เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA

เข้าชมรายละเอียด THE INDIAN TEA
แฟรนไชส์กาแฟสดและกาแฟชงสำเร็จ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ราคาเริ่มต้น 6,900 - 399,000 เข้าชมรายละเอียด แฟรนไชส์ THE INDIAN TEA คลิ๊กที่รูปภาพด้านบน ติดต่อคุณมาโนช โทร.084-682-5999 , 092-369-3951 LINE ID : @THEINDIANTEA / หรือเซฟเบอร์ 084-682-5999

ค้นหาทำเลเปิดร้านกาแฟ แสดงผลการค้นหาชัดเจน ตรงประเด็น จากกลุ่มเว็บที่เรานิยมใช้เป็นประจำ

Loading

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กาแฟ การปลูกกาแฟในบราซิล ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม


หากกล่าวถึงกาแฟแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงบราซิล ในแง่ของการเป็นประเทศผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ของโลก ถึงแม้ว่าต้นกำเนิดของกาแฟจะไม่ใช่ที่บราซิล แต่กาแฟสามารถเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศบราซิลได้เป็นอย่างดีเมื่อครั้งที่ชาวโปรตุเกสค้นพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 ยังมีเพียงชนเผ่าพื้นเมืองเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในบราซิล พวกเขาเหล่านี้ได้แนะนำให้ชาวยุโรปได้รู้จักกับเครื่องดื่มพื้นเมืองหลากหลายชนิด เช่น น้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ น้ำชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากมันสำปะหลัง แต่ในขณะนั้นยังไม่มี       การปลูกกาแฟในประเทศ

ปลูกกาแฟ



มองบราซิลผ่านกาแฟ  

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1727 นายทหารชาวบราซิลคนหนึ่งชื่อ Francisco de Melho Palheta      ได้รับคำเชิญให้ไปเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ชายแดนระหว่างประเทศกายอานาของเนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้น ทั้งสองประเทศได้ปลูกกาแฟกันอย่างแพร่หลาย และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดมิให้นำกาแฟออกนอกประเทศ ซึ่ง Palheta ตอบรับคำเชิญทันที ด้วยหวังว่าจะได้เมล็ดกาแฟจำนวนหนึ่งมาปลูกที่บราซิล ว่ากันว่าขณะที่ Palheta อยู่ที่กายอานานั้น เขาได้มีความสัมพันธ์อย่างลับๆ กับภรรยาของผู้ปกครองชาวฝรั่งเศส หลังจากที่ Palheta ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำเร็จ ได้มีการจัดงานเลี้ยงฉลองให้แก่เขา ในระหว่าง งานเลี้ยง ภรรยาของผู้ปกครองชาวฝรั่งเศสได้มอบช่อดอกไม้ให้กับ Palheta ซึ่งในช่อดอกไม้นั้นมีเมล็ดกาแฟจำนวนหนึ่งซ่อนอยู่ การเดินทางไปชายแดนของ Palheta ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกกาแฟในบราซิลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


เมือง Belém แห่งรัฐ Pará ทางทิศตะวันออก         เฉียงเหนือของบราซิล นับเมืองแรกในบราซิลที่มีการปลูกกาแฟ และต่อมาได้ทดลองปลูกในหลายๆ รัฐ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1770 มีการนำมาปลูกบริเวณใกล้เมือง Rio de Janeiro ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟ อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นชาวบราซิลไม่ได้สนใจการปลูกกาแฟเท่าใดนัก เนื่องจากมีการปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจมาก่อนหน้าที่กาแฟจะเข้ามาในบราซิล

  ในระยะแรกๆ บราซิลไม่นิยมปลูกกาแฟเพื่อการค้า แต่จะปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาชนชั้นพ่อค้าและนายทุนในรัฐ Rio de Janeiro โน้มน้าวรัฐบาลบราซิลให้ช่วยสร้างปัจจัยแวดล้อมพื้นฐานในการขยายอาณาเขตในการปลูกกาแฟได้สำเร็จ โดยให้รัฐเพิ่มจำนวนแรงงานและช่องทางการคมนาคมขนส่งให้มากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ปลูกกาแฟขยายจากรัฐ Rio de Janeiro ไปจนถึง Paraíba Valley  ในรัฐ Sao Paulo ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเมืองส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดในบราซิล ในยุคต่อมากาแฟก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกในบราซิลมากที่สุดแทนที่การปลูกอ้อย และการทำอุตสาหกรรมน้ำตาล เนื่องจากความต้องการในการบริโภคกาแฟของประชากรโลกมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการปลูกกาแฟใช้แรงงานคนน้อยกว่าการปลูกอ้อย เพราะการปลูกอ้อยต้องมีการปลูกบ่อยครั้ง แต่กาแฟมีช่วงชีวิตประมาณ  30 - 40 ปี โดยไม่ต้องปลูกใหม่บ่อยๆ

การที่แหล่งปลูกกาแฟย้ายออกไปไกลจากท่าเรือทำให้ระบบการขนส่งของบราซิลเจริญ    ขึ้นด้วย รัฐบาลบราซิลได้สร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น ทั้งในรัฐ Rio de Janeiro และรัฐ Sao Paulo จากในปี ค.ศ. 1860 มีทางรถไฟที่มีความยาวเพียง 223 กิโลเมตร ภายในปี ค.ศ. 1885 มีการตัดทางรถไฟเพิ่มขึ้นถึง 6,930 กิโลเมตร และยังมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างบริเวณที่ราบสูงทางตะวันออกของรัฐ Sao Paulo และท่าเรือ Santos ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ปลูกกาแฟขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ การปลูกกาแฟในบราซิลได้ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมบราซิลในสมัยนั้น กล่าวคือ เกิดชนชั้นใหม่ คือชนชั้นผู้ปกครอง ที่เรียกว่า Coffee Baron ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ และมีการหลั่งไหลเข้ามาของทาสจากแอฟริกาเป็นจำนวนมาก ความนิยมในการปลูกกาแฟที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในบราซิล มาพร้อมกับการเติบโตของการค้าทาส เหตุเพราะบราซิล   มีแรงงานท้องถิ่นน้อยไม่สามารถผลิตกาแฟให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลกได้ รัฐบาลบราซิลจึงได้ซื้อทาสจากแอฟริกาเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1828 ทาสที่ใช้ในการปลูกกาแฟในบราซิลได้เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งล้านคน คิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรบราซิลทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นด้วยกับการใช้แรงงานทาสในบราซิล จึงกดดันบราซิล โดยต่อต้านการซื้อกาแฟบราซิลที่ปลูกโดยทาสเหล่านี้ การกดดันของอังกฤษทำให้บราซิลจำเป็นต้องออกกฎหมายที่มีชื่อว่า Lei Eusébio de Queirós ในปี ค.ศ. 1850 ซึ่งเป็นกฎหมายห้ามค้าแรงงานทาสข้ามแอตแลนติก ถึงแม้ว่าบราซิลจะซื้อทาสจากประเทศอื่นๆ น้อยลง แต่ทาสในบราซิลก็ยังไม่หมดในทันที   บราซิลต้องใช้เวลานานกว่า 50 ปีถึงจะเลิกล้มระบบทาสให้หมดไป การเลิกล้มระบบทาสนี้ ส่งผลให้บราซิล

ขาดแคลนแรงงานที่ใช้ในการปลูกกาแฟจนเข้าขั้นวิกฤต ทำให้ในช่วงปี 1870 ผู้ปลูกกาแฟจำนวนหนึ่งกดดันให้รัฐบาลกระตุ้นให้มีการอพยพแรงงานต่างประเทศเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกกาแฟ นับเป็นเวลาหลายสิบปีที่มีผู้อพยพจำนวนมากเดินทางเข้ามาในบราซิลเพื่อที่จะมาทำงานในไร่กาแฟ ผู้อพยพที่เข้ามามากที่สุดคือชาวอิตาลี และยังมีชาวเยอรมัน สเปน อาหรับ ญี่ปุ่น และชนชาติอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
การที่บราซิลมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกกาแฟทั้งการมีพื้นที่เพาะปลูกที่     อุดมสมบูรณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม และมีแรงงานค่าแรงต่ำ ช่วยให้บราซิลกลายเป็นผู้ส่งออกกาแฟ  รายใหญ่ที่สุดของโลก ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 บราซิลมีกาแฟเป็นสินค้าส่งออกหลัก คิดเป็นร้อยละ 63 ของสินค้าส่งออกของบราซิลในปี ค.ศ. 1891

ต่อมาในช่วง 30 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 แม้ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จะทำให้ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กอรปกับมีการผลิตกาแฟมากเกินความต้องการ จึงส่งผลให้ราคากาแฟตกต่ำ      แต่กาแฟก็ยังมีความสำคัญกับบราซิลทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ในด้านการเมืองนั้น กาแฟส่งผลต่อการเมืองในช่วงปี ค.ศ. 1889 - 1930 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกกันว่า “รีพับลิกาเวลญ่า” หรือ สาธารณรัฐแบบเก่าของบราซิลเป็นอย่างมาก จนมีคำเรียกการเมืองยุคนี้ว่าเป็นการเมืองยุค “กาแฟกับนม” (the coffee-with-milk) คือ เรียกโดยใช้กาแฟและนมเป็นสัญลักษณ์ของรัฐที่มีอำนาจสองรัฐ ซึ่งมีนักการเมืองผลัดกันขึ้นเป็นผู้นำของบราซิล คือ รัฐ Sao Paulo จากการทำไร่กาแฟ และรัฐ Minas Gerais จากการทำฟาร์มวัวนม

ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้บราซิลไม่ได้เป็นผู้ผลิตกาแฟที่มีส่วนแบ่งตลาดถึงครึ่งหนึ่งอย่างเช่นก่อนแล้ว แต่บราซิลยังคงเป็นผู้ส่งออกกาแฟเป็นอันดับหนึ่งของโลก และกาแฟยังคงเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มีการจ้างงานอีกด้วย
การเดินทางของกาแฟในบราซิล แม้จะเริ่มต้นด้วยการแอบนำเมล็ดเข้ามาปลูกในประเทศและผ่านเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การแบ่งชนชั้น และการใช้แรงงานทาส แต่สุดท้ายแล้ว กาแฟกลับเป็นพืชที่ให้ประโยชน์กับบราซิลอย่างมหาศาล และกาแฟไม่ได้เป็นเพียงพืชส่งออกที่สำคัญของบราซิลเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความหลากหลายทางเชื้อชาติและได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของชาวบราซิลอีกด้วย

*************
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Brazil Consulate General Mumbai, Cultural Department, Ministry of External Relations and Governo Federal. Brazil in Brief. Mumbai: Prashuma Art Printers.
“Brazil History.” 5 Apr.2011
“Brazil The Coffee Economy, 1840-1930.” 5 Apr.2011
“Brazilian Coffee.” 5 Apr. 2011
  article/Brazil/Brazilian-Coffee/45>
“Coffee in Brazil.” Coffee Territory. 5 Apr. 2011
Yamada, Jose Issamu .“Coffee and Brazil - How Coffee Molded the Culture of a Country.” 5 Apr. 2011

ที่มา :
www.mfa.go.th/fealac/images/LatinInformationDoc245.doc


---------------------------------------


Cafe Britt - Premium Gourmet Coffee