ตามรอยกาแฟ…สวนยาหลวง โดย เนรัญชรา เรื่องราวความประทับใจที่จะนำมาบอกเล่าแก่ผู้อ่านคราวนี้ มีจุดเริ่มต้นจากช่วงเวลายามเช้าของวันหนึ่งในเดือนธันวาคมที่สายลมหนาวพัดผ่านมาเยือนอีกครา บรรยากาศในฤดูหนาวท่ามกลางแสงอาทิตย์รับอรุณยามเช้าเช่นนี้ด้วยความที่เป็นคนพิสมัยกับรสชาติของคาเฟอีนอันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จึงอยากเล่าเรื่องราวของกาแฟจากขุนเขาแห่งล้านนาตะวันออกให้ทุกท่านได้ร่วมรับรู้และชื่นชม
เมื่อต้นเดือนธันวาที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเที่ยวงานกาแฟที่ทางจังหวัดจัดขึ้น พอเดินเข้าทางประตูทางเข้าด้านหน้าก็เห็นร้านกาแฟร้านหนึ่ง ด้วยความที่หลงไหลกลิ่นกาแฟ ก็อดที่จะเข้าไปแวะชมร้านไม่ได้ ด้านหน้าร้านเป็นเคาเตอร์ขายกาแฟเล็กๆ คนขายหน้าตาจิ้มลิ้ม น้ำเสียงไพเราะชวนฟัง ด้านหลังเคาเตอร์เป็นชุดเก้าอี้เล็กๆ สำหรับนั่งจิบกาแฟที่ร้าน ฉากหลังร้านเป็นแผ่นไวนิลพิมพ์ภาพสัญลักษณ์ของร้านกาแฟ เป็นภาพหญิงชาวเขาแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่ากำลังเก็บผลกาแฟ ด้านบนมีอักษรรายเรียงกัน อ่านได้ว่า “กาแฟสวนยาหลวง” ขณะยืนรอกาแฟอยู่นั้นได้ยินคำถามมากกว่าหนึ่งครั้ง “สวนยาหลวงอยู่ที่ไหน” ทุกครั้งที่ต้องตอบใบหน้าจิ้มลิ้มเปื้อนยิ้มเสมอ
วันนี้ จะพาไปรู้จักกับกาแฟสวนยาหลวง แหล่งปลูกกาแฟของเมืองน่าน ล้านนาตะวันออก จากไร่ฝิ่นสู่ไร่กาแฟ ย้อนหลังไปประมาณ 145 ปี บรรพบุรุษของชาวบ้านสันเจริญนั้นมาจากประเทศจีน เดินทางผ่านประเทศลาว มาตามสันดอยวาว ผ่านดอยภูแว ตำบลและ อำเภอและหรืออำเภอทุ่งช้างในปัจจุบัน ผ่านตำบลริม อำเภอท่าวังผา ผ่านขุนน้ำกาด ขุนสะละ ขุนน้ำพัน บางกลุ่มก็ตั้งรากฐานอยู่ขุนสะละและขุนน้ำพัน แต่บางกลุ่มได้เดินทางตั้งรากฐานมาอยู่ที่บริเวณที่เรียกกันว่า“สวนยาหลวง” เมื่อก่อนบริเวณสวนยาหลวงมีชื่อว่า “หมู่บ้านน้ำลัก” ซึ่งมีตำนานเล่ากันว่า บริเวณที่น้ำออกรูนั้น รูของน้ำนั้นจะมีถ้ำขนาดใหญ่ข้างในจะมีฝูงปลาจำนวนมาก ถ้ามีคนเข้าไปแล้วจะหายตัวไปไม่กลับออกมาอีกเลย จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน แล้วภายหลังดินได้ทรุดปิดปากรูจนถึงปัจจุบันด้วยบริเวณสวนยาหลวง เป็นดอยสูง มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเหมาะกับการปลูกฝิ่น ชาวบ้านจึงรวมตัวกันปลูกฝิ่น ฝิ่นจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน และถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกฝิ่นมากที่สุดในประเทศไทยประมาณ 20,000 ไร่
คำว่า “สวนยาหลวง” ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ เป็นคำที่เรียกกันมาตั้งนมนานแล้ว ตั้งแต่เริ่ม ปลูกฝิ่นและบริเวณนี้ปลูกฝิ่นมากที่สุดในประเทศไทยและก็เรียกกันจนติดปากมาจนถึงปัจจุบันคำว่า“สวนยาหลวง” ภาษาเมี่ยนนั้นออกเสียงว่า “ตม-อิน-เต่” หรือ “ตม-อิน-เด่” (“ตม”หมายถึง สวน “อิน”หมายถึง ฝิ่น “เต่ หรือ เด่”หมายถึง ใหญ่)
ชาวบ้านสันเจริญเริ่มปลูกกาแฟได้ก็เพราะมีแนวคิดจากผู้หญิงในหมู่บ้านคนหนึ่งซึ่งได้ออกไปแต่งงานกับผู้ชายคนอำเภอแม่สายแล้วได้ไปเห็นการปลูกกาแฟของทางอำเภอแม่สายมีรายได้ดี พอกลับมาเที่ยวที่บ้านก็ได้มาบอกเล่าให้กับชาวบ้านสันเจริญ และชาวบ้านกลุ่มหนึ่งก็ได้ให้ความสนใจ จึงได้เริ่มปลูก จนสามารถเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นและพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟบนภูเขาอันกว้างใหญ่ไพศาลนับร้อยพันไร่ในปัจจุบัน
การเดินทางไปไร่กาแฟ สวนยาหลวงนั้น ผู้เขียนซึ่งเป็นคนน่านเอง ยังมีโอกาสไปเพียงแค่ครั้งเดียว ซึ่งการไปครั้งนั้นก็ไปด้วยความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง เสียดายที่ไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย เลยทำได้แค่บันทึกภาพด้วยโทรศัพท์เท่านั้น ไปสวนยาหลวงคราวนั้นออกเดินทางจากบ้านซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองประมาณสิบโมงเช้า อากาศเย็นสบายขับรถมาทางอำเภอท่าวังผา ซึ่งชาวบ้านจะปลูกไร่ข้าวโพดกันมาก พอถึงกิโลเมตรที่ 20 ขวามือจะเห็น “หอศิลป์ริมน่าน” เป็นหอศิลป์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยศิลปินผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย คุณวินัย ปราบริปู ภายในหอศิลป์ก็จะมีส่วนที่จัดแสดงภาพ เป็นอาคารสองชั้น ใช้จัดแสดงผลงานทั้งสองชั้น ส่วนด้านหลังเป็นร้านกาแฟซึ่งสามารถชงกาแฟได้ตามใจชอบ ร้านขายของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ของคนเมืองน่าน เสน่ห์อย่างหนึ่งของหอศิลป์ที่มักเชื้อเชิญให้ไปบ่อยๆ คือ ความสงบ งดงาม และไออุ่นของศิลปะ
บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยศิลปะนำมาซึ่งสมาธิ โจทย์ชีวิตยากๆบางข้อผู้เขียนหาคำตอบได้จากที่นี่เสมอ เราใช้เวลาอยู่ที่หอศิลป์ไม่นานมากนักเพราะระยะทางยังอีกยาวไกล เดินทางต่อถึงตลาดท่าวังผา ขับตรงไป พอถึงที่ว่าการอำเภอท่าวังผา เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.สองแคว ถึงปากทางบ้านน้ำโมง ปางสา ระยะทาง 15 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 19 กม. ทิวทัศน์ระหว่างทาง ทางขวาจะเป็นภูเขา ทางซ้ายเป็นเหว แม้ว่าตะวันจะตรงหัวพอดี แต่อุณหภูมิขณะนั้นต่ำกว่าตอนสิบโมงเช้าที่เริ่มเดินทางแน่นอน วิวทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามจนสามารถช่วยให้ลืมเส้นทางที่น่าหวาดเสียวไปได้เหมือนกัน สองข้างทางเป็นแปลงข้าวไร่สุดลูกหูลูกตา หอมกลิ่นข้าวไร่ที่พัดเข้ามาในรถ มีความสุขจนต้องยิ้มให้กับตัวเอง แต่ถ้ามองไปยังเขาลูกอื่นก็จะเห็นภาพที่น่าเศร้าใจยิ่ง ผืนป่าสีเขียวกลายเป็นสีน้ำตาลสลับกับตอไม้สีดำเกลื่อนตา พยายามคิดว่าคนที่ทำแบบนั้นอาจจะไม่รู้ถึงผลที่จะตามมา
หรือมีเหตุจำเป็นบางอย่างที่สำคัญมากๆที่จะต้องทำแบบนั้น พอขับรถมาถึงหมู่บ้านจะเจอหอนาฬิกาขับรถตรงไปเรื่อยๆ จะพบสะพานขับรถข้ามสำพานตรงไปประมาณ 500 ม.จะพบศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้านสันเจริญ เราเดินชมศูนย์วัฒนธรรมเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นที่จัดแสดงอธิบายความเป็นมาของชาวเมี่ยน เมล็ดกาแฟจะผ่านการตาก บด และคั่วที่นี่ ณ ที่แห่งนี้สามารถลิ้มรสกาแฟสดหอมกรุ่น รสชาดกลมกล่อม ขมกำลังพอดี แม้ว่าไม่นิยมจิบกาแฟร้อนตอนกลางวัน แต่ความเย็นของอากาศยามนั้นก็สามารถหลอกตัวเองได้ว่า นี่เราจิบกาแฟยามเช้าต่างหาก รอยยิ้มของคนเมี่ยน เสียงลมจากขุนเขา ความสงบเงียบที่เพรียกหา และกลิ่นกาแฟที่หอมกรุ่น เพียงจิบแรกความสุขก็หลั่งไหลเข้ามาเต็มใจ เมื่อกาแฟหมดแก้วสองเท้าก็ถูกเร่งเร้าให้ออกเดินทางไปสู่ “สวนยาหลวง”
การเดินทางไปสวนยาหลวงนั้นถนนคอนกรีตสิ้นสุดลงใน 2 กิโลเมตรแรก จากนั้นไปอีก 5 กิโลเมตรจะต้องใช้ถนนดิน ซึ่งกว้างพอให้รถสวนกันได้ ตลอดสองข้างทางมีต้นกาแฟทักทายอยู่ไม่ขาดสาย เมื่อถึงสวนยาหลวงก็จะพบไร่กาแฟพันธุ์อะราบิก้ากว้างสุดลูกหูลูกตา มีที่พักที่ชาวบ้านใช้พักยามเหนื่อยล้าจากการทำไร่ ผลกาแฟสีสวยสดเรียงเม็ดอัดกันแน่นบนกิ่ง รอให้ฤดูเก็บเกี่ยวมาถึงซึ่งจะอยู่ในช่วง พ.ย.-ก.พ. ไวเท่าสมองคิดผลกาแฟสดก็เข้าไปอยู่ในปากเสียแล้ว ลิ้นสัมผัสความฝาดและเฝื่อนสุดบรรยายคายทิ้งแทบไม่ทัน สวนยาหลวงไม่ได้มีเพียงกาแฟสด รสชาดดีเท่านั้น กาแฟห่อหมูก็เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ใบกาแฟแก่อ่อนกำลังดีนำมาห่อหมูบดที่หมักด้วยเครื่องเทศหลากชนิด แล้งลงทอดในน้ำมันร้อนๆ ส่งกลิ่นหอม เร่งให้น้ำย่อยในกระเพาะทำงานก่อนเวลา ชิ้นแรกที่ลิ้มลองทำให้นึกถึงการกินหมูอบมากด้วยชนิดของเครื่องเทศพร้อมๆกับการละเลียดกาแฟร้อนกรุ่นไอ รู้สึกตัวอีกครั้งภาชนะตรงหน้าก็ว่างเปล่า ขอคารวะผู้รังสรรค์อาหารจานนี้ด้วยใจจริง
เจ้าบ้านบอกกับพวกเราว่าหากมาเที่ยวแล้วต้องการที่พักสามารถติดต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อเข้าพักได้ ถ้าเดินทางจากสวนยาหลวงอีกสองกิโลเมตรเราก็จะถึงยอดภูสันซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับดอยวาวแต่พาหนะที่พาเราไปคงแรงน้อยเกินกว่าจะขึ้นภูสันได้ไหว เจ้าบ้านบอกกับเราอีกว่าบอกกับเราว่าหากขึ้นไปบนยอดภูสันสามารถจะมองเห็นสองจังหวัดคือจังหวัดน่านในส่วนของอำเภอท่าวังผา ปัว และจังหวัดพะเยาในส่วนของอำเภอปง เมื่อเดินเท้าไปทางทิศใต้ของสวนยาหลวงประมาณ 3 กิโลเมตรจะพบน้ำตกภูสัน น้ำตก 12 ชั้น ที่แต่ละชั้นมีความสวยงามต่างกันไป เป็นน้ำตกที่ยังคงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติอยู่มาก หากมาในช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำตกจะสวยมาก เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าการทิ้งน้ำตกภูสันไว้เบื้องหลัง น่าจะเป็นผลดี จึงมุ่งหน้าสู่ “น้ำออกรู” ซึ่งห่างจากสวนยาหลวงประมาณ 8 กม. พวกเราขับรถมาตั้งหลักที่หอนาฬิกาแล้วเลี้ยวขวาไปอีก 1 กม. เสียงน้ำไหลไม่ต่างจากน้ำตกใกล้เข้ามา
ป่าบริเวณนั้นเป็นป่าดิบชื้นมีต้นเฟิร์นใหญ่ขึ้นอยู่มาก แล้วก็ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ธารน้ำไหลแรงพุ่งออกมาจากช่องเขา เมื่อไหลมาปะทะกับโขดหินใหญ่แยกเป็นสองสาย ทั้งสองสายหล่อเลี้ยงชาวบ้านสันเจริญ เพื่อให้ได้เห็นภาพเบื้องหน้าได้ถนัดตาจึงก้าวข้ามลำธารเล็กๆไปยังโขดหินที่มีแรงน้ำไหลมาปะทะ ก้าวแรกที่เท้าสัมผัสน้ำ ทุกส่วนรับรู้ถึงความเย็นเฉียบ สองมือวักน้ำขึ้นชิม รสชาดหวาน ได้กลิ่นหอมของไอดิน แม้จะเคยเรียนมาว่าน้ำบริสุทธิ์คือน้ำที่ปราศจาก สี กลิ่น รส ก็อดใจไม่ได้ที่จะวักน้ำขึ้นดื่มเป็นครั้งที่สอง พอข้ามลำธารมาถึงยังโขดหิน ละอองน้ำจากแรงปะทะของธารน้ำกับโขดหินสาดใส่หน้าสดชื่นยิ่งกว่าการได้ฉีดน้ำแร่กระป๋อง ยืนรับละอองน้ำจนหน้าชุ่มก็มุ่งหน้าสู่บ่อน้ำพุร้อนโป่งกิด้วยความสุขชุ่มใจ
กลิ่นหอมของข้าวไร่ตลอดสองข้างทางส่งเราจนถึงบ่อน้ำพุร้อนโป่งกิ ยิ่งสาวเท้าเข้าใกล้ จมูกก็รับกลิ่นกำมะถันได้ชัดเจนขึ้น ไออุ่นโลมเลียผิวหน้าเหมือนอุ่นไอมือแม่ลูบไล้ การเดินทางเริ่มต้นอีกครั้งทว่าทิศทางนั้นย้อนกลับเมื่อตะวันเริ่มคล้อยเส้นทางสายเดิมแต่ประสบการณ์เพิ่มพูน จะมีสักกี่ครั้งที่เราจะได้สัมผัสดินแดนธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากการปรุงแต่งของมนุษย์ หากมีโอกาสคราวหน้าจักไปเยือนอีกคราให้จงได้ ......สวนยาหลวง.......
เมื่อต้นเดือนธันวาที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเที่ยวงานกาแฟที่ทางจังหวัดจัดขึ้น พอเดินเข้าทางประตูทางเข้าด้านหน้าก็เห็นร้านกาแฟร้านหนึ่ง ด้วยความที่หลงไหลกลิ่นกาแฟ ก็อดที่จะเข้าไปแวะชมร้านไม่ได้ ด้านหน้าร้านเป็นเคาเตอร์ขายกาแฟเล็กๆ คนขายหน้าตาจิ้มลิ้ม น้ำเสียงไพเราะชวนฟัง ด้านหลังเคาเตอร์เป็นชุดเก้าอี้เล็กๆ สำหรับนั่งจิบกาแฟที่ร้าน ฉากหลังร้านเป็นแผ่นไวนิลพิมพ์ภาพสัญลักษณ์ของร้านกาแฟ เป็นภาพหญิงชาวเขาแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่ากำลังเก็บผลกาแฟ ด้านบนมีอักษรรายเรียงกัน อ่านได้ว่า “กาแฟสวนยาหลวง” ขณะยืนรอกาแฟอยู่นั้นได้ยินคำถามมากกว่าหนึ่งครั้ง “สวนยาหลวงอยู่ที่ไหน” ทุกครั้งที่ต้องตอบใบหน้าจิ้มลิ้มเปื้อนยิ้มเสมอ
วันนี้ จะพาไปรู้จักกับกาแฟสวนยาหลวง แหล่งปลูกกาแฟของเมืองน่าน ล้านนาตะวันออก จากไร่ฝิ่นสู่ไร่กาแฟ ย้อนหลังไปประมาณ 145 ปี บรรพบุรุษของชาวบ้านสันเจริญนั้นมาจากประเทศจีน เดินทางผ่านประเทศลาว มาตามสันดอยวาว ผ่านดอยภูแว ตำบลและ อำเภอและหรืออำเภอทุ่งช้างในปัจจุบัน ผ่านตำบลริม อำเภอท่าวังผา ผ่านขุนน้ำกาด ขุนสะละ ขุนน้ำพัน บางกลุ่มก็ตั้งรากฐานอยู่ขุนสะละและขุนน้ำพัน แต่บางกลุ่มได้เดินทางตั้งรากฐานมาอยู่ที่บริเวณที่เรียกกันว่า“สวนยาหลวง” เมื่อก่อนบริเวณสวนยาหลวงมีชื่อว่า “หมู่บ้านน้ำลัก” ซึ่งมีตำนานเล่ากันว่า บริเวณที่น้ำออกรูนั้น รูของน้ำนั้นจะมีถ้ำขนาดใหญ่ข้างในจะมีฝูงปลาจำนวนมาก ถ้ามีคนเข้าไปแล้วจะหายตัวไปไม่กลับออกมาอีกเลย จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน แล้วภายหลังดินได้ทรุดปิดปากรูจนถึงปัจจุบันด้วยบริเวณสวนยาหลวง เป็นดอยสูง มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเหมาะกับการปลูกฝิ่น ชาวบ้านจึงรวมตัวกันปลูกฝิ่น ฝิ่นจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน และถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกฝิ่นมากที่สุดในประเทศไทยประมาณ 20,000 ไร่
คำว่า “สวนยาหลวง” ไม่มีใครทราบว่าใครเป็นคนตั้งชื่อนี้ เป็นคำที่เรียกกันมาตั้งนมนานแล้ว ตั้งแต่เริ่ม ปลูกฝิ่นและบริเวณนี้ปลูกฝิ่นมากที่สุดในประเทศไทยและก็เรียกกันจนติดปากมาจนถึงปัจจุบันคำว่า“สวนยาหลวง” ภาษาเมี่ยนนั้นออกเสียงว่า “ตม-อิน-เต่” หรือ “ตม-อิน-เด่” (“ตม”หมายถึง สวน “อิน”หมายถึง ฝิ่น “เต่ หรือ เด่”หมายถึง ใหญ่)
ชาวบ้านสันเจริญเริ่มปลูกกาแฟได้ก็เพราะมีแนวคิดจากผู้หญิงในหมู่บ้านคนหนึ่งซึ่งได้ออกไปแต่งงานกับผู้ชายคนอำเภอแม่สายแล้วได้ไปเห็นการปลูกกาแฟของทางอำเภอแม่สายมีรายได้ดี พอกลับมาเที่ยวที่บ้านก็ได้มาบอกเล่าให้กับชาวบ้านสันเจริญ และชาวบ้านกลุ่มหนึ่งก็ได้ให้ความสนใจ จึงได้เริ่มปลูก จนสามารถเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นและพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟบนภูเขาอันกว้างใหญ่ไพศาลนับร้อยพันไร่ในปัจจุบัน
การเดินทางไปไร่กาแฟ สวนยาหลวงนั้น ผู้เขียนซึ่งเป็นคนน่านเอง ยังมีโอกาสไปเพียงแค่ครั้งเดียว ซึ่งการไปครั้งนั้นก็ไปด้วยความไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง เสียดายที่ไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย เลยทำได้แค่บันทึกภาพด้วยโทรศัพท์เท่านั้น ไปสวนยาหลวงคราวนั้นออกเดินทางจากบ้านซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองประมาณสิบโมงเช้า อากาศเย็นสบายขับรถมาทางอำเภอท่าวังผา ซึ่งชาวบ้านจะปลูกไร่ข้าวโพดกันมาก พอถึงกิโลเมตรที่ 20 ขวามือจะเห็น “หอศิลป์ริมน่าน” เป็นหอศิลป์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยศิลปินผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย คุณวินัย ปราบริปู ภายในหอศิลป์ก็จะมีส่วนที่จัดแสดงภาพ เป็นอาคารสองชั้น ใช้จัดแสดงผลงานทั้งสองชั้น ส่วนด้านหลังเป็นร้านกาแฟซึ่งสามารถชงกาแฟได้ตามใจชอบ ร้านขายของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ของคนเมืองน่าน เสน่ห์อย่างหนึ่งของหอศิลป์ที่มักเชื้อเชิญให้ไปบ่อยๆ คือ ความสงบ งดงาม และไออุ่นของศิลปะ
บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยศิลปะนำมาซึ่งสมาธิ โจทย์ชีวิตยากๆบางข้อผู้เขียนหาคำตอบได้จากที่นี่เสมอ เราใช้เวลาอยู่ที่หอศิลป์ไม่นานมากนักเพราะระยะทางยังอีกยาวไกล เดินทางต่อถึงตลาดท่าวังผา ขับตรงไป พอถึงที่ว่าการอำเภอท่าวังผา เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.สองแคว ถึงปากทางบ้านน้ำโมง ปางสา ระยะทาง 15 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 19 กม. ทิวทัศน์ระหว่างทาง ทางขวาจะเป็นภูเขา ทางซ้ายเป็นเหว แม้ว่าตะวันจะตรงหัวพอดี แต่อุณหภูมิขณะนั้นต่ำกว่าตอนสิบโมงเช้าที่เริ่มเดินทางแน่นอน วิวทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามจนสามารถช่วยให้ลืมเส้นทางที่น่าหวาดเสียวไปได้เหมือนกัน สองข้างทางเป็นแปลงข้าวไร่สุดลูกหูลูกตา หอมกลิ่นข้าวไร่ที่พัดเข้ามาในรถ มีความสุขจนต้องยิ้มให้กับตัวเอง แต่ถ้ามองไปยังเขาลูกอื่นก็จะเห็นภาพที่น่าเศร้าใจยิ่ง ผืนป่าสีเขียวกลายเป็นสีน้ำตาลสลับกับตอไม้สีดำเกลื่อนตา พยายามคิดว่าคนที่ทำแบบนั้นอาจจะไม่รู้ถึงผลที่จะตามมา
หรือมีเหตุจำเป็นบางอย่างที่สำคัญมากๆที่จะต้องทำแบบนั้น พอขับรถมาถึงหมู่บ้านจะเจอหอนาฬิกาขับรถตรงไปเรื่อยๆ จะพบสะพานขับรถข้ามสำพานตรงไปประมาณ 500 ม.จะพบศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้านสันเจริญ เราเดินชมศูนย์วัฒนธรรมเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นที่จัดแสดงอธิบายความเป็นมาของชาวเมี่ยน เมล็ดกาแฟจะผ่านการตาก บด และคั่วที่นี่ ณ ที่แห่งนี้สามารถลิ้มรสกาแฟสดหอมกรุ่น รสชาดกลมกล่อม ขมกำลังพอดี แม้ว่าไม่นิยมจิบกาแฟร้อนตอนกลางวัน แต่ความเย็นของอากาศยามนั้นก็สามารถหลอกตัวเองได้ว่า นี่เราจิบกาแฟยามเช้าต่างหาก รอยยิ้มของคนเมี่ยน เสียงลมจากขุนเขา ความสงบเงียบที่เพรียกหา และกลิ่นกาแฟที่หอมกรุ่น เพียงจิบแรกความสุขก็หลั่งไหลเข้ามาเต็มใจ เมื่อกาแฟหมดแก้วสองเท้าก็ถูกเร่งเร้าให้ออกเดินทางไปสู่ “สวนยาหลวง”
การเดินทางไปสวนยาหลวงนั้นถนนคอนกรีตสิ้นสุดลงใน 2 กิโลเมตรแรก จากนั้นไปอีก 5 กิโลเมตรจะต้องใช้ถนนดิน ซึ่งกว้างพอให้รถสวนกันได้ ตลอดสองข้างทางมีต้นกาแฟทักทายอยู่ไม่ขาดสาย เมื่อถึงสวนยาหลวงก็จะพบไร่กาแฟพันธุ์อะราบิก้ากว้างสุดลูกหูลูกตา มีที่พักที่ชาวบ้านใช้พักยามเหนื่อยล้าจากการทำไร่ ผลกาแฟสีสวยสดเรียงเม็ดอัดกันแน่นบนกิ่ง รอให้ฤดูเก็บเกี่ยวมาถึงซึ่งจะอยู่ในช่วง พ.ย.-ก.พ. ไวเท่าสมองคิดผลกาแฟสดก็เข้าไปอยู่ในปากเสียแล้ว ลิ้นสัมผัสความฝาดและเฝื่อนสุดบรรยายคายทิ้งแทบไม่ทัน สวนยาหลวงไม่ได้มีเพียงกาแฟสด รสชาดดีเท่านั้น กาแฟห่อหมูก็เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ใบกาแฟแก่อ่อนกำลังดีนำมาห่อหมูบดที่หมักด้วยเครื่องเทศหลากชนิด แล้งลงทอดในน้ำมันร้อนๆ ส่งกลิ่นหอม เร่งให้น้ำย่อยในกระเพาะทำงานก่อนเวลา ชิ้นแรกที่ลิ้มลองทำให้นึกถึงการกินหมูอบมากด้วยชนิดของเครื่องเทศพร้อมๆกับการละเลียดกาแฟร้อนกรุ่นไอ รู้สึกตัวอีกครั้งภาชนะตรงหน้าก็ว่างเปล่า ขอคารวะผู้รังสรรค์อาหารจานนี้ด้วยใจจริง
เจ้าบ้านบอกกับพวกเราว่าหากมาเที่ยวแล้วต้องการที่พักสามารถติดต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อเข้าพักได้ ถ้าเดินทางจากสวนยาหลวงอีกสองกิโลเมตรเราก็จะถึงยอดภูสันซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกับดอยวาวแต่พาหนะที่พาเราไปคงแรงน้อยเกินกว่าจะขึ้นภูสันได้ไหว เจ้าบ้านบอกกับเราอีกว่าบอกกับเราว่าหากขึ้นไปบนยอดภูสันสามารถจะมองเห็นสองจังหวัดคือจังหวัดน่านในส่วนของอำเภอท่าวังผา ปัว และจังหวัดพะเยาในส่วนของอำเภอปง เมื่อเดินเท้าไปทางทิศใต้ของสวนยาหลวงประมาณ 3 กิโลเมตรจะพบน้ำตกภูสัน น้ำตก 12 ชั้น ที่แต่ละชั้นมีความสวยงามต่างกันไป เป็นน้ำตกที่ยังคงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติอยู่มาก หากมาในช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำตกจะสวยมาก เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าการทิ้งน้ำตกภูสันไว้เบื้องหลัง น่าจะเป็นผลดี จึงมุ่งหน้าสู่ “น้ำออกรู” ซึ่งห่างจากสวนยาหลวงประมาณ 8 กม. พวกเราขับรถมาตั้งหลักที่หอนาฬิกาแล้วเลี้ยวขวาไปอีก 1 กม. เสียงน้ำไหลไม่ต่างจากน้ำตกใกล้เข้ามา
ป่าบริเวณนั้นเป็นป่าดิบชื้นมีต้นเฟิร์นใหญ่ขึ้นอยู่มาก แล้วก็ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ธารน้ำไหลแรงพุ่งออกมาจากช่องเขา เมื่อไหลมาปะทะกับโขดหินใหญ่แยกเป็นสองสาย ทั้งสองสายหล่อเลี้ยงชาวบ้านสันเจริญ เพื่อให้ได้เห็นภาพเบื้องหน้าได้ถนัดตาจึงก้าวข้ามลำธารเล็กๆไปยังโขดหินที่มีแรงน้ำไหลมาปะทะ ก้าวแรกที่เท้าสัมผัสน้ำ ทุกส่วนรับรู้ถึงความเย็นเฉียบ สองมือวักน้ำขึ้นชิม รสชาดหวาน ได้กลิ่นหอมของไอดิน แม้จะเคยเรียนมาว่าน้ำบริสุทธิ์คือน้ำที่ปราศจาก สี กลิ่น รส ก็อดใจไม่ได้ที่จะวักน้ำขึ้นดื่มเป็นครั้งที่สอง พอข้ามลำธารมาถึงยังโขดหิน ละอองน้ำจากแรงปะทะของธารน้ำกับโขดหินสาดใส่หน้าสดชื่นยิ่งกว่าการได้ฉีดน้ำแร่กระป๋อง ยืนรับละอองน้ำจนหน้าชุ่มก็มุ่งหน้าสู่บ่อน้ำพุร้อนโป่งกิด้วยความสุขชุ่มใจ
กลิ่นหอมของข้าวไร่ตลอดสองข้างทางส่งเราจนถึงบ่อน้ำพุร้อนโป่งกิ ยิ่งสาวเท้าเข้าใกล้ จมูกก็รับกลิ่นกำมะถันได้ชัดเจนขึ้น ไออุ่นโลมเลียผิวหน้าเหมือนอุ่นไอมือแม่ลูบไล้ การเดินทางเริ่มต้นอีกครั้งทว่าทิศทางนั้นย้อนกลับเมื่อตะวันเริ่มคล้อยเส้นทางสายเดิมแต่ประสบการณ์เพิ่มพูน จะมีสักกี่ครั้งที่เราจะได้สัมผัสดินแดนธรรมชาติบริสุทธิ์ปราศจากการปรุงแต่งของมนุษย์ หากมีโอกาสคราวหน้าจักไปเยือนอีกคราให้จงได้ ......สวนยาหลวง.......
--------------------------------