ธุรกิจร้านกาแฟในเวียดนาม
เวียดนามเป็นชนชาตินิยมดื่มกาแฟ ในศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสได้นำกาแฟและเผยแพร่วัฒนธรรมการดื่มกาแฟในเวียตนาม เวียตนามจึงเริ่มปลูกกาแฟและได้เป็นประเทศผู้ปลูกกาแฟสำคัญของโลก โดยในช่วงปลายศตวรรษ 1990 เวียตนามเป็นผู้ปลูกกาแฟใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล รวมทั้งเป็นผู้ส่งออกกาแฟสำคัญ เวียตนามปลูกกาแฟหลายพันธ์ในภาคต่างๆของประเทศ อาทิ Arabica, Robusta, Chari(Excelsa) , Catimor เป็นต้น ทำให้สามารถผลิตกาแฟผสมให้ได้รส ลักษณะ และความสมดุลของกาแฟที่หลากหลาย การชงกาแฟแบบเวียตนามดั้งเดิม มีลักษณะคล้ายกับกาแฟของไทย คือกาแฟเย็น ชงโดยใส่นมข้นและน้ำแข็ง และกาแฟร้อน มีทั้งแบบกาแฟดำไม่ใส่นม และกาแฟร้อนใส่นมข้น กาแฟแบบดั้งเดิม นิยมใส่นมข้น มากกว่านมสด
ยอดจำหน่ายกาแฟของร้านกาแฟในเวียดนามในปี 2005 มีมูลค่า 14.9 พันล้านดอง หรือ 31.3 ล้านบาท โดยมีร้านกาแฟทั่วประเทศประมาณ 8,350 ร้าน เพิ่มจากปี 2004 ร้อยละ11 ความนิยมดื่มกาแฟมีผลส่วนหนึ่งมาจากการเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟหลากรสและคุณภาพ
ตลาดร้านกาแฟในเวียดนาม ครองตลาดโดยบริษัทท้องถิ่น บริษัท Trung Nguyen Coffee จำกัด เป็นผู้นำในธุรกิจนี้ บริษัทครองตลาดร้านกาแฟในเวียดนามถึงร้อยละ 85 ของยอดจำหน่ายกาแฟทั้งสิ้น และมีเครือข่ายร้านกาแฟ ร้อยละ 92 ของจำนวนร้านกาแฟทั้งหมดของเวียตนาม บริษัทได้ชื่อว่า เป็น Starbucks ของเวียดนาม และในช่วงต้นปี 2007 ก็ยังไม่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ร้านกาแฟต่างชาติ เข้าไปดำเนินธุรกิจแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัท Coffee Bean and Tea Leaf และStarbucks มีแผนการตั้งร้านกาแฟในเวียตนาม โดยคาดกันว่า Starbucks กำลังดำเนินการเรื่องร่วมทุนกับบริษัทเวียตนาม เพื่อให้สามารถเจาะขยายตลาดเวียตนามได้รวดเร็วขึ้น
มีรายงานข่าวว่า Black Canyon Company Ltd (Thailand) ก็มีแผนเปิดแฟรนไชส์ร้านกาแฟในเวียตนาม โดย นาย Michael Holland ผู้จัดการด้านแฟรนไชส์ต่างประเทศของ Black Canyon มีความเห็นว่า ในปัจจุบันเวียตนามมีแฟรนไชส์กาแฟหลายแบรนด์ในตลาด และคงมีอัตราการแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับร้านกาแฟ/ภัตตาคารของ Black Canyon เสริฟทั้งกาแฟ อาหารยุโรป และเอเซีย รวมทั้งอาหารไทย โดยมุ่งเจาะตลาดลูกค้าอายุ 18-30 ปี และ Black Canyon เชื่อว่าสามารถเจาะตลาดคนหนุ่มสาวในเวียตนามได้ Black Canyon ตั้งเมื่อปี 1993 มี 185 สาขา ใน 7 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า เขมร และสหรัฐอาหรับอามิเรสต์
แนวโน้มตลาด
คนเวียดนามมักใช้ร้านกาแฟเป็นสถานที่พบปะทางธุรกิจ และสังคม ร้านกาแฟมีทั้งแบบร้านกาแฟแฟรนไชส์ สาขา และร้านกาแฟอิสระ คนหนุ่มสาวในเมืองมักนิยมเข้าร้านแฟรนไชส์ และสาขา คนรายได้น้อยมักเข้าร้านกาแฟอิสระซึ่งมีอยู่ทั่วไปในทั้งเมืองใหญ่ เช่น ฮานอย
โฮชิมินส์ และในชนบท ร้านกาแฟอิสระที่เป็นที่นิยมมาก เช่น Coffee New Window, Hale Coffee และ Nang Saiggon มักพบในเมืองใหญ่
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนครัวเรือนซึ่งมีรายได้สูงคือ ครัวเรือนที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 6.5 ล้านดอง หรือ 13,650 บาทต่อเดือน ได้เพิ่มจากร้อยละ 7.3 เป็นร้อยละ 12 ปัจจัยรายได้ที่สูงขึ้นนี้ทำให้ผู้ซื้อผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความต้องการสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ มีคลาสมากขึ้น คนกลุ่มนี้ยินดีจ่ายเงินสูงขึ้นเพื่อดื่มกาแฟที่มีคุณภาพ และนั่งดื่มด่ำกับบรรยากาศร้านที่มีที่ตกแต่งอย่างสวยงาม พร้อมทั้งมีกลิ่นกาแฟที่หอมกรุ่นตลอดเวลา จึงทำให้ร้านกาแฟแบบมีสาขา และแฟรส์ไชส์ เช่น ร้านของบริษัท Trung Nguyen มีการขยายตัวและเปิดสาขาอย่างรวดเร็วในเมืองต่างๆ ของเวียดนาม โดยบริษัทมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง จนทำให้ชื่อ “Trun Nguyen” เป็นชื่อแบรนด์เนมประจำชาติเวียดนาม
ภาพยนตร์เกาหลี เป็นที่ชื่นชอบของวัยรุ่นเวียดนาม และกลุ่มคนอายุระหว่าง 25-39 ปี และส่งอิทธิพลให้คนเหล่านั้นเลียนแบบวิถีชีวิต และการใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มคนระดับกลางและระดับสูงของเกาหลี อาทิเช่น การพบปะสังคม ณ ร้านกาแฟสมัยใหม่
ร้านกาแฟทั่วไปในเวียดนามมักจะมีคาราโอเกะให้บริการด้วย คนเวียดนามชอบคาราโอเกะ ถือเป็นสันทนาการเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเช่นเดียวกับคนไทย อย่างไรก็ตาม คนเวียดนามมักสั่งกาแฟและเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เมื่อไปร้านกาแฟสมัยใหม่มากกว่าจะสั่งอาหาร อาหารในร้านกาแฟที่สั่งก็มักเป็นอาหารว่าง เช่น แซนวิช เค้ก สลัด
นอกจากคาราโอเกะแล้ว ร้านกาแฟบางแห่งให้บริการ Light Speed Wireless Internet
(Wi-Fi) โดยไม่ต้องเสียเงินด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักศึกษาและหนุ่มสาววัยทำงาน คนกลุ่มนี้มักมี Laptop นำไปต่อใช้ Internet ที่ร้านกาแฟ
การแข่งขันในการประกอบธุรกิจร้านกาแฟ
ในระยะเวลาจนถึงต้นปี 2007 เวียดนามยังไม่มีแฟรนไชส์ร้านกาแฟข้ามชาติใหญ่ เช่น
STARBUCKS และ COFFEE BEAN TEA LEAF
ร้านกาแฟแบรนด์เนมเวียดนาม เช่น Trung Nguyen Coffee และ Tam Chau Tea & Coffee ( เจ้าของแบรนด์ Highland Coffee ) ครองตลาดร้อยละ 8.5 และ 2.3 ตามลำดับทั้ง 2
แบรนด์ เป็นที่นิยมของชาวเวียดนาม โดยทั้งสองแบรนด์มีกาแฟ ชา เครื่องดื่มรสต่างๆให้ผู้บริโภคเลือกมากมาย และเข้าใจรสนิยมความชอบของชาวเวียดนามเป็นอย่างดี
High Land Coffee มีการให้บริการที่เป็นมืออาชีพและเป็นตะวันตกมากกว่า Trung Nguyen Coffee เช่น พนักงานมีการแต่งเครื่องแบบ เครื่องใช้มี logo แบรนด์ ฯลฯ แต่ในขณะนี้ Trung Nguyen Coffee เน้นการให้บริการและรสกาแฟแบบเวียดนาม รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ทั้งโฆษณาทางทีวีและ PR อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ Highland Coffee ไม่มีการโฆษณามากนัก
Trung Nguyen Coffee เริ่มเปิดร้านแห่งแรกที่เมืองโฮชิมินส์ ในปี 1998 และเป็นบริษัทแรกที่ขยายกิจการร้านกาแฟเป็นแบบแฟรนไชส์ในเวียดนาม จนมีจำนวนถึง 920 แห่ง รวมทั้งมีการขยายกิจการไปต่างประเทศ เช่น ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ และวางแผนจะไปเปิดแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ เยอรมนี และออสเตรเลีย
Gloria Jean เป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟซึ่งบริษัท Phong Cach Song Viet Joint Stock ได้ซื้อสิทธิตั้งแฟรนไชส์ในเวียตนาม ประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัท นาย Ly Quy Trung ให้ข้อมูลว่า มีร้านกาแฟแฟรนไชส์ Gloria Jean มากกว่า 1000 แห่งใน 20 ประเทศ และเขาคาดว่า จะเปิดร้านกาแฟแฟรนไชส์ Gloria Jean อีก 20 แห่งภายใน 2 ปีข้างหน้า
Café Molinari(Italy) เปิดแห่งแรกที่ตึก Petro Vietnam Tower บนถนน Le Duan ในเมืองโฮชิมินส์ บริษัท Chau Ngoc Viet Joint Stock เป็นผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ Café Molinari ให้บริการกาแฟผสมชนิดต่างๆถึง 25 ชนิด รวมทั้งกาแฟแบบไม่มีคาเฟอิน
อนาคตของธุรกิจร้านกาแฟในเวียดนาม
ร้านกาแฟแฟรนไชส์ และอิสระ มีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในเวียดนาม การตกแต่งร้าน บริการที่ดีรวมทั้งการให้บริการ Wi-Fi , คาราโอเกะ และราคาที่เหมาะสม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ การส่งเสริมการขาย เช่น ซื้อกาแฟแถมเค้ก การปรับปรุงเพิ่มที่จอดรถและอำนวยความสะดวกด้านการจอดรถ ฯลฯ ก็มีส่วนช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น ร้านที่ตกแต่งบรรยากาศดี สามารถดึงคนเข้าร้านได้มาก เนื่องจากคนมักเข้าไปนั่งพักผ่อนสังสรรค์ และทำงานกันด้วย Euromonitor International คาดว่าร้านกาแฟแฟรนไชส์ในเวียดนามจะขยายตัวถึงร้อยละ 85 ในระหว่างปี 2005 – 2010
ตาราง: ส่วนแบ่งตลาดของร้านกาแฟแบรนด์ต่างๆในเวียดนาม ระหว่างปี 2002-2005
หน่วย: % ของมูลค่า
บริษัท | ชื่อแบรนด์ | 2002 | 2003 | 2004 | 2005 |
Trung Nguyen Coffee | Trung Nguyen | 48.2 | 63.4 | 76.9 | 85.1 |
Tam Chau Tea & coffee | Highland Coffee | 2.2 | 1.8 | 2.2 | 2.3 |
อื่นๆ | 49.6 | 34.9 | 21.0 | 12.6 | |
รวม | 100.0 | 100.0 | 100.0 | 100.0 |
ธุรกิจร้านกาแฟในเวียดนาม
TRUG NGUYEN COFFEE CO. , LTD. : ผู้ครองตลาดร้านกาแฟในเวียดนาม
ที่อยู่ : 268 Nguyen Tat Thailand , Buon Me Thuot City Dalale Vielinem
โทรศัพท์ : + 84 (50) 865 117
โทรสาร : + 84 (50) 811 766
www : www.Trungnguyen.com.vn
สินค้า : กาแฟ
ประวัติ
· บริษัทได้ชื่อว่าเป็น VIETNAMESE VERSION OF STARBUCKS
· เริ่มจากเป็นผู้ผลิตกาแฟ และพัฒนาเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ของเวียดนาม ต่อมาขยายกิจการร้านกาแฟ โดยเน้นความรู้สึกชาตินิยมในการดื่มกาแฟเวียดนามที่มีคุณภาพของบริษัท
· เป็นผู้ครองตลาดร้อยละ 85 ของตลาดกาแฟที่มีสาขาทั่วประเทศในปี 2006 โดยบริษัทไม่มีคู่แข่งขันต่างชาติอื่นในตลาดเวียดนาม และมีร้านกาแฟถึง 920 แห่ง
· มีการขยายกิจการไปต่างประเทศ โดยตั้งร้านกาแฟในประเทศไทยเป็นแห่งแรกเมื่อปลายปี 2002 และในปีต่อมาเปิดร้านในกัมพูชา และสิงคโปร์
· บริษัทมีการประชาสัมพันธ์สินค้า โดยเน้นการรักษาคุณภาพและกำหนดราคาสินค้าเท่ากันในทุกสาขาทั่วประเทศ
จัดทำโดย
กลุ่มวิเคราะห์สารสนเทศการค้า
ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
ธันวาคม 2550
----------------------------------------------------