เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ร้านกาแฟ แบ่งแยกชนชั้นและการดื่มเพื่อให้ดูภูมิฐานในสังคม

ร้านกาแฟ:เหนือความสุขที่คุณดื่มได้

นับจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน่วยย่อยทางสังคม คนในสังคมล้วนมีบทบาทในการขับเคลื่อนสังคมเพราะสมาชิกในสังคมล้วนเป็นหน่วยย่อยที่นักสังคมศาสตร์กล่าวว่า วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม เกิดการลอกเลียน เอาอย่าง พัฒนาขึ้นเป็นบรรทัดฐานของสังคมและในที่สุดกลายเป็นค่านิยมที่ถือร่วมกันในสังคม

ร้านกาแฟเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะของพัฒนาการการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และบทบาทของคนในสังคม เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงกลไกการขับเคลื่อนโดยมีสมาชิกในสังคมเป็นฟันเฟืองที่มีบทบาทแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ทำงานกันร่วมกันอย่างเป็นระบบ แต่หากไร้ซึ่งความสัมพันธ์ทางความรู้สึกหรือศีลธรรมร่วม ถึงแม้ว่าจะมีศีลธรรมอันเป็นมาตรฐานในการกำหนดขอบเขตพฤติกรรมร่วมในสังคมความเหลื่อมล้ำและการเอาเปรียบแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นตลอดเวลา อาจกล่าวได้ว่ายังคงมีการใช้มนุษย์ในสังคมด้วยกันเป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์ใส่ตน

ในสังคมไทย ร้านกาแฟเป็นพื้นที่ตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนลักษณะการปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ร้านกาแฟในอดีตที่ได้รับสมญานามว่าเป็นสภากาแฟได้สะท้อนวัฒนธรรมการพูด การแสดงความคิดเห็นของคนในสังคมที่มีความคิด ความสนใจที่คล้ายคลึงกันมาอยู่ร่วมกันในพื้นที่สาธารณะ ร้านกาแฟเป็นเพียงพื้นที่ร่วมที่คนร่วมหยิบยืมใช้เพื่อเป็นพื้นที่ในการแจ้งข่าวสาร การบริการและสินค้าในร้านกาแฟหรือสภากาแฟในสมัยนั้นไม่ได้ผลิตสินค้าที่เป็นวัฒนธรรมทางสายตา สินค้าและการบริการที่นำมาจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าที่ไม่มีให้เลือกมากนักเนื่องจากร้านกาแฟเป็นเพียงจุดพักทางความคิดเพื่อที่จะเบิกทางให้ความคิดร่วมทางสังคมได้ก้าวเดินต่อไป เครื่องดื่มจำพวกกาแฟ โอเลี้ยง ชานมจึงถูกจำหน่ายเป็นเพียงเครื่องดื่มกลั้วคอที่ช่วยเพิ่มรสชาติและเพิ่มอรรถรสในการออกวามเห็นของสมาชิกในสภากาแฟ การบริการของเจ้าของร้านก็เป็นเสมือนน้ำจิตน้ำใจของคนในละแวกบ้านที่กรุณาหยิบยื่นพื้นที่ของตนให้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นแม้จะเป็นเพียงแค่เวลาชั่วคราว หลังจากการบริโภคเครื่องดื่มรวมไปถึงของคบเคี้ยวเช่นปาท่องโก๋ เมื่อสมาชิกสภากาแฟแยกย้ายกลับไปทำหน้าที่ฟันเฟืองหนึ่งของสังคมสิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่คือความทรงจำจากการร่วมอภิปรายในวงชุมชนเล็กและความคิดต่อยอดที่ได้จากการเข้าร่วมสนทนาเพื่อที่จะมาถกเถียง หารือหรือสร้างประเด็นใหม่ๆเพื่อที่จะมาพัฒนาสังคมองค์รวมร่วมกัน

ลักษณะของร้านกาแฟในสมัยก่อนสะท้อนลักษณะสังคมในอุดมคติของ Emile Durkheim ที่แสดงถึงการพัฒนาและการอยู่รวมกันโดยเน้นที่องค์รวมไม่ใช่ปัจเจก การอ้างอิงแนวคิดของDurkheim ในบทความที่ชื่อ A historical Sketch of Sociological Theory: The Early Years กล่าวไว้ว่า ปัจจัยทางสังคมที่มีมีบทบาทมากที่สุดในการขับเคลื่อนสังคมแบบองค์รวมคือการมีสำนึกร่วมของสมาชิกในสังคมซึ่งในส่วนนี้จะแสดงออกผ่านสิ่งที่ Durkheimเรียกว่า Nonmaterial social facts เช่น วัฒนธรรมและสถาบันในสังคม ในสังคมถึงแม้ว่าในอดีตลักษณะการดำเนินชีวิตก็มีลักษณะที่แบ่งงานกันทำและสมาชิกในสังคมก็มีหน้าที่เป็นฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมที่แต่งต่างกัน แต่การที่สมาชิกในสังคมได้สรรสร้างพื้นที่แบบ real time ในสังคมเพื่อเป็นพื้นที่ระดมความคิดสำหรับองค์รวมนั้นก็แสดงให้เห็นจุดยืนหนึ่งในการที่สังคมแสดงความพร้อมในการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่น ไม่ว่าความคิดที่ได้จากวงสนทนานั้นจะมีการต่อยอดหรือไม่อย่างน้อย ผู้คนก็ได้จุดประกายการดำเนินไปข้างหน้าในสังคมได้อย่างกลมเกลียวเนื่องจากมีการร่วมประสานความคิดแบบสำนึกร่วม

ในทางกลับกันเมื่อโลกมีการพัฒนาและร้านกาแฟเกิดการกระจายตัวไปทุกขุมขนของสังคมเมืองบทบาทและหน้าที่ของร้านกาแฟและลูกค้ามีความเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างร้านกาแฟและลูกค้า

                ในอันดับแรกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นร้านกาแฟมีการตกแต่งร้านเพิ่มเติม ในที่นี้การตกแต่งร้านเป็นเพียงแต่การพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับยุคทุนนิยมที่ผู้คนมองเห็นความสำคัญที่ฉาบฉวยของภาพลักษณ์ภายนอก แต่มากไปกว่านั้นร้านกาแฟยังเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะปรับตกแต่งร้านกาแฟให้เข้ากับ Lifestyle ของลูกค้าด้วย การปรับแต่งร้านกาแฟให้เข้ากับลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้คนนั้นดูผิวเผินอาจเป็นวิธีการที่รวบรวมคนที่มีลักษณะชีวิตเหมือนกันเข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งแต่ความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงการสร้างภาพแทน(Representation)ให้กับร้านกาแฟและในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ร้านกาแฟในปัจจุบันแบ่งลักษณะร้านออกเป็นหลากหลายสไตล์และหลายราคา ความแตกต่างของร้านกาแฟนี้ไม่ใช่เพื่อปรับให้เหมาะกับกำลังซื้อของลูกค้าเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงการปรับรูปแบบและกิจกรรมภายในร้านเพื่อให้เข้ากับภาพลักษณ์ที่สามารถช่วยเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้กับลูกค้า เช่นการที่ร้านกาแฟStarbuckสามารถขายกาแฟเพียงหนึ่งแก้วได้ในราคาราวๆเก้าสิบกว่าบาทหรือแพงกว่านั้นเป็นเพราะการสร้างต้นทุนทางสังคมซึ่งหมายถึง การมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นของผู้ที่บริโภคกาแฟ รวมไปถึงภาพลักษณ์และการขยายอำนาจพื้นที่การต่อรองได้มากขึ้น ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ 
Starbuckได้ผลิตและสมสมชื่อเสียงเกี่ยวกับต้นทุนนี้ขึ้นมา การนั่งบริโภคกาแฟในร้านStarbuckนั้นเป็นการสร้างภาพแทนให้กับลูกค้าว่าเป็นความสะดวกที่สบายที่คุณสามารถใช้เวลาได้อย่างเป็นส่วนตัวกับคนในระดับเดียวกัน เพราะด้วยราคาที่แพงจึงไม่ใช่ลูกค้าทุกกลุ่มที่จะสามารถเข้ามาบริโภคได้ ความรู้สึกอยู่เหนือกว่าผู้บริโภคสินค้าชนิดเดียวกันจึงเกิดขึ้น และเกิดพัฒนาในการมีอำนาจต่อรองขึ้นซึ่งจะพึงขยายความได้คือ นอกจากการนั่งดื่มกาแฟภายในร้านการนำกาแฟออกไปดื่มภายนอกร้านยังช่วยประคองบารมีจากที่สั่งสมมาในร้านให้ขยายพื้นที่อำนาจในการต่อรองได้มากขึ้นไปอีกด้วย 

การดื่มกาแฟจากร้านขายกาแฟที่มีชื่อระดับโลก สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่พิเศษและเหนือระดับ ดูภูมิฐานกว่าการนั่งดื่มร้านกาแฟข้างทางหรือได้ดื่มกาแฟจากcoffee shopที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถสังเกตได้ว่าการตกแต่งร้านให้มีลักษณะที่หรู หรือสบายอย่างมีระดับนั้นทางร้านก็ได้สังเกตจากการใช้ชีวิตหรือความต้องการความพิเศษเหนือคนอื่นๆของลูกค้าที่ต้องการเข้ามาใช้บริการในร้าน และในขณะเดียวกันการสร้างภาพลักษณ์ของทางร้านที่คล้องกับการต้องการการสร้างภาพของลูกค้าก็ถูกเติมเต็ม ความเป็นส่วนตัวที่ลูกค้าต้องการก็ถูกอุปโลกน์สร้างขึ้นเพื่อให้รู้สึกเหนือชั้นและดูราวกับว่าทุกคนที่มีส่วนพัวพันกับร้านกาแฟชั้นนำเหล่านี้ต่างถูกเติมเต็มความต้องการของตน ลักษณะการทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ตนเองเหนือกว่าผู้อื่นที่บริโภคกาแฟจากร้านกาแฟที่มีการบริการ การตกแต่งที่ต่างระดับกันนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมของสังคมในความคิดของนักสังคมมานุษยวิทยาในบทความของ Chris Jenks ชื่อ Culture ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการว่าเมื่อมนุษยสร้างหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้รองรับการกระทำของตนเองว่าเป็นสิ่งที่ถูต้องและพึงกระทำในสังคม การมีเหตุมีผลนี้ได้เชื่อมโยงให้เกิดการสร้างความเชื่อมั่นในแบบเจ้าอาณานิคมที่มีความโลภในการขยายอำนาจเศรษฐกิจของตนและการกระตุ้นในการก่อให้เกิดความเหนือชั้นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะเอาชนะวัฒนธรรมอื่น การเข้าไปใช้บริการในร้านกาแฟที่มียี่ห้อดังของคนมีเงินจึงเป็นการสะสมทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเบิกทางให้ตนเองมีความน่าเชื่อถือและได้รับอภิสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษในการเข้าถึงต้นทุนในด้านอื่นๆต่อไปอีก เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดื่มกาแฟเพิงข้างทางคนเหล่านี้ก็ย่อมมีภาษีดีกว่า

                นอกจากตัวอย่างร้านกาแฟชั้นนำที่มีราคาแพงเหล่านั้นได้สร้างภาพแทนมากมายให้กับทั้งตนเองและลูกค้าแล้ว ร้านกาแฟที่ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดนั้นยังสร้างความหมายใหม่ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและร้านกาแฟ ความสัมพันธ์ใหม่นี้ไม่ใช่เป็นเพียงความสัมพันธ์ในฐานะพ่อค้าร้านกาแฟและลูกค้าร้านกาแฟอีกต่อไปแต่เป็นความสัมพันธ์ในฐานะพ่อค้าและลูกค้าที่ถูกทำให้เป็นสินค้า ในร้านกาแฟในอดีตนอกจากการบริโภคการแฟแล้วยังมีการบริโภคหน่วยความรู้ในองค์รวมเพื่อสังคม มีการย่อยข้อมูลที่ได้จากการสนทนาและถกเถียงกันในสภากาแฟ ในร้านกาแฟสมัยใหม่ นอกเหนือจากการบริโภคกาแฟและการสนทนาที่อยู่ในวาทกรรมของปัจจเจกแล้ว บทบาทเพิ่มเติมของลูกค้าในร้านกาแฟยังเป็นสินค้าต้นแบบทางวัฒนธรรมที่มีหน้าที่โปรโมทกิจกรรมของปัจเจกและทำหน้าที่โปรโมทกิจกรรมของร้านไปในตัวด้วย

ในร้านกาแฟหรือชื่ออื่นๆที่เราเรียกไม่ว่าจะเป็น ร้านนม coffee shopและอื่นๆนั้นต่างพยายามสร้างเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้กับตนเองดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว กิจกรรมของปัจเจกที่ลูกค้าต้องการมาเผยแพร่ในวงสังคมที่ตนเองต้องการเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลก็จะถูกจัดและดำเนินขึ้นโดยที่ร้านกาแฟและลูกค้าผลัดกันรับบทบาทสินค้าให้กับวัฒนธรรมที่ตัวเองต้อการจะโปรโมท ใกรณีแรกเป็นผลพวงจากการปรับรูปแบบร้านให้เข้ากับภาพลักษณ์ที่ตัวลูกค้าอยากจะเป็น เช่นร้านสวนนมเป็นร้านเครื่องดื่มและในขณะเดียวกันเป็นร้านอาหารที่นั่งสบาย บริกรในร้านไม่ใช่เป็นเด็กเสิร์ฟที่ต้องการหาเงินมาจุนเจือครอบครัวแต่เป็นกลุ่มเด็กที่มีฐานะปานกลางไปจนถึงมีฐานะเกินอันจะกินการแต่งารของบริกรและพนักงานเก็บเงินในร้านนี้จึงเต็มไปด้วยสีสันและแฟชั่น หรือเทรนด์เด็กแนวที่วัยรุ่นนิยมแต่งกัน ลูกค้าที่มานั่งรับประทานก็จะเป็นกลุมวัยรุ่นตั้งแต่เด็กมัธยม มหาวิทยาลัย ไปจนถึงวัยเริ่มต้นทำงาน ร้านสวนนมแรกๆจะขายความเป็นArtistมีการตกแต่งร้านด้วยสินค้าHandcraft ทั้งหลายที่เป็นผลงานทางศิลปะ รวมไปถึงของเล่นโบราณ รูปแบบการจัดตั้งโต็ะของร้านก็เป็นแบบกันเอง มีเปลให้นอนเล่นบนชั้นสอง ลักษณะกิจกรรมที่ร้านสวนนมจัดขึ้นเป็นการดึงดูดลูกค้าที่ต้องการจะมีภาพลักษณ์ที่เป็นArtist หรือกลุ่มวัยรุ่นที่ทำงานศิลปt มีความคิดไม่เหมือนใครเป็นตัวของตัวเอง แต่ความเป็นจริงแล้วภาพแทนหรือภาพลักษณ์ดังกล่าวนั้นจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของพวกเขาหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะภาพลักษณ์และรูปแบบของร้านนั้นเป็นสิ่งสร้งสรรค์อุปโลกน์ขึ้น ดังนั้น Lifestyleของลูกค้าที่มารับประทานอาหารก็อาจได้แรงบันดาลใจจากการแต่งตัวของบริกร จากแนวการแต่งร้าน ไปจนถึงlifestyleของลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยกันเอง

จากตัวอย่างของร้านสวนนมข้างต้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างของการเกิดควาหมายใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการในร้านกาแฟ ลูกค้าในร้านกาแฟ ทุกอย่างในร้านกาแฟกลายเป็นการผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่พร้อมจะให้ทุกคนนำไปเลียนแบบ และปฏิบัติให้กลายเป็นค่านิยมของสังคม บทบาทละหน้าที่ของลูกค้าและผู้ให้บริการในร้านกาแฟจึงสลับผลัดเปลี่ยนกัน บางครั้งผู้ให้บริการในร้านกาแฟก็เป็นตัวสินค้าเสียเองหากพวกเขาอยากโปรโมทกิจกรรมภายในร้านท่สามาถเรียกเม็ดเงินเข้าร้าน บางครั้งลูกค้าก็เป็นสินค้ามในส่วนเติมเต็มหมายถึง กิจกรรมที่ลูกค้าเข้าร่วมภายในร้านจะถูกนำไปบอกต่อโดยผ่านภาพลักษณ์ที่ร้านกาแฟและปัจเจกสร้างขึ้น เช่นการประชาสัมพันธ์ผ่านภาพลักษณ์ของลูกค้า เช่น ถ้าลูกค้าอยากเซอร์ ติสท์ มีอารมณ์ศิลปะ ก็อาจจะตามลูกค้าที่แต่งตัวและพยายามมีLifestyleตามที่ได้อ้างด้งกล่าว แล้วตามๆกันมา นั้นหมายรวมถึง การลอกเลียนแบบพฤติกรรมการแต่งตัว การดำเนินกิจกรรมภายในร้านเช่น การเข้าร่วมกิจกรรมลดแลกแจกแถมของทางร้าน หรือการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกของทางร้าน และเป็นเพื่อเป็นสินค้าลูกโซ่ เพื่อชักจูงลูกค้ารายใหม่หน้าใหม่แต่หัวใจเดิมที่ต้องการจะมีภาพลักษณ์ “แบบเขาบ้าง” เพื่อเข้ามาบริโภคสินค้าในร้านกาแฟและเข้ามาบริโภคสินค้าทางวัฒนธรรมที่ลูกค้านเข้ามาจากนอกร้าอีกด้วย ดังนั้น ทั้งร้านกาแฟ ผลิตภัณฑ์จากร้านกาแฟ Lifestyle ของลูกค้า และการเลียนแบบพฤติกรรมต่างช่วยเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนกลไกการผลิตแบบทุนนินยมทั้งสิ้น 

เราอาจเรียกกระบวนการนี้ได้ว่าแชร์ร้านกาแฟ โดยใช้แรงขับเคลื่อนเกี่ยวกับความอยากครอบครองอัตลักษณ์ลวงของปัจเจกที่ไม่ว่าจะถูกหลอกล่อให้มีหรือเป็นก็แล้ว ต่างเติมเต็มการขับเคลื่อนเช่นนี้ในสังคม จากพฤติกรรมดังกล่าวเราอาจอธิบายได้ด้วยหลักการของ Marxist ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของชนชั้นแรงงาน เนื่องจากเกิดการแบ่งงานกันทำของชนชั้นแรงงานและการหาผลประโยชน์จากชนชั้นแรงงานเหล่านี้ ชนชั้นแรงงานนอกจากจะต้องเป็นผู้ใช้แรงงานในการผลิตแล้ว การบริโภคของชนชั้นแรงงานยังก่อให้เกิดค่านิยมในการบริโภคอีกด้วยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชนชั้นนายทุนก็ยังคงถืออำนาจเหนือชนชั้นแรงงาน เนื่องจากชนชั้นแรงงานไม่สามารถกำหนดอำนาจในการผลิตได้ตามใจตนเองหากแต่ชนชั้นแรงงานจะต้องไหลไปตามกระสที่ตนเองสร้างขึ้นและไม่สามารถออกจากวงจรในการบริโภคได้เช่นเดียวกัน ดังกับที่เราเห็นว่าคนในสังคม หรือในที่นี้ลูกค้าที่เข้ามาบริโภคในร้านกาแฟอาจมีส่วนในการผลิตระแสนิยมในสังคม ตนเองก็ต้องมานั่งบริโภคสินค้าที่ตัวเองเป็นคนสร้างอย่างลี่ยงไม่ได้เนื่องจากเป็นวัฒนธรรมนั้นกลายเป็นค่านิยมที่ถูกกำหนดว่าพึงกระทำ เรายังสามารถอธิบายได้ต่อตามหลักการของAlthusserได้อีกว่า วัฏจักรของการบริโภคและผลิตซ้ำดังกล่าวข้างต้นนั้นก็เป็นผลจากอุดมการณ์ของชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆที่ผลิตวัฒนธรรมขึ่นมาและครอบงำค่านิยมองค์รวมซึ่งอำนาจในยุคสมัยใหม่นี้จะไม่ใช่การบังคับให้ทำตาม ไม่ใช่อาณุภาพเหลือคณานับแต่เป็นอำนาจที่ถูกบริหารอย่างลับๆ เป็นการหาแนวร่วมเพื่อชี้นำให้เห็นข้อดีของการปฏิบัติตาม โดยที่อำนาจนั้นยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ถูกขัดขวาง

นอกจากกลไกการผลิตซ้ำทางอัตลักษณ์ลวงเพื่อล่อให้เกิดการบริโภคสินค้าซ้ำๆแล้ว ร้านกาแฟในสมัยใหม่ยังก่อให้เกิดความแปลกแยกในสังคม เกิดเป็นสังคมที่มีการแบ่งส่วนความสนใจและแยกออกไปทำเป็นส่วนๆโดยไม่มีการแบ่งปันองค์ความรู้ของตนให้กับผู้อื่น หรือนำความคิดที่ได้จากการทำงานของตนนั้นไปต่อยอดร่วมกันกับสมาชิกในสังคมเพื่อพัฒนาสังคมเป็นองค์รวมเช่นในร้านกาแฟสมัยก่อน ในร้านกาแฟสมัยใหม่เราจะเห็นได้ว่าทางร้านกาแฟได้จัดบริการที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ การแบ่งพื้นที่นั้นไม่เพียงการแบ่งพื้นที่ตามความสนใจของลูกค้า เนื่องจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในร้านกาแฟในปัจจุบันนั้นการแบ่งโซนทำกิจกรรมเป็นเพียงการแบ่งพืนที่ให้ปัจเจกได้ทำกิจกรรมที่ปัจเจกเป็นผู้นำวาทกรรมของตนเองมาดำเนินการต่อภายในร้านกาแฟมากกว่าไม่ใช่เป็นการระดมความคิดจากสมาชิกภายในร้านเช่นเดียวกับร้านกาแฟในสมัยก่อน เช่นการจัดบริการinternetความเร็วสูงภายในบริเวณร้านนั้นเป็นพื้นที่ที่เห็นได้ชัดว่าการใช้internetนั้เป็นการสร้างพื้นที่ส่วนตัวได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

เป็นการแบ่งแยกทั้งตัวปัจเจกออกจากโลกที่เป็น Real time ไปสู่สังคมที่เป็น Cyber space นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการตัดตัวปัจเจกให้แยกออกไปจากสังคมองค์รวม ไม่มีความสัมพันธ์กันในร้านกาแฟดังเช่นก่อน เปรียบเป็นเพียงMosaicชิ้นเล็กๆที่มาจากต่างบริษัทนำมาสร้างเป็นห้องห้องหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองโดยที่Mosaicชิ้นเล็กๆเหล่นั้นต่างล้วนมีส่วนในการประกอบสร้างความเป็นเอกลักษณ์โดยรวม โดยที่ตัวMosaicเองนั้นไม่ได้กำหนดลวดลายของมันด้วยตัวของมันเอง แต่เกิดจากการกำหนดเทรนด์ที่ผู้ผลิตObserveจากชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม แฟชั่น วัฒนธรรมป๊อปต่างๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมความสัมพันธ์ดังกล่าวในสังคมที่เรียกว่า Reflecive Interactionนั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่เพียงแต่ร้านกาแฟ แต่เป็นอนุภาคของอำนาจที่กระจายตัวไปอยู่ทุกทีและมีส่วนร่วมครอบงำกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมสมัยใหม่ที่ไม่เคยคิดที่จะหยุดพัฒนาการของตัวเองโดยที่หารู้ไม่ว่าการเดินทางเพื่อบรรลุสู่การพัฒนานั้นกำลังเดินเป็นวงกลมเนื่องจากพฤติกรรมCopy Cat of Everyday Lifeที่เพียงส่งผ่านต่อคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เวียนซ้ำไปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้นเอง
------------------------------------

Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee