิตจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามที่ตลาดต้องการ ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมกาแฟ ซึ่งการสร้างมาตรฐานต่าง ๆในขบวนการผลิตกาแฟในเวียดนาม เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ.2526 และมีผลบังคับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ.2530 มาตรฐานดังกล่าวเช่น มาตรฐานในการผลิต การส่งออก การบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ ฉลาก การเก็บรักษา และการขนส่งเป็นต้น เทคนิคในการเก็บเกี่ยว การตาก การแปรรูป และการเก็บรักษา จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเช่นกัน ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้จัดทำโครงการเพื่อจะปรับปรุงและยกระดับคุณภาพของผลผลิตกาแฟ คือ

- การส่งเสริมการเพาะปลูกกาแฟที่ดีและเหมาะสม(GAP)สำหรับเกษตรกร และการผลิตที่ดีและเหมาะสม(GMP)สำหรับผู้แปรรูปผลผลิต

- โครงการกาแฟอินทรีย์ และการผลิตกาแฟรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

2. การลดต้นทุนการผลิต การลดต้นทุนการผลิตนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้

ประการแรกที่จะต้องดำเนินการคือ การปรับปรุงพันธุ์และใช้ต้นพันธุ์ที่มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็วทนทานต่อโรคแมลงได้ดี และให้ผลผลิตสูงทดแทนต้นพันธุ์เก่า

ประการที่สอง คือการศึกษาวิจัยทดสอบปริมาณการให้ปุ๋ย และน้ำที่เหมาะสมแก่ต้นกาแฟ และที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือการผลิตที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจสูงกว่า การผลิตที่มุ่งเน้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง

3. การปรับปรุงขบวนการผลิตเพื่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด เนื่องจากกาแฟพันธุ์อะราบิกาเป็นที่ต้องการของตลาดสูง ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกกาแฟอะราบิก้าอย่างเข้มข้นของรัฐบาล จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพันธุ์ และเกิดปัญหาในเรื่องของโรค และแมลงตามมา เนื่องจากมีปริมาณพันธุ์ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ทำให้ขาดการคัดเลือกต้นพันธุ์ดี การปลูกในพื้นที่ที่ดินและภูมิอากาศไม่เหมาะสมต่อกาแฟพันธุ์อะราปิก้า จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันในปี พ.ศ.2548  รัฐบาลเวียดนามจำเป็นต้องลดพื้นที่การเพาะปลูกกาแฟลงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกกาแฟทั้งประเทศ โดยให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่นโกโก้ ในฤดูการผลิต 2543/2544 เวียดนามสามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้ถึง 900,000 ตัน จนทำให้เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกกาแฟโรบัสต้ารายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้กุมราคากาแฟของตลาดโลกอีกด้วย
 
จะเห็นได้ว่า พืชเศรษฐกิจที่สำคัญทุกฃนิดของเวียดนาม รัฐบาลได้มีการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขบวนการผลิตจนถึงการแปรรูป และการตลาด ซึ่งทุกขบวนการมีการวิจัย และพัฒนาร่วมด้วย แตกต่างจากบ้านเรา เพราะเรามุ่งแต่ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตมากกว่า โดยที่ไม่คิดให้เป็นระบบ ดังนั้นไม่ว่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอะไร เกษตรกรจะพังพาบเป็นส่วนใหญ่ ไปดีที่พ่อค้าคนกลางหมด ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเช่น ข้าว เกษตรกรไม่เคยรวยขึ้นเลย ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ นอกจากโรงสีกับพ่อค้าข้าวเท่านั้นที่เจริญรุ่งเรืองร่ำรวย ขยายกิจการใหญ่โตขึ้น รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตข้าวที่มีคุณภาพดี แต่พอถึงมือพ่อค้าท่านก็เอาข้าวคุณภาพไม่ดีมาผสมกับข้าวคุณภาพดีขายให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งถือว่านอกจากจะไม่ส่งเสริมแล้วยังช่วยกันปู้ยี่ปู้ยำทำลายเกษตรกรและประเทศชาติอีกด้วย หากรัฐบาลไม่สามารถหยุดพฤติกรรมของบุคคลเหล่านี้ได้ ประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นหนึ่งในโลกของสินค้าเกษตรกรทุกชนิดอย่างถาวร เหมือนพืชอื่น ๆ   ที่เราสูญเสียไปแล้วหลายชนิด รวมถึงข้าวซึ่งกำลังเกิดขึ้นในเร็ววันนี้


เอกสารอ้างอิง

1. Orientation of Vietnam Coffee Industry.   By Mr. Doan Trieu Nham at
   International Coffee Conferen, May 17-19,2001 London, UK
2. Vietnam : Silent Global Coffe Power. by Alex Scofied:
   http://www.ineedcoffee.com/02/04/vietnam/
           3. Vietnam-Improving Coffee Ouality in the Highlands. By Kraft Foods :
 http://164.109.46.215/responsibility/agriculture_vietnamquality.aspx

ที่มา :
เวียดนามผู้กุมชะตากาแฟโลก

-----------------------------------

Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee