ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็หันมาดื่มชาเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยสาเหตุหลายประการ ซึ่งนับว่าเป็นสมุนไพรชั้นเยี่ยมชนิดหนึ่งของคนไทย โดยเฉพาะคนจีน และ ส่วนใหญ่จะนึกถึงประโยชน์สารพัดของการดื่มชาประเภทนี้ ขณะที่หลาย ๆ คนยังไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับใบชามาดื่ม ดังนั้น ก่อนดื่มชาหรือหาใบชามาชงดื่มที่บ้าน ควรพิจารณาด้วยว่า สรรพคุณ สารที่อยู่ในใบชา ประโยชน์และสิ่งที่สำคัญโทษและข้อควรระวังในการดื่มชา เพื่อการดื่มชาของคุณจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย
มาดื่มชา.....เพื่อสุขภาพกันเถอะ
เรียบเรียง ธนัท มะโนคำ
ชา เป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมบริโภค ชาถือกำเนิดมาจากพืชตระกูล Camellia มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Can ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบแหลมสีเขียว ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ส่วนที่นำมาเป็นเครื่องดื่มของการผลิตใบอ่อน และการแตกหน่อ ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่ถึงจะมากยังมีหลากหลาย แบ่งได้ 4 ประเภท แตกต่างกันไปตามกรรมวิธีการหมักบ่มหรือการผลิต
1. ชาขาว คือชาที่ได้จากการเลือกเก็บชาที่อ่อนมาก คือยังมีขนเล็ก ๆ
สีขาวปกคลุมคงสภาพเหมือนใบชาสดเขียวและมาสีขาว น้ำที่ชงจากชาขาวจะมีสีใส ๆ ถึงสีเหลืองอ่อนเกมเขียว แต่ในแต่ละปีจะเก็บเกี่ยวยอดชาเพื่อนำมาผลิตชาขาวได้ในบางวันเท่านั้น
2. ชาเขียว คือชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก ในระยะเวลาสั้น การผลิตชาเขียวทำโดยการผ่านไอน้ำหรือความร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทันที จากนั้นนำไปกลิ้งตากแห้งอย่างรวดเร็ว ใบชาที่ได้จึงยังคงมีสีเขียว ใบชาเขียวจะมีสารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งจะมีผิวด่างดำ และแห้งกร้าน
3. ชาอูหลง คือ ชาที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียง 10 – 80 เปอร์เซ็นต์ คือระยะเวลาการหมักจะนานกว่าชาเขียว ชาประเภทนี้จะมีสีและกลิ่นมากว่าชาเขียวขึ้นมาหน่อยรสชาติเข้มข้นและมีกลิ่นหอมเมื่อดื่มจะทำให้รสฝาดและขมเล็กน้อย ชุ่มคอ แต่สามารถช่วยลดความอ้วนและอาการท้องผูก โดยจะช่วยละลายไขมันและช่วยในการย่อยอาหารและลดประจุในปัสสาวะ
4. ชาอังกฤษ นิยมใช้ชาพันธุ์ดีมีสารโพลิทีนอลสูงซึ่งดีต่อสุขภาพ โดยเริ่มจากการนำใบชาไปหมักด้วยระยะเวลานานก่อให้เกิดการหมักอย่างเต็มที่ซึ่งจะทำให้สีและรสชาติเข้มข้นมาก น้ำชาจะมีสีส้มและสีน้ำตาลแดง นอกจากรสชาติที่เข้มข้นและมีกลิ่นหอมชื่นใจแล้ว ชาอังกฤษยังกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ขับไล่ความเหนื่อยอ่อน สร้างความสดชื่น ป้องกันมะเร็ง ที่สำคัญช่วยชะลอความแก่ การต้มหรือแช่ชาอังกฤษนาน ๆ จะทำให้ได้สารแทนนินและแร่ธาตุอื่น ๆ มากมาย
การดื่มชาเป็นประจำทุกวัน ให้ประโยชน์กับร่างกายอย่างไรบ้าง แต่ขอแอบกระซิบไว้ก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย
1. ประโยชน์ประการแรกของการดื่มชาคือ เราจะได้รับสารคาแฟอีนจากใบชา ซึ่งสารคาแฟอีนนี้จะออกทฤธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้กล้ามเนื้อผอนคลาย ป้องกันโรคหัวใจตีบตัน บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก รักษาหวัดและอากการปวดหัวใจ
2. นอกจากสารคาแฟอีนแล้ว ในใบชายังมีสารโพลิฟีนอล ( Polyphenol ) คาร์โบไฮเดรท และกรดอะมีโน เมื่อสารเหล่านี้ทำปฎิกิริยากับน้ำลาย ก็จะช่วยกระจายความร้อนในร่างกายออกไปพร้อม ๆ กับขับสารพิษในร่างกายออกไปด้วย ส่วนสารอะโรมาติคก็จะช่วยระงับกลิ่นปากและป้องกันฟันผุด้วย
3. ช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดอาการอักเสบ และช่วยสมานแผล ตามตำรายาจีนยังบันทึกไว้ว่า น้ำชาชงแก่ ๆ 1 ถ้อย ช่วยรักษาโรคบิดได้เป็นอย่างดี
4. ในใบชามีวิตามินซี วิตามินบีคอมเพล็ก กรดเพนโทเทนิค ช่วยให้หลอดเลือดมีความยึดยุน ไม่เปราะ ไม่แข็งตัวง่าย นอกจากนั้นก็ยังมีกรด Pantothenic ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่น ลดต่อต้านอาการอักเสบ และอาการของโรคปอดบวม ที่สำคัญการดื่มชาเขียวเป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
5. ชาฝรั่งจะมีวิตามินเคอยู่มาก
6. ชาอูหลง สามารถช่วยลดความอ้วนและอาการท้องผูก โดยจะช่วยละลายไขมันและช่วยในการย่อยอาหารและลดประจุในปัสสาวะ
ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็หันมาดื่มชา ด้วยสาเหตุหลายประการ ส่วนใหญ่จะนึกถึงประโยชน์สารพัดของการดื่มชาประเภทนี้ ขณะที่หลาย ๆ คนยังไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับใบชามาดื่ม ดังนั้น ก่อนดื่มชาหรือหาใบชามาชงดื่มที่บ้าน สรรพคุณ สารที่อยู่ในใบชา ประโยชน์และสิ่งที่สำคัญโทษและข้อควรระวังในการดื่มชาเพื่อการดื่มชาของคุณจะได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย
ชาเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตของคนรักสุขภาพในเมืองไทยในระยะ 3 – 4 ปีมานี้เอง ดูแล้วยังไม่มีใครแซง “ เครื่องดื่มชา “ ทั้งชาเขียว ชาดำ ชาแดง ชาขาว และชานานาชนิด และยังมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายรูปแบบใบชาแห้งชงน้ำแบบดั้งเดิม ชาผงอินสแตนต์ ชาขวดพร้อมดื่ม ชาบรรจุกล่องเหมือนนม UHT รู้หรือไม่ว่าธุรกิจชาพร้อมดื่มมูลค่าปีละหมื่นล้านบาท เหตุที่ยิ่งขายยิ่งมีคนหันมาดื่มชากันมากขึ้นเพราะกระแสสรรพคุณของใบชานี่เองทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลเรื่องประโยชน์จากชามานานกว่า 100 ปี มาแล้ว แต่ไม่เร้าใจเท่าระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อผลการศึกษาพบว่า ชามีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นหรือต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็งหรือลดการเสี่ยงของมะเร็ง ยังมีสรรพคุณที่คนสมัยนี้ชอบมากคือ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด ยังลดการอักเสบ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากช่วยให้ปากสะอาดไร้กลิ่น
สรรพคุณโดนใจขนาดนี้จึงเป็นที่หมายปองของคนประเภทกินไม่ยั้ง กินไม่เหมาะสม และยังไม่ชอบออกกำลังกาย กลุ่มคนนี้มักจะหาอะไรก็ได้กินดื่มหลังอาหารรวดเดียวเพื่อจะได้เป็นยาแก้ได้สารพัดนึก จึงทำให้เครื่องดื่มชาเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วนั่นเอง และเพราะการดื่มชาไม่ใช่เป็นสิ่งที่แปลกปลอมในวัฒนธรรมของชาวเอเชีย คนไทยจึงรับการดื่มชาได้ง่าย
ในใบชามีสารประกอบหลายชนิด แต่ที่พูดถึงกันมากคือ สารกลุ่มโพลีฟีนอล เพื่อบำรุงสุขภาพแต่ควรให้รู้ไว้ด้วยว่า ชาแช่เย็นบรรจุขวดหรือกล่องที่ขายดีและแพงนั้น ไม่เหลือสรรพคุณทางยาแต่อย่างโด มีแต่รส กลิ่น กาแฟอีน สารแทนนิน และน้ำตาลธรรมดา ๆ เท่านั้น
แต่ไม่ควรลืมด้วยว่า ใบชานอกจากมีสารออกทฤธิ์เพื่อสุขภาพแล้ว ยังมีกาแฟอีน และสารแทนนิน ( รสฝาด ) รวมอยุ่ด้วย สารกาแฟอีนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ บางคนแพ้สารชนิดนี้ดื่มไปเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ใจสั่นนอนไม่หลับ โดยทั่วไปน้ำชา 1 ถ้วย ( ประมาณ 170 ซีซี )
มีสารกาแฟอีนอยู่ประมาณ 25.5 – 34 มิลลิกรัม ถ้าดื่มน้ำชา 10 – 12 ถ้วย ต่อวันก็จะได้รับสารกาแฟอีนเป็นจำนวนมากด้วย
และข้อมูลความรุ้ที่ควรรับรู้ทั่วกันว่า ในน้ำชาและกาแฟ มีสารกาแฟอีน และสารแทนนิน วึงสารทั้ง 2 ชนิดนี้ มีผลทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบีและธาตุเหล็กลดลง มีการศึกษาพบว่า กาแฟทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กลดลงร้อยละ 23 – 60 ส่วนน้ำชาทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ร้อยละ 85 – 88 สารที่ขัดขวางการดูดซึมคือสารแทนนิน วึ่งในชามีมากกว่ากาแฟ ในการศึกษายังพบอีกว่าการดื่มนมไม่ทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กเปลี่ยนแปลง พูดง่าย ๆ เสมอตัว และที่น่าสนใจพบว่าการดื่มน้ำส้มจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ดังนั้นการดื่มชาครั้งต่อไปควรบีบมะนาวใส่ตามลงไปด้วย นอกจากนี้ควรใส่ใจว่า สารแทนนินที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบีและธาตุเหล็กนั้น จะเพิ่มขึ้นมากเมื่อแช่หรือทิ้งใบชาไว้ในน้ำนาน ๆ ให้สังเกตว่าถ้าชามีรสฝาดมากก็แสดงว่า
มีสารแทนนินมาก จึงไม่ควรแช่ถุงชาไว้นานเกินไป แต่โชคดีที่ว่าการลดการดูดซึมธาตุเหล็กของชานั้น มีผลเฉพาะธาตุเหล็กที่อยู่ในพืช แต่ไม่มีผลต่อธาตุเหล็กในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ฯลฯ ดังนั้น ผู้รับประทานมังสวิรัติจึงต้องระมัดระวังในการดื่มชา เพราะจะไปลดการได้รับธาตุเหล็กของร่างกาย และแน่นอนว่าสตรีตั้งครรภ์ และเด็ก ๆ ที่กำลังเติบโตมีความต้องการวิตามินบีและธาตุเหล็กจึงไม่แนะนำให้ดื่มชาหรือกาแฟ
และมีข้อเตือนใจสำหรับคนที่อยากได้สุขภาพดี ๆ จากใบชา มีรายงานพบว่าคนที่มีสุขภาพดีกินอาหารที่สมดุลอยู่แล้ว การดื่มชาไม่ส่งผลต่อสภาวะธาตุเหล็กในร่างกาย แต่คนที่มีสุขภาพที่ย่ำแย่และมีภาวะธาตุเหล็กในร่างกายต่ำอยู่แล้ว ไม่ควรดื่มน้ำชาหรือกาแฟ รายงานนี้เตือนสติอีกประการว่า คนที่หวังดื่มชาเพื่อให้มีสารต้านออกซิเดชั่น เพื่อฟื้นฟูร่างกายมักเป็นคนที่สุขภาพไม่ค่อยดี ดังนั้น ขณะที่ อยากได้สารต้านอนุมูลอิสระก็จะต้องระวังการลดการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายด้วย
มีเคล็ดลับมาฝากไว้ว่าใครที่ยังอดใจทิ้งชาไม่ได้เพราะว่าติดสารกาแฟอีนเข้าแล้ว และก็เสียดายสรรพคุณดี ๆ ในน้ำชา ขอให้หลีกเลี่ยงดื่มชาหลังอาหาร ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง และใครที่ดื่มวันละ 3 – 4 ถ้วย ก็ให้ดื่มแบบกระจาย ๆ อย่าหมารวดเดียว คือเฉลี่ยดื่มระหว่างมื้ออาหาร เพื่อรอให้ร่างกายย่อยและดูดซึมวิตามินบีและธาตุเหล็กเสียก่อน
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือมติชน สุดสัปดาห์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1525
- นางสาว สุทธิภรณ์ ไม้วัฒนา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
- www.school.net
- www.tlcthai.comhttp://news.siamjobit.com
คำถามท้ายบท
1. กรรมวิธีการบ่มหมักหรือการผลิตชามีกี่วิธีอะไรบ้าง จงตอบมาเป็นข้อ ๆ
2. ประโยชน์ของการดื่มชา มีอะไรบ้าง จงตอบมาเป็นข้อ ๆ
3. ชาถือกำเนิดมาจากพืชตระกูลใด และมีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่าอย่างไร
---------------------------------------