กาแฟ
ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด
2 การจัดการเพื่อผลิตกาแฟปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
เนื้อหา
1 การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟสมบูรณ์และตรงตามพันธุ์
1.1 การเลือกต้นพันธุ์
- เลือกพันธุ์ที่ปลูกตรงตามความต้องการของตลาด มาจากแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
q กาแฟอาราบิก้า เลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิม ต้นเตี้ย ข้อสั้น และผลผลิตสูง
สม่ำเสมอ
q กาแฟโรบัสต้า เลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี ลำต้น
ตั้งตรง กิ่งยาว ข้อถี่ จำนวนผลต่อข้อมาก น้ำหนักเมล็ดกาแฟแห้งเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 กรัมต่อ 100 เมล็ด
- ต้นกล้าที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 8-12 เดือน หลังเพาะเมล็ด หรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 4 คู่ หรือมีความสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
- จดบันทึกพันธุ์ แหล่งที่มาและประวัติของต้นกล้าไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
1.2 การใส่ปุ๋ย
- ให้ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 ผสมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 1:1 แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้นและกลางฤดูฝน ในขณะที่ต้นกาแฟยังไม่ให้ผลผลิต เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนและพัฒนาการของใบอ่อน เมื่อต้นกาแฟเริ่มให้ผลผลิตให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อกระตุ้นการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของผล อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นเท่ากับ 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มเป็นเมตร หว่านให้ทั่วทรงพุ่ม
- ควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินด้วย
- ควรมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกจากผล/เยื่อกาแฟ เป็นต้น มาทำเป็นปุ๋ย
เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ควรมีการจดบันทึกชนิด อัตรา และปริมาณการใส่ปุ๋ยในสวนกาแฟ
1.3 การตัดแต่งกิ่ง
- เมื่อสังเกตพบว่ากิ่งล่างเริ่มไม่ให้ผลผลิต หรือผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ต่อต้นเริ่มลดลง ควรตัดแต่งกิ่งให้เหมาะกับสภาพสวนและทรงพุ่ม
- หากเป็นต้นกาแฟที่ปลูกในสภาพใต้ร่มเงา ตัดต้นให้เหลือความสูงต้นจากพื้นดินประมาณ 50-75
เซนติเมตร ปล่อยให้แตกกิ่งข้างและเลือกกิ่งข้างที่สมบูรณ์ 1 กิ่ง เพื่อเป็นยอดนำ และพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้ในปีถัดไป ซึ่งจะให้ผลผลิตต่อได้อีก 2-3 ปี จากนั้นจะแตกกิ่งข้างและกิ่งแขนงอีกมากมายเป็นทรงพุ่มใหม่ ซึ่งจะให้ผลผลิตต่อเนื่องได้ประมาณ 5-8 ปี และเมื่อต้นมีการเจริญเติบโตจนมีความสูงประมาณ 170-180 เซนติเมตรจากพื้นดิน ก็ตัดต้นให้เหลือความสูงจากพื้นดินประมาณ 120-150 เซนติเมตร แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับการตัดแต่งครั้งแรก
- หากเป็นต้นที่ปลูกในสภาพกลางแจ้ง ตัดต้นให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร ปล่อยให้แตกกิ่งใหม่และเลี้ยงเป็นลำต้นใหม่ที่แข็งแรงประมาณ 2-4 กิ่ง จะสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี ขณะเดียวกันก็จะมีกิ่งใหม่แตกขึ้นมาจากลำต้นเดิมอีก ซึ่งสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ ตัดให้เหลือ 3 ลำต้น จากนั้นตัดต้นกาแฟที่เจริญเติบโตจากการตัดแต่งครั้งแรกทิ้งไป เลี้ยงต้นใหม่ 3 ต้นแทน ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้อีก 2-4 ปี จึงตัดต้นทิ้งให้เหลือตอแล้วปล่อยให้แตกต้นใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยไป
2 การจัดการเพื่อผลิตกาแฟปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
2.1 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
เช่น วิธีกล วิธีการเขตกรรม วิธีชีวภาพ รวมทั้งวิธีใช้สารเคมี ทั้งนี้ให้พยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด (รายละเอียดชนิดศัตรูพืช ลักษณะการทำลาย วิธีการป้องกันกำจัด ตามตารางที่ 1)
2.2 การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม ควรปฏิบัติดังนี้
- ห้ามใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 รายชื่อวัตถุอันตรายห้ามใช้ในการเกษตร และต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาต
- ให้เลือกใช้ในชนิด อัตรา และระยะเวลาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ตรวจสอบเครื่องพ่นสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อป้องกันสารพิษเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่น
- สวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และรองเท้า
- เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ให้หมดในคราวเดียวไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
- ควรพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
- หยุดใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยวตามเวลาที่ระบุตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ และเก็บในสถานที่เก็บสารเคมีที่มิดชิด และปลอดภัย
- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
- ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดและล้างสารเคมีออกหมดตามคำแนะนำ ต้องไม่นำกลับมาใช้อีกและต้องทำให้ชำรุดเพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก แล้วนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีโดยเฉพาะ หรือทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย
- จดบันทึกการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ตารางที่ 1 : สรุปคำแนะนำการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการผลิตกาแฟ
ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย | ชนิดสารเคมี/อัตรา |
เพลี้ยหอยสีเขียว-ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดและใบหงิกงอ ผิดรูปร่าง ใบร่วง ต้นชะงักการเจริญเติบโต หนอนเจาะลำต้นกาแฟ- หนอนจะกัดกินและชอนไชอยู่ใต้เปลือกไม้ อาจกัดกินเนื้อไม้เป็นทางยาวหรือควั่นเปลือกรอบต้น ตั้งแต่บริเวณโคนต้นขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น หนอนกาแฟสีแดง- ตัวหนอนสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง มีลายวงแหวนสีเหลือง ขนสีขาวบนท้อง กัดกินเนื้อเยื่อภายในลำต้น ทำให้ยอดแห้งเหี่ยว ต้นตายตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกหนอนทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกสีขาว มีจุดสีดำอยู่เต็มบริเวณปีกคู่หน้า วางไข่บนกิ่งและลำต้นประมาณ 300-500 ฟอง มอดเจาะผลกาแฟ- เป็นแมลงปีกแข็งสีดำขนาด 1 มิลลิเมตร วางไข่ ขยายพันธุ์ และกัดกินอยู่ภายในผลกาแฟตั้งแต่ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย | - เมื่อสำรวจพบการระบาด พ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร - เมื่อพบการทำลายพ่นด้วยสารเฟนิโตรไธออน 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร - รักษาบริเวณสวนให้สะอาดและหมั่นตรวจต้น/กิ่งกาแฟอยู่เสมอ - หากพบรอยที่หนอนเจาะ ตัดกิ่งที่ถูกทำลายไปเผาเพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป - ไม่ควรนำมาปลูกชมพู่ ชบา และลิ้นจี่ในสวนกาแฟหรือบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากเป็นพืชอาศัยของหนอนกาแฟสีแดง - พ่นบริเวณกิ่งลำต้นทุก 15 วัน หรือพ่นเมื่อพบการทำลายด้วยสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน หรือสารเฟนิโตรไธออน 50% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทาให้ทั่วลำต้น - ควรเก็บผลกาแฟสุกหรือแห้งที่ติดอยู่บนต้นหรือร่วงหล่นใต้ทรงพุ่ม นำไปเผาทำลายนอกแปลง - พ่นด้วยสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 35มิลลิลิตร ชนิดสารเคมี/อัตรา |
มิลลิเมตรจนกระทั่งผลสุก โรคแอนแทรคโนส- ใบเป็นจุดสีน้ำตาลแล้วขยายใหญ่ ขึ้น เนื้อเยื่อกลางแผลตายมีสีน้ำตาลไหม้จุดแผลแต่ละจุดขยายเชื่อมต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้ หรือพบกิ่งสีเขียวมีอาการไหม้ กิ่งเหี่ยวแห้ง ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ตาดอกเหี่ยว อาจทำลายทั้งผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาล แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบ ผลกาแฟหยุดการเจริญเติบโตและเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลยังคงแห้งติดอยู่บนกิ่ง โรคราสนิม- มักเกิดในอาราบิก้าทั้งใบอ่อนและ ใบแก่ ทั้งระยะต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบจุดสีเหลืองขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และขยายขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ มีผงสีส้มบนแผล ใบร่วง และกิ่งแห้ง | ต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 28 วัน พ่นทุก 15 วันตั้งแต่ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตรจนถึงผลสุก หรือพ่นเมื่อพบการระบาด - ตัดแต่งกิ่งและเก็บผลที่เป็นโรคเผาทำลาย - บำรุงต้นให้แข็งแรงโดยการให้น้ำและปุ๋ย เพื่อป้องกันการทำลายของเชื้อ -พ่นด้วยสารแมนโคเซบ 80% ดับลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน เมื่อพบอาการของโรคในระยะการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขาและระยะติดผล หยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% ดับลิวพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-14 วันในระยะ แตกใบอ่อน ก่อนดอกบาน และระยะติดผลอ่อน ควรใช้พันธุ์อาราบิก้าที่ต้านทานโรค เมื่อพบอาการโรค พ่นด้วยสารบอร์โดมิกซ์เจอร์ 0.5% หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร |
ชนิดศัตรูพืชและลักษณะการทำลาย | ชนิดสารเคมี/อัตรา |
โรคเน่าดำ- ใบจะเน่ามีสีดำ จากนั้นอาการจะลุกลามไปยังกิ่งและผลที่กำลังเจริญเติบโต ใบกาแฟจะแห้งตายและมีเส้นใยของเชื้อรายึดใบให้ติดอยู่กับกิ่งทำให้ใบไม่ร่วง หากเกิดกับผลทำให้ผลเปลี่ยนเป็นสีดำและหลุดร่วง โรคเน่าแห้ง- ต้นกาแฟมีใบเหลืองและเหี่ยว ใบหลุดร่วง กิ่งแห้งตาย รากเน่าและแห้งตาย เมื่อปากรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ในดิน จะพบเนื้อเยื่อเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเทา | เมื่อพบอาการของโรค ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 62% ดับลิวพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน เมื่อพบอาการของโรค ถอนหรือขุดต้นกาแฟที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อทำลายแหล่งเพาะเชื้อ |
3 การจัดการเพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดีและปลอดภัยจากสารออคราทอกซิน เอ
3.1 วิธีการเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวผลกาแฟเมื่อผลมีสีแดง หรือสีเหลือง หรือสีส้มแดง(แล้วแต่พันธุ์) มากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของพื้นที่ผิวทั้งผล หรือเมื่อทดลองใช้นิ้วบีบผลกาแฟที่เปลือกเปลี่ยนสีแล้ว ถ้าผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมา เก็บเกี่ยวโดยใช้มือปลิดผลกาแฟที่สุกพอดีด้วยความระมัดระวัง ในกรณีที่เก็บเกี่ยวทั้งช่อจำนวนผลที่สุกแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของจำนวนผลในช่อ
- รวบรวมผลิตผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวแล้วใส่ภาชนะที่สะอาด แล้วขนย้ายไปยังโรงเรือนภายในแปลง หรือในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเททันที
3.2 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
- เทผลกาแฟลงในภาชนะที่สะอาดและใส่น้ำสะอาดลงไปเพื่อใช้ในการคัดเลือกผลกาแฟ คัดผลกาแฟที่ลอยน้ำทิ้งไป เนื่องจากเป็นผลที่ฝ่อ หรือผลที่ถูกทำลายด้วยมอดเจาะผลกาแฟ ผลที่จมน้ำจะเป็นผลที่มีเมล็ดสมบูรณ์
- ในกรณีที่ต้องการผลิตสารกาแฟโดยวิธีแห้ง นำผลกาแฟที่จมน้ำมาตากบนลานตาก ที่สะอาดเกลี่ยกองผลกาแฟให้มีความหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร และพลิกกลับกองผลกาแฟ 2-4 ครั้งต่อวันในช่วง 1-10 วันแรกของการตาก ในตอนเย็นควรเก็บผลมากองรวมกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกันน้ำค้าง ตากจนผลกาแฟแห้ง เมล็ดมีความชื้นไม่เกิน 13% และไม่มีเศษหิน เศษดินและวัสดุอื่นคละปน
- ในกรณีต้องการผลิตสารกาแฟโดยวิธีเปียก นำผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวและผ่านการคัดแยกแล้วมาปอกเปลือกนอกทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกับมิให้สารกาแฟเสียรสชาติไป โดยใช้เครื่องปอกเปลือกและใช้น้ำสะอาดขณะที่เครื่องทำงาน จากนั้นนำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือกแล้วไปขจัดเมือกออกโดยวิธี
· หมักตามธรรมชาติ นำเมล็ดกาแฟในบ่อซีเมนต์ขนาด 3x1.5x1.2 เมตร ที่มีรูระบายน้ำออกด้านล่าง ใส่เมล็ดกาแฟลงไปประมาณ 3 ใน 4 ของบ่อ ใส่น้ำให้ท่วมเมล็ดกาแฟ แล้วปิดปากบ่อด้วยผ้าหรือพลาสติก ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง ล้างเมล็ดกาแฟให้สะอาด นำมาขัดอีกครั้งในตะกร้าตาถี่ที่มีปากกว้างและก้นไม่ลึกมาก เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดกาแฟลื่นไหล จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปตากให้แห้ง
· การใช้ด่าง นำเมล็ดกาแฟ 250-300 กิโลกรัม แช่สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10%(โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร) ในบ่อซีเมนต์ที่ใช้หมักเมล็ดกาแฟ เกลี่ยเมล็ดให้เสมอกัน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วใช้ไม้พายกวนเมล็ดกาแฟเพื่อให้สารละลายกระจายทั่วทั้งบ่อนานประมาณ 30-60 นาที ตรวจสอบว่าด่างย่อยเมือกออกหมดหรือยัง หากยังไม่หมดกวนต่อไปอีกประมาณ 30 นาที แล้วตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกำจัดเมือกออกหมดแล้ว นำเมล็ดกาแฟไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ครั้ง แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง หรือ
· การใช้แรงเสียดทาน เป็นการปอกเปลือกนอกและกำจัดเมือกของเมล็ดกาแฟในเวลาเดียวกันโดยใช้เครื่องปอกเปลือก Aquapulper ซึ่งสะดวกกว่า 2 วิธีแรกแต่อาจทำให้เกิดแผลบนเมล็ดกาแฟ ดังนั้นควรคัดผลกาแฟที่มีขนาดใกล้เคียงกันก่อนนำมาใช้เครื่องปอกเปลือกนี้
นำเมล็ดกาแฟที่ปอกเปลือก กำจัดเมือก และล้างให้สะอาด มาตากบนลานตากที่สะอาด เกลี่ยเมล็ดกาแฟให้กระจายสม่ำเสมอให้มีความหนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร และพลิกกลับกองเมล็ดกาแฟ 2-4 ครั้งต่อวัน ตากนานประมาณ 7-10 วันจนเมล็ดกาแฟแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 13%
- ตรวจสอบความชื้นของผลหรือเมล็ดกาแฟ โดยกำผลกาแฟแล้วเขย่าจะเกิดเสียงดัง หรือเมื่อเมล็ดแตกเมื่อใช้ค้อนทุบ
- บรรจุผลกาแฟ หรือเมล็ดกาแฟ แห้งในกระสอบป่านที่ใหม่ สะอาด แล้วเก็บรักษาใน โรงเก็บที่สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือขนส่งไปยังแหล่งรวบรวมหรือผู้รับซื้อทันที
- ผลที่แห้งแล้วมีความไวต่อการดูดกลิ่นได้ดีและเก็บได้ไม่นาน จึงควรกะเทาะเปลือกออกทันทีหลังตากแห้งด้วยเครื่องสีเปลือกกาแฟ จะได้ส่วนของเมล็ดกาแฟแห้ง(สารกาแฟ)
3.3 การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟแห้ง
- ควรเก็บในกระสอบป่านที่สะอาด ใหม่ ไม่อับชื้น ไม่มีกลิ่นเหม็น
- โรงเก็บควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเก็บไม่ควรเกิน 60 % วางกระสอบกาแฟบนชั้นวางที่มีความสูง 15เซนติเมตรห่างจากฝาผนัง และหลังคาประมาณ 50 และ 100 เซนติเมตร ตามลำดับ
- คุณภาพเมล็ดกาแฟเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และระยะเวลาในการเก็บ
3 4 สารออคราทอกซิน ชนิดเอ ( Ochratoxin A )
- กาแฟจัดเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งที่มีการตรวจพบการปนเปื้อนของสารพิษสารออคราทอกซิน ชนิดเอ ซึ่งเป็นสารพิษที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus ochraceus มีความเป็นพิษทำอันตรายต่อระบบประสาท ตับ และไต
- หน่วยงานต่างๆ เช่น FAO , WTO , CODEX ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งองค์การค้าโลก (WTO ) ได้กำหนดค่าปริมาณสารออคราทอกซิน ชนิดเอ ที่ยอมให้มีได้ในเมล็ดกาแฟและผลิตภัณฑ์ไว้ที่ 5 และ 3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- สารออคราทอกซิน ชนิดเอ เกิดขึ้นได้ในระหว่างการผลิต โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้น ตั้งแต่ระยะเก็บเกี่ยวผลกาแฟ ระยะการตากแห้งผลกาแฟ และระยะเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ เมื่อนำเมล็ดกาแฟไปผ่านการแปรรูปแล้ว สารพิษเหล่านี้ก็อาจยังปนเปื้อนอยู่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
- การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงช่วยป้องกันการเกิดสารออคราทอกซิน
3.5. การควบคุมการคละปนของผลิตผลด้อยคุณภาพ
- ตรวจสอบผลิตผลที่เก็บเกี่ยวและที่ผ่านการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวแล้วว่าไม่มีเศษหิน เศษดิน และวัสดุอื่นๆ คละเจือปน
- เรียงหรือเก็บภาชนะบรรจุที่ผ่านการตรวจสอบการคละปนแล้ว ให้เป็นหมวดหมู่ และเป็นระเบียบ รอการขนส่ง
3.6 การจดบันทึก
- ควรจดบันทึกรายละเอียดการเก็บเกี่ยวผลกาแฟและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวในแปลงแต่ละครั้ง ได้แก่ วัน เดือน ปีที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก(ผลกาแฟที่มีผิวเปลี่ยนสีแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของพื้นที่ผิวทั้งหมด และผ่านการคัดเลือกโดยวิธีลอยน้ำสะอาดแล้ว) วัน เดือน ปี ที่ผลิตสารกาแฟโดยวิธีเปียก ปริมาณผลกาแฟหรือเมล็ดกาแฟที่ตาก ขนาดพื้นที่ลานตาก วัสดุ ทำพื้นที่ลานตาก วันเวลาที่เริ่มตากและตากเสร็จ วันเวลากลับกองผลหรือเมล็ดกาแฟ รวมทั้งสภาพภูมิอากาศในขณะตากผลหรือเมล็ดกาแฟ
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 หมายถึงวัตถุอันตรายที่ห้ามนำเข้า ห้ามผลิต ห้ามส่งออก ห้ามใช้และห้ามมีไว้ | ||||
ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มี 94 ชนิด | ||||
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
1 | คลอร์ไดมีฟอร์ม | กำจัดแมลง | เมษายน | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
(chlordimeform) | (Insecticide) | 2520 | ||
2 | เลปโตฟอส | กำจัดแมลง | เมษายน | บริษัทขอถอนผลิตภัณฑ์จากตลาด |
(leptophos) | (Insecticide) | 2520 | เนื่องจากผลการทดลอง มีแนวโน้มว่า | |
จะเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง | ||||
3 | บีเอชซี | กำจัดแมลง | มีนาคม | มีฤทธิ์ตกค้างนานมาก เป็นสารที่อาจ |
(BHC) | (Insecticide) | 2523 | ก่อให้เกิดมะเร็ง | |
4 | โซเดียม อาร์ซีไนต์ | กำจัดแมลง | มกราคม | ทำให้เกิดพิษสะสมในดินได้นาน เป็น |
(sodium arsenite) | (Insecticide) | 2524 | อันตรายต่อมนุษย์ โดยเป็นสารที่ทำให้ | |
ทารกในครรภ์พิการหากได้รับสาร | ||||
5 | เอ็นดริน | กำจัดแมลง | กรกฎาคม | มีฤทธิ์ตกค้างนาน เสี่ยงภัยในการใช้ |
(endrin) | (Insecticide) | 2524 | และการบริโภค มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ใน | |
เมล็ดพืชที่ส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ | ||||
ทำให้ถูกห้ามนำเข้าผลิตผลการเกษตร | ||||
สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ศัตรูที่ต้องการกำจัด มี | ||||
โอกาสได้รับอันตรายมาก เป็นพิษต่อ | ||||
ปลาสูงมาก | ||||
6 | ดีดีที | กำจัดแมลง | มีนาคม | เป็นสารที่มีแนวโน้มทำให้สัตว์ทดลอง |
(DDT) | (Insecticide) | 2526 | เกิดเป็นมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้างนาน | |
7 | ท๊อกซาฟีน | กำจัดแมลง | มีนาคม | เป็นสารที่มีแนวโน้มทำให้สัตว์ทดลอง |
(Insecticide) | 2526 | เกิดเป็นมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้างนาน | ||
8 | 2,4,5-ที | กำจัดวัชพืช | กันยายน | เป็นสารที่ใช้แล้วมีพิษตกค้างนาน |
(2,4,5-T) | (Herbicide) | 2526 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และอาจ | |
ทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติ | ||||
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
9 | ทีอีพีพี (TEPP) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2527 | มีค่าความเป็นพิษต่ำมาก มีความเสี่ยงภัยต่อผู้ใช้สูง |
10 | อีดีบี (EDB) | สารใช้รม(Fumigant) | กรกฎาคม2529 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเป็นสารที่อาจทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ |
11 | โซเดียมคลอเรท(Sodium chlorate) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | ตุลาคม 2529 | เป็น strong oxidant ติดไฟง่าย เสี่ยงภัยในการเก็บรักษา และอาจระเบิดได้ |
12 | ไดโนเส็บ (Dinoseb) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | พฤศจิกายน2529 | เป็นสารที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน(teratogenic effect) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสารที่อาจมีผลในการก่อให้เกิดมะเร็ง(carcinogenic effect) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
13 | แคปตาโฟล (Captafol) | สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide) | เมษายน2530 | เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง |
14 | ฟลูออโรอะเซทตาไมด์(fluoroacetamide) | สารกำจัดหนู(Rodenticide) | กรกฎาคม2530 | มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องมีความเสี่ยงภัยจากการใช้มาก |
15 | ฟลูออโรอะซีเตทโซเดียม(fluoroacetateSodium) | สารกำจัดหนู(Rodenticide) | กรกฎาคม 2530 | มีค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องมีความเสี่ยงภัยจากการใช้มาก |
16 | ไซเฮกซาติน(Cyhexatin) | สารกำจัดไร(Acaricide) | พฤษภาคม 2531 | เป็นสารที่มีโลหะหนัก (ดีบุก) เป็นองค์ประกอบ สลายตัวได้ยากในสิ่งแวดล้อม |
17 | พาราไธออน(Parathion) | กำจัดแมลง(Insecticide) | พฤษภาคม 2531 | มีพิษเฉียบพลันต่อมนุษย์สูงมาก โดยเฉพาะการซึมเข้าทางผิวหนัง ผู้ใช้เสี่ยงภัยสูง |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
18 | ดีลดริน (Dieldrin) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กำจัดแมลง(Insecticide) | เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมในสิ่งแวดล้อมในร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ ไม่มีการพิสูจน์ในเรื่องพิษเรื้อรังอย่างเด่นชัด เสี่ยงในการใช้มากกว่าสารตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันเนื่องจากมีค่าความเป็นพิษต่ำกว่าสารชนิดอื่น |
19 | ออลดริน (aldrin) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2531 | เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายมนุษย์และสัตว์ |
20 | เฮปตาคลอร์(heptachlor) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2531 | เป็นสารที่มีพิษตกค้างนาน สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายมนุษย์และสัตว์ |
21 | ดามิโนไซด์(daminozide) | สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Regulater) | เมษายน 2532 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
22 | ไบนาพาคริน(binapacryl) | สารกำจัดไร(Acaricide) | กุมภาพันธ์ 2534 | เป็นสารที่มีผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์และเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
23 | เพนตะคลอร์โรฟีนอล(pentachloro phenol) | สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide) | สิงหาคม 2536 | เป็นสารที่มีพิษสูง ทำอันตรายต่อผิวหนังดูดซึมเข้าร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้รวดเร็ว สลายตัวได้ยาก มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม |
24 | เพนตะคลอร์โรฟีนอลโซเดียม (pentachloro phenol sodium) | สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide) | สิงหาคม 2536 | เป็นสารที่มีพิษสูง ทำอันตรายต่อผิวหนังดูดซึมเข้าร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้รวดเร็วสลายตัวได้ยาก มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
25 | สารประกอบเมอร์คิวรี่(ปรอท) (Mercury compounds) | กำจัดแมลง(Insecticide) | สิงหาคม 2536 | เป็นสารที่มีพิษสูงสลายตัวยากมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมนานเป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำ |
26 | เอทธีลีน ไดคลอไรด์(ethylene dichloride) | สารใช้รม(Fumigant) | กันยายน 2537 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
27 | อะมิโนคาร์บ(aminocarb) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
28 | โบรโมฟอส(bromophos) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
29 | โบรโมฟอส เอทธิล(bromophos-ethyl) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
30 | ดีมีตอน (demeton) | กำจัดแมลง(Insecticide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
31 | เฟนทิน (fentin) | สารป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
32 | ไนโทรเฟน (nitrofen) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | กันยายน 2537 | มีค่า ADI ต่ำมากเสี่ยงภัยต่อการใช้ |
33 | อะราไมท์ (aramite) | สารกำจัดไร (Acaricide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และปัจจุบันไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย |
34 | คลอร์เดน (chlordane) | กำจัดแมลง(Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้าง เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง มีฤทธิ์ตกค้าง มีหลายประเทศห้ามใช้หรือจำกัดการใช้ และมีสารอื่นใช้ทดแทนได้ |
35 | คลอร์ดีโซน(chlordecone) | กำจัดแมลง(Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
36 | คลอร์โรฟีนอลส์(chlorophenols) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
37 | 2,4,5-ทีพี (2,4,5-TP) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
38 | ฟีโนไธออล (phenothiol) | กำจัดวัชพืช(Herbicide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
39 | เอ็มซีพีบี (MCPB) | กำจัดวัชพืช (Herbicide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
40 | มีโคพรอพ (mecoprop) | กำจัดวัชพืช (Herbicide) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
41 | ดีบีซีพี (DBCP) | สารใช้รม (Fumigant) | พฤษภาคม 2543 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ |
42 | โมโนโครโตฟอส (monocrotophos) | กำจัดแมลง (Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง พบพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตรในปริมาณสูงเกินค่าปลอดภัย |
43 | อะซินฟอส เอทธิล(azinphos ethyl) | กำจัดแมลง (Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง |
44 | เมวินฟอส (mevinphos) | กำจัดแมลง (Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง |
45 | ฟอสฟามิดอน(phosphamidon) | กำจัดแมลง (Insecticide) | พฤษภาคม 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง |
46 | อะซินฟอส เมทธิล(azinphos methyl) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
47 | แคลเซี่ยม อาร์ซีเนท(calcium arsenate) | กำจัดแมลง(Insecticide)และกำจัดวัชพืช(Herbicide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
48 | คลอร์ไธโอฟอส(chlorthiophos) | กำจัดแมลง,ไร(Insecticide, Acaricide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
49 | ไซโคลเฮ็กซิไมด์(cycloheximide) | สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
50 | ดีมีฟิออน (demephion) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
51 | ไดมีฟอกซ์ (dimefox) | กำจัดแมลง (Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
52 | ไดโนเธิร์บ (dinoterb) | สารกำจัด วัชพืช(Herbicide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
53 | ไดซัลโฟตอน (disulfoton) | กำจัดแมลง (Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
54 | ดีเอ็มโอซี (DNOC) | กำจัดแมลง (Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
55 | เฟนซัลโฟไธออน (fensulfothion) | สารกำจัดไส้เดือนฝอย (Nematicide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
56 | โฟโนฟอส (fonofos) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
57 | มีฟอสโฟแลน(mephosfolan) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
58 | พารีส กรีน (paris green) | กำจัดแมลง(Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
59 | ฟอเรท (phorate) | กำจัดแมลง (Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
60 | โปรโธเอท (prothoate) | กำจัดแมลง (Insecticide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
61 | สะคราแดน (schradan) | กำจัดแมลง,ไร (Insecticide, Acaricide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
62 | ซัลโฟเทป (sulfotep) | กำจัดแมลง,ไร (Insecticide, Acaricide) | มิถุนายน 2543 | มีพิษเฉียบพลันสูง และบางประเทศได้ห้ามใช้ |
63 | อะมิโทรล (amitrole) | กำจัดวัชพืช (Herbicide) | ธันวาคม 2544 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
64 | เบต้า-เอชซีเอช (beta- HCH) | กำจัดแมลง(Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีผลในด้านพิษเรื้อรังต่อตับ ต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนผิดปกติ ทำให้เกิดเนื้องอกมีความคงทนในสภาพแวดล้อม |
65 | แค็ดเมียมและสารประกอบแค็ดเมียม(cadmium and cadmium compounds) | ป้องกันกำจัดโรคพืช(Fungicide) | ธันวาคม 2544 | มีผลในการทำลายไตอาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
66 | คาร์บอน เตตระคลอไรด์(carbon tetrachloride) | ใช้รม(Fumigant) | ธันวาคม 2544 | มีพิษเฉียบพลันสูงเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ |
67 | คลอโรเบนซิเลท(chlorobenzilate) | กำจัดไร(Acaricide) | ธันวาคม 2544 | เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
68 | ค๊อปเปอร์ อาร์ซีเนทไฮดร๊อกไซด์(copper arsenate hydroxide) | กำจัดแมลง(Insecticide)และป้องกันกำจัดโรคพืช(Fugicide) | ธันวาคม 2544 | มีพิษเฉียบพลันสูงมีพิษเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
69 | เอทธิล เฮกไซลีน ไกลคอล (ethyl hexyleneglycol) | กำจัดแมลง(Insecticide) | ธันวาคม 2544 | อาจก่อให้เกิดการแท้ง หรือมีผลต่อทารก |
70 | เอทธิลีน ออกไซด์(ethylene oxide) | ไล่แมลง(Repellent) | ธันวาคม 2544 | มีผลในด้านพิษเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ หรืออาจเกิดมะเร็ง |
71 | เฮ็กซะคลอโรเบนซีน(hexachlorobenzene) | ป้องกันกำจัดโรคพืช(Fugicide) | ธันวาคม 2544 | มีความคงทนในสภาพแวดล้อมเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
72 | ลีด อาร์ซีเนท (lead asenate) | กำจัดแมลง (Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีพิษเฉียบพลันสูง มีพิษเรื้อรัง อาจทำให้เกิดเนื้องอก ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
73 | ลินเดน (lindane) | กำจัดแมลง (Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
74 | เอ็มจีเค รีเพลเล็นต์-11(MGK repellent-11) | ไล่แมลง(Repellent) | ธันวาคม 2544 | มีผลในด้านพิษเรื้อรัง ทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ อาจก่อให้เกิดเนื้องอก หรือมะเร็ง |
75 | ไมเร็กซ์ (mirex) | กำจัดแมลง(Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
76 | ไพรินูรอน (พิริมินิล) (pyrinuron) (pyrimini) | กำจัดหนู(Rodenticide) | ธันวาคม 2544 | มีพิษเฉียบพลันสูงอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน |
77 | แซฟโรล (safrole) | ขับไล่สัตว์เลี้ยงในบ้าน | ธันวาคม 2544 | เป็นสารอาจก่อมะเร็ง |
78 | สโตรเบน (โพลีคลอโรเทอร์พีนส์) (strobane) (polychloroterpene) | กำจัดแมลง(Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีความคงทนในสภาพแวดล้อม สามารถสะสม และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็ง |
79 | ทีดีอี หรือ ดีดีดี TDE or DDD | กำจัดแมลง(Insecticide) | ธันวาคม 2544 | มีความคงทนในสภาพแวดล้อมเป็นสารอาจก่อให้เกิดมะเร็งสะสมได้ในไขมันมีผลต่อระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกนกและปลา |
80 | แธลเลียม ซัลเฟต(thallium sulfate) | กำจัดหนู(Rodenticide) | ธันวาคม 2544 | มีพิษเฉียบพลันสูงมีความคงทนในสภาพแวดล้อมมีพิษสะสมมีผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย เป็นอันตรายต่อสัตว์ที่มิใช่เป้าหมาย |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
81 | แอสเบสทอล อะโมไซท์(asbestos-amosite) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
82 | เบนซิดิน (benzidine) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
83 | บิส คลอร์โรเททธิลอีเธอร์(bis(chloromethyl)ether) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
84 | 4-อะมิโนไดฟีนิล (4-aminodiphenyl) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
85 | ฟอสฟอรัส (phosphorus) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
86 | โพลีบรอมมิเนต ไบเฟนิล(polybrominated diphenyls,PBBs) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
87 | โพลีคลอร์ริเนต ไตรเฟนิล(polychlorinated triphenyls,PCTs) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
88 | 2,4,5-ทีซีพี (2,4,5-trichlorophenol) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
89 | ไตร 2-3 ไดโบรโมโปรพิลฟอสเฟต (tri(2,3-dibromopropyl) phosphate) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
90 | ไวนิลคลอร์ไรด์โมโนเมอร์(vinyy chloidemonomer) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
91 | 0- ไดคลอร์โรเบนซิน (0-dichlorobenzene) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
92 | แนฟธิลอะมีน (napphylamine) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
ลำดับที่ | ชื่อวัตถุอันตราย | ประเภทการใช้ | เดือนปีที่ห้าม | เหตุผล |
93 | 4-ไนโตรไดเฟนิล (4-nitrodiphenyl) | _ | ธันวาคม 2544 | _ |
94 | เมทธามิโดฟอส(Methamidophos) | กำจัดแมลง (Insecticide) | เมษายน 2546 | มีพิษเฉียบพลันสูง |
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร | ||||
วัตถุอันตราย 94 ชนิดนี้ ที่ใช้ในการเกษตรจริงๆ เพียง 81 ชนิด | ||||
* ลำดับที่ 81-93 เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม และอื่นๆ(13 ชนิด) |
ที่มา:
กาแฟ - โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย
กาแฟ - โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย
----------------------------------