กาแฟ
1. สถานการณ์
ปี 2547 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกาแฟรวม 439,529 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว 418,735 ไร่ ผลผลิตรวม 61,765 ตัน ประมาณร้อยละ 97 ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า โดยมีแหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ ส่วนอีกร้อยละ 3 ปลูกพันธุ์อราบิก้า โดยมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคเหนือ ด้านการผลิตในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภาคเหนือ ผลผลิตใช้ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออกต่างประเทศ
ไร่กาแฟ |
ส่วนใหญ่ส่งออกผลผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ในรูปเมล็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูป โดยมีมูลค่าการส่งออก(มค.-กย.2547) รวม 717.9 ล้านบาท ปัญหาการผลิตและการตลาดกาแฟของไทย นอกเหนือจากปัญหาราคากาแฟที่ตกต่ำในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา และต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังมีปัญหาผลผลิตกาแฟบางส่วนมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากมีการเก็บเมล็ดสุกและไม่สุกปะปนกัน การนำผลกาแฟไปตากบนลานดิน เป็นผลให้เมล็ดกาแฟดูดซับเอากลิ่นดินเข้าไปในเมล็ด
รวมทั้งปัญหาเมล็ดกาแฟไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง มีความชื้นสูง เกิดเชื้อราและมีสารออคราทอกซิน ชนิดเอ ดังนั้น จึงควรมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกรให้สามารถแข่งขันได้ในระบบการค้าเสรี
2. ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด
ประเด็น | เรื่อง |
1. การผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ คือ มีสี กลิ่น รสชาติ ตรงตามพันธุ์ มีอายุเก็บเกี่ยวเหมาะสม มีความชื้นไม่เกิน 13% มีข้อบกพร่องไม่เกินข้อกำหนดของคู่ค้า (เมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกไม่หมด เมล็ดดำ เมล็ดมอด เมล็ดแตก เมล็ดเสีย รวมทั้งสิ่งเจือปนอื่นๆ) | 1.1 การเลือกต้นพันธุ์ เน้นต้นพันธุ์ที่ต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ น้ำหนักเมล็ดกาแฟแห้งสูง 1.2 การใส่ปุ๋ย เน้นการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การนำวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต 1.3 การตัดแต่งกิ่ง – การตัดแต่งหลังการเก็บผลผลิตในแต่ละปี - การทำสาวเมื่อกาแฟเริ่มให้ผลผลิตลดลง 1.4 การเก็บเกี่ยว เน้นการเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีสีแดง สีเหลือง หรือสีส้มแดง (แล้วแต่พันธุ์) |
ประเด็น | เรื่อง |
1.5 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว - การคัดผลกาแฟโดยการนำไปเทในภาชนะ บรรจุน้ำ แล้วคัดผลกาแฟที่ลอยน้ำทิ้ง - การผลิตสารกาแฟโดยวิธีแห้ง เน้นการ ตากบนลานซีเมนต์ ไม่ตากบนลานดิน การตากผลจนแห้งมีความชื้นไม่เกิน 13% - การผลิตสารกาแฟโดยวิธีเปียก เน้นการ ปอกเปลือกนอกภายใน 24 ชั่วโมง หลัง การเก็บเกี่ยว - การเก็บรักษาผลผลิต เน้นภาชนะและโรง เก็บที่สะอาด มีอากาศถ่ายเท | |
2. การผลิตกาแฟที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง | 2.1 การป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างผสมผสาน เน้นการใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด 2.2 การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องปลอดภัย เน้นการใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตาม กฏหมาย ใช้ในชนิด อัตรา ระยะเวลา รวมทั้งหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวตามคำแนะนำ จดบันทึกการใช้สารเคมีทุกครั้ง 2.3 การป้องกันการเกิดสารออคราทอกซิน ชนิดเอ เน้นไม่ให้เกิดความชื้นในผลผลิต โดยเฉพาะช่วงเก็บรักษาผลผลิต |
3. ผู้ประสานงาน
1 นางพิสมัย พึ่งวิกรัย นักวิชาการเกษตร 6 ว.
2 นายกิตติ สระแก้ว นักวิชาการเกษตร 4
3. นางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์ นักวิชาการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2940-6116 โทรสาร 0-2579-5815 E-Mail : Agriman42@doae.go.th
4. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
4.1 ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โทร.0-5322-9092-3
4.2 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อ.สวี จ.ชุมพร โทร.0-7755-6023-5 ต่อ 214
ที่มา:
fs.doae.go.th/knowledge/5%20tree/coffee.doc
ที่มา:
fs.doae.go.th/knowledge/5%20tree/coffee.doc
---------------------------------------